ROLLS-ROYCE LANDSPEED COLLECTIONรำลึกถึงวีรบุรุษที่ถูกลืม - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ROLLS-ROYCE LANDSPEED COLLECTIONรำลึกถึงวีรบุรุษที่ถูกลืม


ROLLS-ROYCE LANDSPEED COLLECTION

รำลึกถึงวีรบุรุษที่ถูกลืม 

 25 มิถุนายน 2564, กู้ดวูด, เวสต์ ซัสเซกส

คอลเล็กชั่นใหม่ของ Rolls-Royce Black Badge Wraith และ Dawn

Landspeed Collection เฉลิมฉลองสถิติความเร็วสูงสุดที่สร้างขึ้นโดยวิศวกรชาวอังกฤษ ร้อยเอกจอร์จ     ไอสตัน (Captain George Eyston) ด้วยรถ Thunderbolt ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เครื่องบิน           Rolls-Royce R V12 สองเครื่องยนต์

รายละเอียดการตกแต่งภายในชวนให้นึกถึงที่ราบลานเกลือบอนเนวิลล์ (Bonneville Salt Flats) ในรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา รายการแข่งขันที่ไอสตันได้ทำลายสถิติความเร็วใหม่ในปีค.ศ. 1937-1938

ลักษณะพื้นผิวรอยแยกบนที่ราบลานเกลือถูกรังสรรค์ขึ้นใหม่อย่างสมบูรณ์แบบโดยการแกะลวดลาย         บริเวณส่วนแผงหน้ารถ ในขณะที่รายละเอียดของพวงมาลัยเลียนแบบเส้นทึบบนพื้นสนามแข่งรถในระหว่างการแข่งขัน

เพดานห้องโดยสาร Starlight Headliner นำเสนอรายละเอียดอย่างแม่นยำของท้องฟ้าในค่ำคืน               วันที่ 16 กันยายน ปีค.ศ. 1938 เมื่อไอสตันทำลายสถิติความเร็วสูงสุดของตนเองเป็นครั้งที่สามและเป็น    ครั้งสุดท้ายในการแข่งขันที่ความเร็ว 357.497 ไมล์ต่อชั่วโมง (575.336 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ภาพโครงร่างรถ Thunderbolt ในอดีต และสถิติความเร็วที่ถูกทำลายถึง 3 ครั้ง ถูกแกะสลักด้วยเลเซอร์    ที่บริเวณคอนโซลกลาง   

รายละเอียดที่ซ่อนอยู่ในประตูด้านคนขับ คือการรังสรรค์สีริบบิ้นแห่งเกียรติยศที่ไอสตันได้รับตลอดช่วงชีวิตของเขา   

ผลิตจำนวนจำกัดเพียง 35 คันสำหรับ Wraith Black Badge และ 25 คันสำหรับ Dawn Black Badge

มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการไปได้ไกลขึ้น ทำได้มากขึ้น และดีขึ้นกว่าที่เป็น ความปรารถนาตั้งแต่กำเนิดที่ต้องการขยายขอบเขตและให้นิยามใหม่แก่ข้อจำกัด คือสัญชาตญาณที่โรลส์-รอยซ์เข้าใจมาโดยตลอด และเราได้ตอบสนองสัญชาตญาณนี้อีกครั้งด้วยยนตรกรรมคอลเล็กชั่นใหม่ Landspeed Collection”   

คอลเล็กชั่นนี้รวมยนตรกรรม Black Badge รุ่น Wraith และ Dawn เพื่อเฉลิมฉลองให้แก่ใครคนหนึ่งที่      เปี่ยมด้วยความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่น และมีจิตวิญญาณของนักบุกเบิก ชื่อของเขาคือร้อยเอก จอร์จ ไอสตัน (Captain George Eyston) นักแข่งรถ นักประดิษฐ์ผู้มีพรสวรรค์ และอัจฉริยะทางด้านวิศวกรรมผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 เขาได้ทำลายสถิติโลกด้านความเร็วถึง           3 ครั้งด้วยรถ Thunderbolt ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เครื่องบิน Rolls-Royce R V12 สองเครื่องยนต์ของเขา เขาคือวีรบุรุษจากยุคแห่งความพยายามอันยิ่งใหญ่ที่แท้จริง ทั้งเขาและรถ Thunderbolt กลับถูกลืมเลือนมากว่า 80 ปี

ด้วยคอลเล็กชั่นนี้ เราได้ปลุกความทรงจำเกี่ยวกับไอสตันและบอกเล่าเรื่องราวอันโดดเด่นของเขาอีกครั้ง ตลอดทั่วยนตรกรรม Landspeed Wraith และ Dawn ลูกค้าจะพบกับองค์ประกอบงานออกแบบที่ซ่อนอยู่มากมาย และเรื่องราวรายละเอียดที่ชวนให้นึกถึง และเป็นอนุสรณ์แก่ความสำเร็จอันน่าทึ่ง วิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ และความกล้าหาญอันโดดเด่น

Torsten Müller-Ötvös, CEO, Rolls-Royce Motor Cars

Rolls-Royce มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถิติโลกด้านความเร็วทั้งทางบกและทางน้ำมากกว่าหนึ่งศตวรรษ แต่ในขณะที่ความสำเร็จของเซอร์ มัลคอล์ม แคมป์เบล (Sir Malcolm Campbell) ได้ถูกบันทึกอย่างละเอียดและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย วีรบุรุษสัญชาติอังกฤษอีกท่านหนึ่งผู้สร้างสถิติความเร็วสูงสุดทางบกถึง 3 ครั้งด้วยเครื่องยนต์ Rolls-Royce กลับเป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกมองข้าม

ปัจจุบัน Rolls-Royce ได้รำลึกถึงความสำเร็จอันเป็นแรงบันดาลใจของวีรบุรุษผู้นี้ภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกว่า 80 ปี  โดย Landspeed Collection ของยนตรกรรม Black Badge Wraith และ Dawn แบรนด์ได้เปิดเผยและเล่าเรื่องราวอันโดดเด่นของร้อยเอกจอร์จ ไอสตันผู้กล้าหาญ และรถ Thunderbolt  คันพิเศษของเขาอีกครั้ง

จอร์จ ไอสตัน เกิดในปีค.ศ. 1897 หลงใหลในกีฬามอเตอร์สปอร์ตตั้งแต่ครั้งในวัยเด็ก โดยในขณะที่ยังเป็นนักเรียนเขาได้เข้าแข่งขันทั้งประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์โดยไม่เปิดเผยชื่อ การศึกษาในระดับชั้นอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ Trinity College มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของเขาต้องหยุดลงกลางคันเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้เขาต้องไปรับใช้ชาติจนได้รับการเลื่อนยศขึ้นดำรงตำแหน่งร้อยเอกและได้รับเหรียญกล้าหาญ (Military Cross) เขาใช้เวลาในช่วงยุค 1920 และยุค 1930 ในการพัฒนาและขับรถแข่ง และ    ในฐานะที่เป็นนักประดิษฐ์ผู้มีพรสวรรค์เขายังได้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรมากมายโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบ

ซุปเปอร์ชาร์จของรถ

ในปีค.ศ. 1935 ไอสตันเป็นหนึ่งในนักขับรถแข่งชาวอังกฤษรุ่นแรกที่เข้าร่วมการแข่งขันความเร็วสูงสุดที่จัดขึ้นบนที่ราบลานเกลือบอนเนวิลล์ (Bonneville Salt Flats) ในรัฐยูทาห์ เป็นรายการที่เขาได้สร้างสถิติใหม่ใน           การแข่งขันประเภท Endurance Speed 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง ส่งผลให้เขาได้รับถ้วยรางวัล Segrave รางวัลที่มอบให้แก่ บุคคลสัญชาติอังกฤษที่แสดงทักษะที่โดดเด่น ความกล้าหาญ และความคิดริเริ่มทางบก  ทางน้ำ และทางอากาศ

ในปีค.ศ. 1937 เขาได้กลับเข้าแข่งขันความเร็วสูงสุดที่จัดขึ้นบนที่ราบลานเกลืออีกครั้ง และได้สร้างสถิติโลกถึง      3 รายการด้วยรถ Thunderbolt รถคันพิเศษนี้ประกอบด้วย 3 เพลา 8 ล้อ และมีน้ำหนัก 7 ตัน ทำให้ได้รับฉายาที่ถูกกล่าวถึงในรายงานร่วมสมัยว่า  ‘behemoth’ และ ‘leviathan’  โครงสร้างตัวถังรถทำจากอลูมิเนียมแบบดั้งเดิมมีรูปลักษณ์แข็งแกร่ง หนักแน่น ด้านบนมีครีบหางปลาสามเหลี่ยมขนาดใหญ่

เฉลิมฉลองความสำเร็จ นวัตกรรม และความกล้าหาญ  

Rolls-Royce Landspeed Collection ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตที่น่าทึ่งและความสำเร็จในการทำลายสถิติของจอร์จ ไอสตัน  อีกทั้ง ยังมีความงดงามที่เกี่ยวพันกับภูมิทัศน์ของที่ราบลานเกลือบอนเนวิลล์ที่ลึกลับไม่เหมือนที่ใด ที่ซึ่งรถ Thunderbolt ทำให้เขาได้เป็นเจ้าแห่งความเร็วที่สุดในโลกแม้ว่าจะเป็นเพียงในระยะเวลาไม่นานก็ตาม  ยนตรกรรมทั้งสองรุ่นในคอลเล็กชั่นนี้ถูกนำเสนอในสองโทนสีที่ได้รับการรังสรรค์ขึ้นพิเศษด้วยการผสานสีดำ Black Diamond Metallic และสีฟ้าบีสโป๊กใหม่ Bonneville Blue เฉดสีฟ้าพิเศษนี้ถูกพัฒนาขึ้นเฉพาะให้กับยนตรกรรมในคอลเล็กชั่น ด้วยเฉดสีที่ไล่ระดับยามต้องแสงแดดจากสีฟ้าอ่อนไปจนถึงสีเงิน แสดงให้เห็นภาพสะท้อนของท้องฟ้าอันกว้างใหญ่เหนือบอนเนวิลล์ และที่ราบลานเกลือระยิบระยับบนตัวถังอลูมิเนียมของ Thunderbolt  

Thunderbolt ใช้เครื่องยนต์เครื่องบิน Rolls-Royce R supercharged V12  ความจุ 37 ลิตรสองเครื่อง โดยแต่ละเครื่องให้กำลังขับเคลื่อนสูงสุดถึงกว่า 2,000 แรงม้า (1491.4 กิโลวัตต์) ซึ่งมีการผลิตเครื่องยนต์ประเภทนี้เพียง 19 เครื่องเท่านั้น นับว่าเป็นเครื่องยนต์ที่หายาก โดยเครื่องยนต์ที่ใช้ใน Thunderbolt เคยถูกใช้ในเครื่องบินทะเล Supermarine S6.B ที่เคยชนะได้ถ้วยรางวัล Schneider และต่อมาได้ใช้เป็นเครื่องยนต์มาตรฐานของเครื่องบินรบ Spitfire ในตำนาน

ปัจจุบัน เครื่องยนต์ R ทั้งสองเครื่องของรถ Thunderbolt ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ         เฮนดอน และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในกรุงลอนดอน แต่อย่างไรก็ดีตัวรถนั้นได้หายสาบสูญ  ภายหลังจากที่รถถูกจัดแสดงในงานนิทรรศการครบ 100 ปีประเทศนิวซีแลนด์ในปีค.ศ. 1940 รถถูกเก็บไว้ในอาคารคลังสินค้า แต่กลับถูกทำลายในปีค.ศ. 1946 จากมัดก้อนขนแกะจำนวน 27,000 มัดที่ถูกเก็บไว้ในอาคารเดียวกันเป็นต้นเหตุทำให้เกิดเพลิงไหม้

การขับให้อยู่ในเส้นทาง

ไอสตันสร้างสถิติความเร็วของเขาบนสนามแข่ง International Speedway ซึ่งเป็นช่วงพิเศษเฉพาะในการแข่งขันความเร็วสูงสุดที่จัดขึ้นบนที่ราบลานเกลือบอนเนวิลล์ ระยะทาง 10 ไมล์ (16 กิโลเมตร) และกว้าง 80 ฟุต (24 เมตร) พื้นเกลือถูกทำให้เรียบเสมอทุกด้าน และเป็นสีขาวสะท้อนจ้าเมื่อถูกแสงแดดกระทบ การที่ไม่มีจุดสังเกตสำคัญใด ๆ ผนวกกับแสงที่จ้าแสบตาทำให้การควบคุมรถให้อยู่ในช่องทางที่กำหนดและการกะระยะในขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูงเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก

ตัวจอร์จ ไอสตันเองได้อธิบายถึงสภาพสนามแข่งว่า บนพื้นที่ราบลานเกลือสิ่งที่ต้องระวังคือการที่รถวิ่งออกนอกเส้นทาง เราได้ขีดเส้นสีดำหนึ่งเส้นหรือหลายเส้นตลอดระยะทาง โดยเส้นเหล่านี้ทำหน้าที่นำทางและป้องกันไม่ให้นักขับออกนอกเส้นทาง เพราะความผิดพลาดจากการขับออกนอกเส้นทางเพียงไม่กี่ฟุตอาจส่งผลร้ายตามมาอย่างมหาศาล  คุณอาจขับออกนอกเส้นทางเพียงไม่กี่ฟุตซึ่งอาจมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น และทำให้คุณยิ่งห่างออกไป เชื่อผมเถอะว่าคุณจะไม่สามารถขับกลับเข้าเลนได้  

ตามที่เขาจำได้ การละสายตาในขณะที่รถอยู่ในความเร็วทำให้เกิดอันตรายอย่างมหันต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Thunderbolt มีน้ำหนักมหาศาล เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ทางทีมของไอสตันได้ขีดเส้นทึบขึ้นลงบนพื้นเกลือเพื่อให้ไอสตันได้ขับตามเส้นทาง นับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเดียวที่ช่วยให้ Thunderbolt สามารถขับทางตรงที่ความเร็วกว่า 350 ไมล์ต่อชั่วโมง (563.27 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ความคิดที่แสนธรรมดาแต่แยบยลนี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นใน Landspeed Collection ด้วยงานฉลุลายอันประณีตตรงกลางขอบพวงมาลัยด้านบนสอดคล้องต่อเนื่องไปจนถึงลายคาดกลางเบาะที่นั่งคนขับ เป็นที่ดึงดูดใจของผู้ขับ  ยนตรกรรม Wraith และ Dawn

ที่ราบลานเกลือบอนเนวิลล์อาจดูเหมือนเรียบ แต่ในความจริงเป็นชั้น ๆ เต็มไปด้วยรอยแยกเล็ก ๆ  พื้นผิวที่      โดดเด่นนี้ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นใหม่อย่างสมบูรณ์แบบด้วยระบบดิจิทัลเลียนแบบพื้นผิวจริงบนส่วนแผงหน้ารถและ         ฝาคอนโซลไม้วีเนียร์ของยนตรกรรมใน Landspeed Collection การตกแต่งภายในที่ยังคงอ้างอิงเพิ่มเติม ได้แก่ โครงร่างของรถ Thunderbolt ที่มีเอกลักษณ์ และสถิติความเร็วที่ได้สร้างขึ้นถูกนำเสนอบนพื้นผิวอลูมิเนียมชุบอโนไดซ์ขัดเงาที่บริเวณคอนโซลกลางของยนตรกรรมใน Landspeed Collection นอกจากนี้ Dawn Landspeed ยังได้เฉลิมฉลองโลกทัศน์ของจอร์จ ไอสตันด้วยภาพร่างเทือกเขา Silver Island ที่          โดดเด่นเหนือเส้นขอบฟ้าของบอนเนวิลล์ โดยฉลุลายที่บริเวณส่วนบนของพนักพิงหลังคั่นกลางระหว่างที่นั่งด้านหลัง

ตามที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ สถิติความเร็วของไอสตันครั้งที่ 3 และครั้งสุดท้ายอยู่ที่ 357.497 ไมล์ต่อชั่วโมง (575.336 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เป็นเวลา 341 วัน เพื่อเป็นอนุสรณ์ตลอดกาล ในยนตรกรรม     คอลเล็กชั่นใหม่นี้ได้จารึกสถิติความเร็วไว้ที่กรอบนาฬิกาบนแผงหน้าปัดพร้อมกับชื่อ ‘Bonneville’ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่สถานที่ที่สร้างสถิติ

แต่เดิม Thunderbolt ไม่ได้พ่นสีตัวถังซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาที่คาดไม่ถึง ในระหว่างการพยายามทำลายสถิติความเร็วครั้งแรก เครื่องจับเวลาที่ใช้ลำแสงในการตรวจจับวัตถุไม่สามารถตรวจจับตัวถังอลูมิเนียมขัดมันวาวและแยกแยะจากพิ้นสีขาวของที่ราบลานเกลือได้ จึงทำให้การจับเวลาอย่างแม่นยำนั้นเป็นไปไม่ได้ การแก้ไขปัญหาอย่างง่ายดายและชาญฉลาดของไอสตัน คือ การพ่นลายลูกศรสีดำขนาดใหญ่ในวงกลมสีเหลืองที่ข้างตัวถังรถเพื่อความชัดเจนในการมองเห็นขณะขับด้วยความเร็วสูง สีเหลืองสดถูกใช้เน้นความโดดเด่นทั่ว         ยนตรกรรมใน Landspeed Collection รวมถึงกันชนหน้าสองโทนสีเหลืองและดำแสดงถึงการชื่นชมวิสัยทัศน์ในการแก้ไขปัญหา

งานออกแบบนาฬิกายังคงแนวคิดนี้โดยอ้างอิงจากมาตรวัดความเร็วบนแผงหน้าปัดรถ Thunderbolt ที่มีรายละเอียดเป็นสีเหลืองและดำ ปลายเข็มสีดำของเรือนไมล์ได้รับแรงบันดาลใจจากลูกศรที่เดิมอยู่ด้านนอกข้างตัวถังรถ  

เสน่ห์ของที่ราบลานเกลือบอนเนวิลล์ไม่ใช่มีเพียงแต่นักแข่งทำลายสถิติความเร็วเท่านั้นที่หลงใหลแต่ยังรวมถึงนักดาราศาสตร์อีกด้วย  โดยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักดูดาว เนื่องจากเป็นถิ่นทุรกันดารท้องฟ้าที่มืดสนิทเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการชมดาวโดยปราศจากแสงไฟรบกวน    

เพดานห้องโดยสาร Starlight Headliner ภายในยนตรกรรม Wraith Landspeed ได้จำลองบรรยากาศสวรรค์ขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบดั่งที่ปรากฏบนที่ราบลานเกลือในวันที่ 16 กันยายน ปีค.ศ. 1938 คือวันที่ไอสตันและ Thunderbolt สร้างสถิติความเร็วสูงสุดของโลกเป็นครั้งที่ 3 และครั้งสุดท้าย กลุ่มดาวบนเพดานแต่ละดวงถูกสร้างสรรค์เรียงรายขึ้นด้วย ดาวหลอดไฟเบอร์ออปติคจำนวน 2,117 ดวง นับว่าเป็นจำนวนดาวบนเพดาน Starlight Headliner ใน Rolls-Royce Wraith มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ตลอดช่วงชีวิตของเขา จอร์จ ไอสตันได้รับการเชิดชูเกียรติสำคัญ 3 ครั้ง เขาได้รับเหรียญกล้าหาญ (Military Cross) ในขณะที่รับใช้ชาติในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาในปีค.ศ. 1938 ภายหลังจากที่เขาทำลายสถิติความเร็วของตัวเองด้วยรถ Thunderbolt เขาได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ (Chevalier of the Légion d’honneur) ครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดสำหรับสามัญชนของประเทศฝรั่งเศส และในปีค.ศ. 1948 เขาได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ (OBE)

เกียรติยศเหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ในยนตรกรรม Wraith Landspeed และ Dawn Landspeed โดยการรังสรรค์ริบบิ้นผ้าไหมกรอสเกรนชนิดและสีเดียวกับริบบิ้นของเหรียญเกียรติยศเดิมอย่างประณีตตกแต่งประตูด้านคนขับ  ที่พักแขนทั้งสองข้างฝั่งผู้โดยสาร และที่อยู่ใต้ลวดลายริบบิ้นถูกบุหนาพิเศษแบบ ‘club armchair’ เพื่อความสบายในคุณภาพเดียวกับเบาะที่นั่งคนขับของไอสตันในแบบที่เขาชื่นชอบซึ่งสร้างความขบขันให้แก่เพื่อนนักแข่งรถคนอื่นไม่น้อย     

Landspeed Collection ผลิตในจำนวนจำกัดเพียง 25 คันสำหรับรุ่น Dawn และ 35 คันสำหรับรุ่น Wraith ซึ่งทั้งหมดได้รับการสั่งจองจากลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Mr. Müller-Ötvös กล่าวทิ้งท้ายว่า Rolls-Royce คือนิยามของการผจญภัย ความกล้าหาญ และการก้าวข้ามขีดจำกัดมาตลอดในประวัติศาสตร์ของแบรนด์  เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งด้วย Landspeed Collection  เราสามารถเพิ่มวีรบุรุษที่ไม่ได้รับการกล่าวขานมาก่อนหน้านี้ให้เป็นที่รู้จักในฐานะผู้บุกเบิกที่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่ของเรา  ด้วยวิสัยทัศน์ ความกล้าหาญ ความตั้งใจ และความอัจฉริยะทางด้านนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของเขา จอร์จ ไอสตันรวมไว้ซึ่งคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ทำให้ Rolls-Royce มีเอกลักษณ์ ยนตรกรรมเหล่านี้จึงเป็นการยกย่องบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจที่แท้จริงได้อย่างเหมาะสมและควรค่าแก่การรอคอยมาอย่างเนิ่นนาน    

-จบ-

ข้อมูลทางเทคนิค

Wraith Black Badge:

การวัดค่าตามมาตรฐาน NEDC

อัตราการปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์: 367 กรัม/กม.

อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง: 17.5 ไมล์ต่อแกลลอน / 16.11 ลิตรต่อ100 กม.

การวัดค่าตามมาตรฐาน WLTP

อัตราการปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์:       370-365 กรัม/กม.

อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง: 17.2-17.4 ไมล์ต่อแกลลอน / 16.4-16.2 ลิตรต่อ 100 กม.   

Dawn Black Badge:

การวัดค่าตามมาตรฐาน NEDC

อัตราการปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์: 371 กรัม/กม.

อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง: 17.3 ไมล์ต่อแกลลอน / 16.3 ลิตรต่อ100 กม.

การวัดค่าตามมาตรฐาน WLTP

อัตราการปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์:       382-380 กรัม/กม.

อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง: 16.7-16.9 ไมล์ต่อแกลลอน / 16.9-16.8 ลิตรต่อ 100 กม.    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad