วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนชนิดmRNAแสดงข้อมูลความปลอดภัยที่ดีและคล้ายกันจากการ ศึกษาในระดับประชากรกว่าหนึ่งล้านคน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนชนิดmRNAแสดงข้อมูลความปลอดภัยที่ดีและคล้ายกันจากการ ศึกษาในระดับประชากรกว่าหนึ่งล้านคน




วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนชนิmRNAแสดงข้อมูลความปลอดภัยที่ดีและคล้ายกันจากการ                     ศึกษาในระดับประชากรกว่าหนึ่งล้านคน

อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่พบได้ยากนั้นต่ำกว่า

ที่พบในผู้ติดเชื้อโควิด-19เป็นอย่างมาก 

จากการศึกษาข้อมูลการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เผยแพร่ในฉบับก่อนตีพิมพ์ในวารสาร เดอะ แลนเซต จากกลุ่มประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันผิดปกติ และภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ(thrombocytopenia syndrome หรือ TTS)หลังการฉีดวัคซีนชนิด mRNA หรือวัคซีนป้องกันโควิด-19ของแอสตร้าเซนเนก้า และเปรียบเทียบกับอัตราการเกิดภาวะดังกล่าวในประชากรทั่วไปและในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19

ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA มีความคล้ายคลึงกันและแสดงถึงประโยชน์โดยรวม ทั้งนี้ มีการศึกษาการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่พบได้ยากและภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) กับวัคซีนทั้งสองชนิด ซึ่งสอดคล้องกับอัตราที่คาดว่าจะเกิดภาวะนี้ในประชากรทั่วไป อีกทั้งยังมีอัตราการเกิดภาวะTTS ในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนต่ำกว่าผู้ติดเชื้อโควิด-191 ซึ่งระยะเวลาในการติดตามผลนั้นไม่เพียงพอที่จะรายงานอัตราการเกิดภาวะTTS หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าครบทั้งสองเข็ม แต่ยังคงมีการศึกษาอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าอัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่พบได้ยากนั้นจะต่ำลงหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง2

จากการวิเคราะห์โดยไม่คำนึงถึงชนิดของวัคซีนที่ใช้ พบว่าอัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 นั้นสูงกว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนมาก โดยอัตราของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำสูงกว่าอัตราที่คาดการณ์ไว้ถึงแปดเท่าหลังจากการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิ-19

เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceuticals) กล่าวว่าข้อมูลจากการใช้จริงนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าว่ามีมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ และสามารถช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดนี้ได้” 

การศึกษานี้วิเคราะห์จากผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิด mRNA จำนวน945,941 ราย (ในจำนวนนี้มี 778,534 คน ได้รับวัคซีนครบทั้งสองเข็ม) ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 426,272 ราย โดยทำการศึกษาระหว่างวันที่27 ธันวาคม 2563 ถึง 19 พฤษภาคม 2564 นอกจากนี้ยังศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 222,710 ราย ที่ระบุว่าติดเชื้อในระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2563 ถึง 1 มีนาคม 2564และข้อมูลจากประชากรทั่วไป 4,570,149 คน ณ วันที่ 1มกราคม 2017 จากฐานข้อมูลสาธารณสุขของแคว้นคาตาโลเนีย ประเทศสเปน

ผลการทดสอบนี้สอดคล้องกับรายงานล่าสุดจาก Yellow Card ซึ่งเป็นรายงานรวบรวมและบันทึกข้อมูลด้านความปลอดภัยของหน่วยงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (MHRA) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงอัตราภาวะการเกิดTTS ในระดับต่ำหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง2

ไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ชัดเจนสำหรับภาวะ TTS หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งนี้แอสตร้าเซนเนก้ายังคงดำเนินการและสนับสนุนการสอบสวนอย่างต่อเนื่องในการศึกษาหาสาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ทั้งนี้อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ยากมากเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการตรวจพบและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม3

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือชื่อVaxzevria ในสหภาพยุโรป (เดิมเรียก AZD1222)

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ถูกคิดค้นและพัฒนาร่วมกับโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัท วัคซีเทค ซึ่งก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนาSARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง 

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 80 ประเทศ ครอบคลุม6 ทวีปทั่วโลก ทั้งนี้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ากว่า 800 ล้านโดสได้ถูกส่งมอบให้แก่กว่า 170 ประเทศทั่วโลก รวมถึงกว่า 100 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์ โดยในสหราชอาณาจักร โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า


####

 

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์astrazeneca.com และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ และ ผู้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์https://www.azcovid-19.com/asia/th/th.html

References

  1. Burn, E (2021) Thromboembolic events and thrombosis with thrombocytopenia after COVID-19 infection and vaccination in Catalonia, Spain. Pre-print Online:https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3886421
  2. Bhuyan P., et al., (2021) Thrombosis with thrombocytopenia after second AZD1222 dose: a global safety database analysis of rare cases. The Lancet. Published Online: https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)01693-7/fulltext
  3. MHRA. Coronavirus vaccine - weekly summary of Yellow Card reporting - GOV.UK 1 July Update. Available at:https://www.gov.uk/government/publications/coronavirus-covid-19-vaccine-adverse-reactions/coronavirus-vaccine-summary-of-yellow-card-reporting
  4. Bussel, J.B., et al. (2021) Thrombosis with Thrombocytopenia Syndrome (also termed Vaccine-induced Thrombotic Thrombocytopenia):https://www.hematology.org/covid-19/vaccine-induced-immune-thrombotic-thrombocytopenia

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad