คุ้มครองสิทธิฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

คุ้มครองสิทธิฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร

 


คุ้มครองสิทธิฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... ครั้งที่  1 กรุงเทพมหานคร

นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มอบหมายให้ พันตำรวจตรี ยุทธนา  แพรดำ  รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... ครั้งที่  1 กรุงเทพมหานคร ผ่านทางออนไลน์ระบบCisco Webex Meetings และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รณกรณ์ บุญมี และ ดร.ผ่องศรี เวสารัช  เป็นวิทยากรให้ความรู้ และมี ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 211 คน เข้าร่วม

สำหรับการจัดประชุมในวันนี้ สืบเนื่องจาก ปีงบประมาณ 2563  กรมฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการตรากฎหมายรองรับกลไกการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระยะที่ 1 ซึ่งผลการศึกษาเห็นควรให้มีการยกร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... ขึ้น เพื่อรองรับการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ กรมฯ จึงจัดการประชุม ฯ ดังกล่าวขึ้น เพื่อเปิดรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน  อาทิ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนสมาคมฟ้าสีรุ้ง ผู้แทนเครือข่าย Global Compact ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงาน ป.ป.ช. ผู้แทน กอ.รมน. ฯลฯ


นอกจากนี้ จะมีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในระดับพื้นที่อีก  4 ภูมิภาค ได้แก่ ครั้งที่ 2 ภาคเหนือในวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ครั้งที่ 3 ภาคกลาง ในวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 9 สิงหาคม 2564 และครั้งที่ 5 ภาคใต้ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ทั้งนี้ สามารถแสดงความคิดเห็น ได้ที่ website กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ banner ขอเชิญแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย ได้ถึง 10 สิงหาคม 2564 นี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad