มาสด้าเผยแผนพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต เตรียมส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ลงตลาดตามวิสัยทัศน์ “Sustainable Zoom-Zoom 2030” เพื่อโลก สังคม และผู้คน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564

มาสด้าเผยแผนพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต เตรียมส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ลงตลาดตามวิสัยทัศน์ “Sustainable Zoom-Zoom 2030” เพื่อโลก สังคม และผู้คน

มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ออกประกาศเกี่ยวกับแผนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด พร้อมแถลงนโยบายด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามวิสัยทัศน์ระยะยาว “Sustainable Zoom-Zoom 2030” ล่าสุดได้ประกาศแผนการบริหารงานในระยะกลาง รวมถึงนโยบายสำคัญ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ตามที่เคยประกาศไว้เมื่อปีที่ผ่านมา โดยมาสด้าจะยังคงมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ภายในปี 2030 ตามแผนงาน 5 หัวข้อหลัก ดังนี้

1. สั่งสมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีตามกลยุทธ์ Building Block Strategy เพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพขั้นสูง

  • มาสด้าได้ปฏิบัติตามกลยุทธ์ Building Block Strategy อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งมอบเทคโนโลยีที่เป็นเลิศ ผ่านการสร้างรากฐานทางด้านเทคโนโลยีเสมือนดั่งเป็น “บล็อก”
  • เริ่มจากการพัฒนา “เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ” เมื่อปี 2007 โดยพัฒนาปรับปรุงเครื่องยนต์สันดาปภายใน จากนั้นจึงเพิ่มเทคโนโลยีที่ใช้ระบบไฟฟ้าพื้นฐานเข้ามาใน Building-Block ชิ้นแรก ซึ่งสามารถนำมาใช้ในรถยนต์มาสด้าหลายรุ่น และแพลตฟอร์มนี้ได้กลายมาเป็นองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ที่นำมาใช้พัฒนาขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ของมาสด้ามาตั้งแต่ปี 2012
  • มาสด้ากำลังเดินหน้าพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายในให้ดียิ่งขึ้น (เครื่องยนต์ Skyactiv-X และเครื่องยนต์ 6 สูบ แถวเรียง) และเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม “Skyactiv Multi-Solution Scalable Architecture” ซึ่งใช้ TPU (Transverse Power Units หรือการวางเครื่องตามแนวขวาง) ในรถยนต์ขนาดเล็ก และ LPU (Longitudinal Power Units หรือการวางเครื่องตามแนวยาว) ในรถยนต์ขนาดใหญ่ ซึ่งจากแพลตฟอร์มนี้ทำให้สามารถพัฒนารถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าได้หลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน รวมถึงก้าวผ่านข้อกำหนดทางด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตไฟฟ้าในตลาด
  • นอกจากนั้น มาสด้าจะทำการเปิดตัวแนะนำแพลตฟอร์ม EV อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมาสด้า หรือแพลตฟอร์ม “Skyactiv EV Scalable Architecture” ภายในปี 2025 สำหรับรถยนต์ EVs หลายขนาดและหลายรูปแบบตัวถัง
  • จากพื้นฐานกลยุทธ์เหล่านี้ มาสด้าจะทำการปรับปรุงกระบวนการในการพัฒนารถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ แนวทาง Common Architecture, Bundled Planning และ Model Based Development เพื่อที่จะเพิ่มองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และเตรียมความพร้อมสำหรับยุครถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มรูปแบบ โดยความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ

2. การส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าและการแนะนำผลิตภัณฑ์ “กลยุทธ์ Multi-Solution”

  • ผลิตภัณฑ์ภายใต้แพลตฟอร์ม “Skyactiv Multi-Solution Scalable Architecture” จะเปิดตัวแนะนำในตลาดหลัก อาทิ ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา จีน และภูมิภาคอาเซียน ระหว่างปี 2022 - 2025 ซึ่งจะประกอบด้วยรถยนต์ Hybrid1  จำนวน 5 รุ่น, Plug-in Hybrid จำนวน 5 รุ่น และรถยนต์ EV จำนวน 3 รุ่น
  • นอกจากนั้น มาสด้ายังเตรียมรถยนต์อีกหลายรุ่นที่ถูกพัฒนาภายใต้แพลตฟอร์ม “Skyactiv Scalable EV Architecture” โดยจะเปิดตัวแนะนำสู่ตลาดในระหว่างปี 2025 – 2030
  • จากแผนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มาสด้าคาดว่าใน 100% ของผลิตภัณฑ์ของมาสด้าจะเป็นรถยนต์ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในระดับหนึ่ง โดยสัดส่วนของ EV จะอยู่ที่ประมาณ 25% ภายในปี 2030

3. การส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยที่มุ่งเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างสังคมที่ไร้อุบัติเหตุ

  • ตามกลยุทธ์ Building Block Strategy ในเรื่องของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยนั้น มาสด้ากำลังพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centric Autonomous Driving System) หรือ “Mazda Co-pilot Concept” สำหรับรถยนต์มาสด้ายุคใหม่
  • “Mazda Co-Pilot” จะตรวจจับพฤติกรรมของผู้ขับขี่ตลอดเวลา และเมื่อตรวจสอบพบว่าสภาพร่างกายของผู้ขับขี่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างกะทันหัน ระบบจะเปลี่ยนไปใช้โหมดขับเคลื่อนอัตโนมัติ เพื่อนำรถเข้าจอดในที่ปลอดภัย และทำการหยุดรถ รวมถึงกดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ซึ่งในขณะนี้ มาสด้าเรียกว่า Mazda Co-Pilot 1.0 ซึ่งกำลังจัดเตรียมแผนงานและจะเริ่มเปิดตัวแนะนำในรถยนต์ตัวถังขนาดใหญ่ โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป

4. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริการเชื่อมต่อและเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เพื่อเป็นพื้นฐานของการให้บริการระบบขนส่งที่เชื่อมต่อทุกเส้นทางในอนาคต หรือ Next-Generation Mobility Services

  • มาสด้ามีแผนที่จะผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐาน ให้สามารถรองรับการให้บริการระบบขนส่งที่เชื่อมต่อทุกเส้นทาง หรือ Mobility as a Service (Maas) และอัพเดทฟังก์ชั่นรถยนต์แบบ Over the Air (OTA)2
  • บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 5 ราย3  ซึ่งเป็นพันธมิตรกับมาสด้า จะร่วมมือกันพัฒนาอุปกรณ์ด้านการสื่อสารภายในรถยนต์เจเนอเรชั่นใหม่ เพื่อผลักดันระบบการสื่อสารที่ได้มาตรฐานให้สามารถส่งมอบการบริการที่ส่งมอบความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น และปราศจากความเครียดได้เร็วยิ่งขึ้น
  • มาสด้าจะผลักดันการพัฒนาเจเนอเรชั่นถัดไปของรถไฟฟ้า Electric/Electronic Architecture (EEA) ที่สามารถประมวลผลข้อมูลจากภายในและภายนอกรถให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

5. ปรัชญาของการพัฒนาโดยเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Development Philosophy) ในช่วงเวลาของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ และ CASE4

  • ตามวิสัยทัศน์ในระยะยาว Sustainable Zoom-Zoom 2030 ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ เพื่อโลก เพื่อสังคม และเพื่อผู้คน เราจะยังคงเดินหน้าตามปรัชญาการพัฒนาโดยเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Development Philosophy) ที่ให้คุณค่ากับมนุษย์และศักยภาพของผู้คน ไปจนถึงการนำไปสู่เป้าหมายในอนาคต นั่นคือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ หรือ Zero Emission และ CASE จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์
  • มาสด้ามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความยั่งยืน และเป็นสังคมที่มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ด้วยการนำเสนอยานพาหนะที่สนับสนุนให้ผู้คนได้ตระหนักถึงศักยภาพของตนอย่างเต็มที่

เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาวดังกล่าว มาสด้ามุ่งหวังเพื่อก้าวสู่การเป็นแบรนด์รถยนต์ ที่สร้างความผูกพันกับลูกค้าในระยะยาว ด้วยการเติมเต็มความมีชีวิตชีวาของลูกค้าจากประสบการณ์ผ่านการเป็นเจ้าของรถยนต์ เพื่อส่งมอบความสุขความสนุกสนานในการขับขี่ซึ่งเป็นแก่นแท้ของรถยนต์

1   ไม่รวมรถยนต์ประเภท Mild Hybrid แต่รวมถึงรถยนต์ที่มาพร้อม Toyota Hybrid System (THSที่มาจากโตโยต้า
2   การอัปเดทซอฟต์แวร์ผ่านการสื่อสารแบบไร้สาย
3   มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น, ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น, ซูบารุ คอร์ปอเรชั่น, ไดฮัทสุ มอเตอร์ และ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
4   สัญลักษณ์ของตัวอักษรย่อที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ หมายถึง การเชื่อมต่อ การขับขี่อัตโนมัติ การใช้งานร่วม/บริการ และการใช้ระบบไฟฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad