รมว.ศธ. “ตรีนุช เทียนทอง” จับมือ 2 รมช. “ดร.คุณหญิงกัลยา” และ”ดร.กนกวรรณ” พร้อมภาคีเครือข่ายรัฐ-เอกชน เร่งเดินหน้านโยบายการศึกษาพิเศษ ชูผลงาน 4 ภารกิจหลัก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รมว.ศธ. “ตรีนุช เทียนทอง” จับมือ 2 รมช. “ดร.คุณหญิงกัลยา” และ”ดร.กนกวรรณ” พร้อมภาคีเครือข่ายรัฐ-เอกชน เร่งเดินหน้านโยบายการศึกษาพิเศษ ชูผลงาน 4 ภารกิจหลัก

รมว.ศธ. “ตรีนุช เทียนทอง”  จับมือ 2 รมช. “ดร.คุณหญิงกัลยา” และ”ดร.กนกวรรณ” พร้อมภาคีเครือข่ายรั-เอกชน เร่งเดินหน้านโยบายการศึกษาพิเศษ ชูผลงาน 4 ภารกิจหลัก ภายใต้แนวทาง “การศึกษาพิเศษไทย หัวใจนำทาง” สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส

 

(กระทรวงศึกษาธิการ)-นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย  ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงภารกิจในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส ภายใต้แนวคิด “การศึกษาพิเศษไทย หัวใจนำทาง” ชูผลงาน 4 ภารกิจหลักเร่งด่วน ปักหมุดค้นหาเด็กพิการที่ตกหล่น - จัดทำคู่มือสื่อบัญชี ก-ข-ค - ช่วยเหลือเด็กที่เจ็บป่วยในโรงพยาบาล - สร้างและส่งต่อแรงบันดาลใจ

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาพิเศษและมีนโยบายการเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยการศึกษาไทยจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งที่ผานมากระทรวงศึกษาธิการได้ขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาพิเศษภายใต้แนวคิด“การศึกษาพิเศษไทย หัวใจนำทาง” ใน 4 ภารกิจหลักเร่งด่วน (Quick Win) ดังนี้

1. การปักหมุดค้นหาเด็กพิการที่ตกหล่นอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ นำเข้าสู่ระบบคัดกรอง ส่งต่อระบบการศึกษาหรือการให้บริการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษแต่ละบุคคล โดยได้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูล Big Data เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา โดยให้ศูนย์การศึกษาพิเศษทุกจังหวัด ค้นหาเด็กพิการในวัยเรียนที่อายุไม่เกิน 18 ปี และยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา ให้ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง และมีความเท่าเทียมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามที่ได้ข้อมูลจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวนกว่า 7 พันคน

2. การจัดทำคู่มือสื่อบัญชี ก-ข-ค ซึ่งเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษและโรงเรียนเรียนรวม นำไปใช้ในการขอรับบริการและการขอยืมสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก ให้สอดล้องกับความต้องการของนักเรียน และในขณะนี้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษได้แจ้งให้ศูนย์การศึกษาพิเศษทุกแห่ง ประชาสัมพันธ์คู่มือรายการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ให้โรงเรียนจัดการเรียนรวมในจังหวัดที่ศูนย์การศึกษาพิเศษรับผิดชอบนำไปใช้งานเพื่อประโยชน์สำหรับคนพิการ และผู้ปฏิบัติงานต่อไป

3. เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ให้ไว้ในการช่วยเหลือเด็กที่เจ็บป่วยในโรงพยาบาล จึงสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาลครอบคลุมทั่วประเทศใน 77 จังหวัด 85 ศูนย์การเรียน  เพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่บุคคลที่มีความบกพร่องทางสุขภาพวัยเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดเป็นคนพิการทางการศึกษาประเภทบุคคลที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ ภารกิจหลักคือการช่วยเหลือเด็กเจ็บป่วยในระหว่างพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหรือที่บ้านเป็นระยะเวลานานจนไม่สามารถไปเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตามปกติให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องลาออกจากสถานศึกษากลางคัน

4. การสร้างและส่งต่อแรงบันดาลใจ คนภายนอกจะมองว่าการดูแลเด็กพิการหรือเด็กด้อยโอกาส เหมือนเป็นสถานที่รับเลี้ยงเด็ก และอาจมีคำถามว่าเมื่อเด็กจบจากการศึกษาไปแล้วเด็กจะไปที่ไหน จะทำอะไร จึงจำเป็นต้องสื่อให้คนภายนอกเห็นว่า เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสมากมายที่เข้ามาอยู่ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษได้ถูกบ่มเพาะด้วยความรักและแรงบันดาลใจของครู ทำให้เด็กก้าวข้ามคำว่าพิการหรือด้อยโอกาสจนประสบความสำเร็จ ซึ่งมีตัวอย่างของคนเหล่านี้ที่สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กพิการด้วยกัน รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่กำลังท้อแท้หรือมีความยากลำบากในชีวิตอีกด้วย

“ภารกิจด้านการศึกษานั้นเป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับประเทศชาติการศึกษาไทยจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังดังที่ดิฉันได้กล่าวไว้ในคำแถลงนโยบายการจัดการศึกษาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ต้องมีคุณภาพ มีทักษะชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ เด็กต้องได้เรียนในสิ่งที่ชอบอย่างมีความสุข การเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ จึงถือเป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่ดิฉันได้ขับเคลื่อนมาตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ปฏิบัติหน้าที่”นางสาวตรีนุช กล่าว

นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า การศึกษาพิเศษถือเป็นส่วนที่สำคัญของประเทศ เพื่อพัฒนาคนในทุกมิติ และในทุกช่วงวัยเพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง และคนมีคุณภาพ มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน และมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น ซึ่งการจะขับเคลื่อนการศึกษาพิเศษให้บรรลุถึงเป้าหมายเดียวกัน คือการมีผู้เรียนเป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนานั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ และผนึกกำลังจากทุกภาคส่วน

ทั้งนี้ต้องขอขอบทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ขอขอบคุณดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความเป็นห่วงเด็กพิเศษในเรื่องการเรียนและความเป็นอยู่อย่างมาก ติดตามและให้การช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กพิเศษทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุดดังจะเห็นได้จากการนำนโยบายเรื่องการเรียนการสอนแบบ Coding เพื่อสร้างทักษะในด้านต่างๆ ทั้งทักษะการเรียน การใช้ชีวิต และทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างคนให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง รวมถึงดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ยกระดับคุณภาพการศึกษานอกระบบสำหรับคนพิการให้กว้างขวางทั่วถึง มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนทั้งการให้การช่วยเหลือและพัฒนาหลักสูตรซึ่งนับว่าเป็นงานที่มีความท้าทายและมีคุณค่าทั้งด้านวิชาการและการส่งเสริมให้บุคคลออทิสติกและบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียนรู้การพัฒนาตนเองและการมีพื้นฐานอาชีพตามความสนใจและความถนั

นอกจากนี้ยังมีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้นำแนวนโยบายที่ได้ให้ไว้ไปปฏิบัติอย่างเป็นเข้มแข็งและเกิดผลสัมฤทธิ์ในการสร้างโอกาสให้เด็กด้อยโอกาส ได้อย่างเท่าเทียม สร้างโรงเรียนให้เป็นบ้านสร้างครูให้เป็นพ่อแม่ ให้ความรักให้ความอบอุ่นที่เป็นรากฐานที่ดีงามในการพัฒนาจิตใจ ควบคู่ไปกับการนำเทคโนโลยีทีทันสมัยมาประยุกต์ใช้ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วรวมถึงภาคการศึกษาที่ต้องปรับตัวแบบ Disruptionเพื่อให้เดินหน้าต่อได้ภายใต้ความปลอดภัยทางด้านสาธารณสุข รวมถึงภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรมอนามัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ที่ได้มาร่วมกันพัฒนาการศึกษาพิเศษให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตยุคใหม่ที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อน และมีเป้าหมายที่สำคัญคือสร้างอนาคตให้เด็กไทยทุกคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad