วิศวะมหิดล - อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ถอดบทเรียนและแนวโน้มหุ่นยนต์การแพทย์ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

วิศวะมหิดล - อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ถอดบทเรียนและแนวโน้มหุ่นยนต์การแพทย์

วิศวะมหิดล - อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน  ถอดบทเรียนและแนวโน้มหุ่นยนต์การแพทย์


            มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน และสมาคม IEEE Robotics Automation Society Thailand Chapter จัดสัมมนาหุ่นยนต์การแพทย์ Reinventing University : Mahidol Medical Robotics Program ถอดบทเรียนและแนวโน้มของหุ่นยนต์การแพทย์ เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้สอดคล้องกับทิศทางการผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของไทย โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร กล่าวเปิดงานผ่านระบบออนไลน์

 

           รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า งานครั้งนี้เป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังมุ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก และ อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและหุ่นยนต์การแพทย์ ความโดดเด่นของมหิดลคือเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในโลกที่มีโรงเรียนแพทย์ถึง 3 แห่ง ตลอดระยะเวลา 20 ปี ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดศูนย์เครือข่ายวิจัย BART LAB เราได้สร้างบุคคลากรและวิจัยพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์การแพทย์ต่อเนื่องมา เพิ่มศักยภาพบุคคลากรและขีดความสามารถของประเทศไทย ทั้งนวัตกรสร้างหุ่นยนต์ เครื่องมือฝึกผ่าตัดสำหรับแพทย์  การร่วมวิจัยพัฒนานวัตกรรมโดยวิศวกรและบุคคลากรแพทย์ที่ตอบสนองการใช้งานได้จริงและทำงานร่วมกับแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความก้าวหน้าของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หุ่นยนต์ฟื้นฟูสุขภาพ หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะในโรงพยาบาลและTelemedicine ตลอดจนเครื่องมือแพทย์ของไทย วิศวกรรมชีวการแพทย์ยุคใหม่ต้องไม่หยุดนิ่งที่จะเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตไปกับ Deep Tech  และเทคโนโลยีใหม่ๆอย่าง 5G Metaverse มาใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพและการแพทย์

                

               ศาสตราจารย์ เฟอร์ดินานโด โรดริเกซ เบนา ผู้อำนวยการศูนย์หุ่นยนต์การแพทย์แฮมลีน (Hamlyn) และหัวหน้าห้องปฏิบัติการเมคคาทรอนิคในการแพทย์ มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ถอดบทเรียนและแนวโน้มของหุ่นยนต์การแพทย์ ว่า เรากำลังก้าวสู่โลกใหม่ของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก 1. หุ่นยนต์ผ่าตัด 2. หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพ และ 3. หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ทั้งนี้ การดำเนินงานของศูนย์หุ่นยนต์การแพทย์ Hamlyn เป็นศูนย์กลางการวิจัยแบบบูรณาการ การสอนข้ามคณะ และการวิเคราะห์แปลผลการทดสอบทางคลินิก

แนวโน้มการพัฒนาหุ่นยนต์ในการผ่าตัด ในคอนเซ็ปต์ Hands-On Roboticsก้าวผ่านอุปสรรคความท้าทายสู่การใช้งานที่ง่ายมีประสิทธิภาพสูงในระบบผ่าตัด เช่น การผ่าตัดหัวเข่าด้วยหุ่นยนต์ ช่วยเพิ่มความแม่นยำของการผ่าตัด โดยผสานระบบผ่าตัดได้อย่างราบรื่นด้วยระบบอัตโนมัติอย่างไร้รอยต่อ และการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะ  นอกจากนี้ Augmented Reality (AR) เทคโนโลยีโลกเสมือนในการผ่าตัดจะมีบทบาทสำคัญในการแพทย์ ซึ่งมีระบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนและเชื่อมต่อโดยแพทย์ใช้ AR Headsetsเข้าไปยังขั้นตอนการทำงานของหุ่นยนต์ผ่าตัดโดย Headset จะสื่อสารโดยตรงกับหุ่นยนต์ผ่าตัด การปรับ Calibrated ระบบประสานงานของหุ่นยนต์ รวมทั้งระบบสามารถทำภาพฮอโลแกรม 3 มิติ (Holograms) ของสรีระเป้าหมายที่จะผ่าตัดได้

  ในอนาคตการพัฒนาพลังของซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์จะยิ่งมีศักยภาพพุ่งสูง เทคโนโลยีที่น่าตื่นตาตื่นใจจะมาถึงด้วยคุณสมบัติที่ชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น ราคาถูกลงและมีขนาดเล็กลง เทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างพลานุภาพของคอมพิวเตอร์ อย่างคลาวด์คอมพิวติ้ง เอไอ เทคโนโลยี AR ที่จะเสริมสร้างการมองเห็นและเข้าไปได้ แต่ก็ต้องการทักษะความเชี่ยวชาญระดับสูงภายใต้มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติอันเข้มงวด

รศ.ดร. นายแพทย์สิทธิพร ศรีนวลนัด Chief of Urology คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึง เทคโนโลยีหุ่นยนต์ผ่าตัดในประเทศไทย เข้ามาในปี 2550 ใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น ผ่าตัดมะเร็ง ภาวะอุดตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งได้ผ่าตัดแล้วรวม 2,300 ราย นับว่ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งข้อดีของระบบหุ่นยนต์ผ่าตัด คือ ช่วยให้แพทย์สามารถทำงานในพื้นที่จำกัดและขั้นตอนที่ซับซ้อนอ่อนไหวได้อย่างยืดหยุ่น แม่นยำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ประหยัดเวลา และควบคุมการผ่าตัดได้ดียิ่งกว่าแบบเดิม แผลเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว หุ่นยนต์ของศิริราชพยาบาล มี 9 ประเภท หนึ่งในนั้นเป็นระบบหุ่นยนต์ดาวินชี่(Davincii System) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ตัวเลขทั่วโลกมีระบบดาวินชี่ ณ 31 มี.ค. 2564 จำนวนรวม 5,989 ยูนิต แบ่งเป็นสหรัฐ 3,640 ยูนิต ยุโรป 1,093 ยูนิต เอเชีย 961 ยูนิต และภูมิภาคอื่นๆ 295 ยูนิต

ในช่วง 10 ปี การผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยระบบหุ่นยนต์ในประเทศไทยมีราว 1,000 เคส โดย รพ.ศิริราชพยาบาลมากเป็นอันดับหนึ่ง และรพ.รามาธิบดี เป็นอันดับสอง อาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าและความสำเร็จของการพัฒนาการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์มาจาก 3 ปัจจัย คือ 1.การศึกษาวิจัยและพัฒนา 2.การเรียนการสอน ผลิตบุคคลากร 3.การบริการทางการแพทย์

ปัญหาคือ ประเทศไทยเป็นผู้ซื้อและผู้ใช้เทคโนโลยี เราไม่มีเทคโนโลยีที่เป็นของเราเอง ทั้งนี้แนวโน้มในอนาคตจะเป็นระบบผ่าตัดครบทุกขั้นตอนที่ควบคุมและจบในกระบวนการเดียวกันอย่างอัตโนมัติ (Single-Port Surgery) ซึ่งหลายเทคโนโลยี เช่นIoT, AR ช่วยให้เกิดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อนาคตเราต้องเชื่อมต่อระบบสื่อสารไร้สายกับ AR ซึ่งหลายประเทศดำเนินการกันแล้วโดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุน เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.นายแพทย์รัฐพล ตวงทอง ได้คิดค้นระบบหุ่นยนต์ผ่าตัดที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิต อาทิ พัฒนาเทคโนโลยีปลูกถ่ายเส้นผมด้วยหุ่นยนต์(Mahidol Hair Robotics Transplantation) ที่ก้าวล้ำ ร่วมกับ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณะวิศวะมหิดล ย่นเวลาจากวิธีเดิมได้ถึง 4 เท่า และมีอัตราการเจริญเติบโตของรากผมที่ปลูกใหม่กว่า 90 %

คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้ร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยรศ.นาวาโท ดร.สรยุทธ ชำนาญเวช โครงการ The Assistive Cobot for Spinal Surgery (AcoSS) เฟสที่ 1 เป็นการทดสอบผ่าตัดกระดูก และเฟสที่ 2 เป็นการทดสอบผ่าตัดกับครูใหญ่ นอกจากนี้ยังพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมะเร็งต่อมใต้สมองผ่านช่องรูจมูก นับเป็นผู้บุกเบิกครั้งแรกของประเทศไทยและอาเซียน และเมื่อมองไปในอนาคต กำลังศึกษาเทคโนโลยี AR/VR ในการผ่าตัด รวมทั้งสาร Polymer ในการปลดปล่อยยาตามที่กำหนด

            ในด้านหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพ อ. แพทย์หญิงพีรยา รุธิรพงษ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้พัฒนา ระบบหุ่นยนต์ Sensible Step ใช้สำหรับฝึกเดินในผู้ป่วยทางสมอง (Robotics Gait Training) ทั้งยังฝึกการใช้แขนสำหรับผู้ป่วยโรคสโตรกหรือหลอดเลือดสมองได้ผลดียิ่ง นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบหุ่นยนต์อุปกรณ์สวมเดินสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ช่วยให้สามารถเดินได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียนรู้มาก่อน การรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพได้เร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยห่างไกลจากความพิการ นวัตกรรมจากประเทศไทยนี้ชนะรางวัล World Federation for Neuro Habilitation : WFNR Franz Gersten Award 2021 อีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad