องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกกังวลการเปิดสวนเสือแห่งใหม่ ยื่น 26,000 รายชื่อคัดค้านนำสัตว์ป่ามาแสดงโชว์ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกกังวลการเปิดสวนเสือแห่งใหม่ ยื่น 26,000 รายชื่อคัดค้านนำสัตว์ป่ามาแสดงโชว์

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกกังวลการเปิดสวนเสือแห่งใหม่ 
ยื่น 
26,000 รายชื่อคัดค้านนำสัตว์ป่ามาแสดงโชว์

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เข้าพบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แสดงความกังวลต่อกรณีข่าวผู้ประกอบการเตรียมการเปิดสวนเสือแห่งใหม่ ซึ่งสงสัยว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสวนเสือชื่อดังที่เคยประกาศปิดตัวไปแล้ว โดยการเข้าพบในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อขอรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ ตลอดจนแผนปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ป่าตามกฎหมายและมาตรฐานสากลในอนาค

พร้อมกันนี้ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้เป็นตัวแทนประชาชนมากกว่า 26,000 รายชื่อที่ร่วมลงชื่อแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการผสมพันธุ์สัตว์ป่าเชิงพาณิชย์และการนำสัตว์ป่ามาแสดงโชว์ โดยเฉพาะเสือและช้าง ซึ่งทางองค์กรฯ ได้รณรงค์สร้างความตระหนักรู้และมีความพยายามเสนอแก้กฎหมายมาอย่างต่อเนื่อง

นายฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์ ผู้จัดการแคมเปญสัตว์ป่า องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย เปิดเผยว่า “องค์กรฯ และผู้สนับสนุนของเราไม่สนับสนุนการผสมพันธุ์สัตว์ป่าเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการนำสัตว์ป่าเหล่านั้นมาใช้งานอย่างโหดร้ายทารุณ ผิดธรรมชาติของสัตว์ป่า ที่เห็นได้ชัดคือการแสดงโชว์สัตว์ป่าตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมไปถึงคนไทยเอง ก็มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดกระแสเรียกร้องดังกล่าว”

นายปัญจเดช สิงห์โท ที่ปรึกษาด้านนโยบาย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เสริมว่านอกเหนือจากการรณรงค์สาธารณะแล้ว องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกยังได้ริเริ่มเสนอแก้ไขกฏหมายโดยเฉพาะพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัญัติปกป้องและคุ้มครองช้างไทย พ.. ….ให้ครอบคลุมการยุติผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยงเพื่อยุติวงจรการป้อนเสือเข้าสู่อุตสาหกรรมแสดงโชว์และยกระดับสวัสดิภาพช้างอย่างเป็นระบบ ซึ่งองค์กรฯ จะติดตามความคืบหน้าของผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดต่อไป

“จากการเข้าพบในครั้งนี้เราขอให้กรมอุทยานฯ ตรวจสอบและพิจารณาทบทวนการต่อใบอนุญาตและการขอจดทะเบียนอนุญาตสวนสัตว์รายใหม่ เนื่องจากสถานกาณ์โควิด-19 ได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าผู้ประกอบการจำนวนมากไม่สามารถดูแลสัตว์ได้อย่างเหมาะสม หลายแห่งมีปัญหาด้านสวัสดิภาพมาก่อนโควิด-19 ด้วยซ้ำ โดยเฉพาะการบังคับสัตว์ป่าแสดงโชว์ การกักขังในพื้นที่คับแคบ ยิ่งไปกว่านั้น การผสมพันธุ์สัตว์ป่าจำนวนมากของผู้ประกอบการบางรายยังอาจมีวัตถุประสงค์แอบแฝงเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าผิดกฏหมาย มากกว่าที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่า” 
นายปัญจเดชกล่าว


จำนวนประชากรเสือที่อยู่ในกรงเลี้ยงทั่วประเทศไทยจากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้รับแจ้งอยู่ที่ราว 1,400 ตัว เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในรอบ 10 ปี (พ.ศ. 2550-2560) โดยทางองค์กรฯ พบว่าเสือในกรงเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ต่างถิ่น เช่น เสือโคร่งเบงกอล เสือโคร่งไซบีเรีย ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ประชากรเสือในป่าซึ่งเป็นสายพันธุ์ท้องถิ่นแต่อย่างใด นอกจากนี้ การผสมพันธุ์เสือเชิงพาณิชย์ในภาพรวมยังมีความเสี่ยงด้านการลักลอบค้าขายสัตว์ป่าด้วย ดังเช่นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีวัดเสือ จ.กาญจนบุรี หรือสวนเสือมุกดา จ.มุกดาหาร

ด้านนายสมปอง ทองสีเข้ม ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า เปิดเผยว่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ มีแผนการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ป่า ตลอดจนเร่งเดินหน้าปราบปรามการลักลอบค้าขายสัตว์ป่าอย่างจริงจัง โดยภาครัฐมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะทำงานร่วมกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกและองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆ ต่อไป

###

เกี่ยวกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก หรือ World Animal Protectionเป็นองค์กรเพื่อคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพสัตว์ และยุติการทารุณกรรมสัตว์อย่างถาวร โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 มีบทบาทในการให้คำปรึกษากับองค์การสหประชาชาติและสภายุโรป ทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ สร้างความแตกต่างให้สัตว์ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ถูกทารุณกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยดำเนินงานครอบคลุมทั้งสัตว์ในชุมชน – สุนัข, สัตว์ป่า - สัตว์ในฟาร์ม รวมถึงการให้ความรู้ด้านปศุสัตว์ที่มีมนุษยธรรมอันส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนและสัตว์ ข้อมูลเพิ่มเติม www.worldanimalprotection.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad