มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021 เปิดโลกแห่งความรู้นำสังคมสู่การเปลี่ยนแปลง - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021 เปิดโลกแห่งความรู้นำสังคมสู่การเปลี่ยนแปลง

                  


มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021

เปิดโลกแห่งความรู้นำสังคมสู่การเปลี่ยนแปลง

 

มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021 ในคอนเซ็ปต์ Virtual Conference เปิดโลกแห่งองค์ความรู้และงานวิจัยครั้งสำคัญในไทย งานเดียวที่รวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย บุคลากรในแวดวงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์การแพทย์ องค์การภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมนำเสนอ แลกเปลี่ยนความรู้และร่วมพัฒนาแนวคิดที่นำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศด้วยองค์ความรู้ใหม่

         

การขับเคลื่อนประเทศด้วยองค์ความรู้ใหม่เป็นอีกก้าวสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย จากการรวมตัวของบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลกับองค์การภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อต่อยอดและร่วมพัฒนางานวิจัยไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดเป็นนโยบายชี้นำสังคม ในชื่องาน “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021” (Mahidol University Social Engagement Forum) ในรูปแบบของงานสัมมนาออนไลน์ (Virtual Conference) ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2564





 

          หัวใจของการจัดงาน  “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021” อยู่ที่การเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิจัย ประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจ รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดการผลักดันกระบวนการเชิง Policy Advocacyเพื่อสนับสนุนและผลักดันยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการนำผลงานวิจัยไปสู่การเป็นนโยบายพัฒนาสังคมไทยให้เกิดการสร้างความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งผลักดันให้เกิดเครือข่ายระหว่างอาจารย์หรือนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยมหิดลกับองค์การภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อต่อยอดและร่วมพัฒนางานวิจัยไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดเป็นนโยบายชี้นำสังคม

 

          ไฮไลท์ของงานอัดแน่นไปด้วยความรู้ทางด้านวิชาการ จากการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยมหิดล กับการบรรยายและเสวนาใน 4หัวข้อ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยมหิดล  โดยศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล จากการบรรยายหัวข้อ “มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อสังคม” หัวข้อ“มหาวิทยาลัยมหิดลกับ Sustainable Development Goals บรรยายโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ข้อคิดดี ๆ จากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ ในหัวข้อมหาวิทยาลัยมหิดลเขยื้อนสังคม”


 

อีกหนึ่งสาระสำคัญในงานมาจากการเสวนาหัวข้อ มหาวิทยาลัยมหิดลกับการชี้นําสังคม : กรณีศึกษาCOVID-19 โดยคณะแพทย์ทั้ง 2 แห่งที่กำลังมีบทบาทสำคัญในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา - คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา - คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่จะถ่ายทอดความรู้ และข้อมูลสำคัญ ทั้งการรักษาพยาบาล การป้องกันการแพร่ระบาด วิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงการมีส่วนผลักดันให้รัฐบาลกำหนดมาตรการและนโยบายเพื่อควบคุมโรคและป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง 

 

การนำเสนอผลงานเชิงวิชาการรับใช้สังคมจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัย ในผลงานประเภท Poster Presentation และ Oral Presentation  เพื่อนำเสนอข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัย นำไปสู่การผลักดันให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิดเห็นระหว่างนักวิจัยและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง จนนำไปสู่การขับเคลื่อนเป็นนโยบาย ในท้ายที่สุด


 

ภายในงาน มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF2021 ยังมีพื้นที่เปิดกว้างสำหรับสำหรับ Workshopจากกลุ่มนักวิจัย และกลุ่มผู้ทำงานภาคสังคม ได้แก่  เวิร์คชอป “MU Organic  วงสนทนาเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องหมายมาตรฐานการรับรองเกษตรอินทรีย์จากความร่วมมือของนักวิจัยและเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงการรับรองมาตรฐานอย่างไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการได้ทดลองตรวจสอบแปลงผักแบบLive ที่จะพาผู้เข้าร่วมไปตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพแปลงผักด้วยกัน  รวมถึง การรณรงค์ลดการบริโภคเกลือโซเดียม ในประชากรไทยเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  การเวิร์คชอปเกี่ยวกับ Social Engagement:แผนภาพแสดงผลกระทบทางสังคม (Social Impact Canvas) ที่จะชวนคนรุ่นใหม่มาเรียนรู้เครื่องมือ และวิธีการใช้เครื่องมือกับงานประเภทต่าง ๆ ในการออกแบบและประเมินผลกระทบทางสังคม และที่พลาดไม่ได้ กับการทำเวิร์คชอปที่เกี่ยวกับ นวัตกรรมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19

กิจกรรม Spatial Chat - Speed Networking ที่จะชวนทุกคนมาทำความรู้จักนักวิจัยและผู้ทำงานภาคสังคม และร่วมพูดคุยกับคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน กับ Sharing Space เพื่อทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ใน 6กลุ่มประเด็นหลัก ได้แก่ กลุ่มงานบริการชุมชน  กลุ่มตัวกลางในการสร้าง Impact เช่น Social Accelerator, Social Impact หรือ Corporate CSR  กลุ่มประเด็นเด็กและเยาวชน  กลุ่มประเด็นสุขภาพ กลุ่มประเด็นผู้สูงอายุ และ Inclusiveness และ กลุ่มประเด็นวัฒนธรรม

 

จากการพบกันของ 3 sectors ได้แก่ กลุ่มผู้ทำงานวิจัย กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย และ ภาคประชาสังคม ในงาน มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF2021 ครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่ายระหว่างอาจารย์หรือนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยมหิดลกับองค์การภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อต่อยอดและร่วมพัฒนางานวิจัยไปสู่การขับเคลื่อนทางสังคมที่เกิดประโยชน์กับประเทศในภาพรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad