เอสเอพี เดินหน้าพลิกโฉมรูปแบบการจัดการพนักงานขององค์กร คว้ารางวัลสุดยอดองค์กรที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในเอเชีย - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เอสเอพี เดินหน้าพลิกโฉมรูปแบบการจัดการพนักงานขององค์กร คว้ารางวัลสุดยอดองค์กรที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในเอเชีย

เอสเอพี เดินหน้าพลิกโฉมรูปแบบการจัดการพนักงานขององค์กร

คว้ารางวัลสุดยอดองค์กรที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในเอเชีย

 

  • เอสเอพี ประเทศไทย คว้ารางวัล Best Company to Work for in Asia Awards 2021 จาก HR Asia 2 ปีซ้อน และในเวทีโลกยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสถานที่ทำงานที่ดีที่สุดในโลกในปี 2564 จากนิตยสารGreat Place to Work และ Fortune

          เอสเอพี เผยโมเดลการทำงานใหม่ล่าสุด Pledge to Flex ที่มีความยืดหยุ่นและเชื่อถือได้ 100% ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานในอนาคต

กรุงเทพฯ, 14 ธันวาคม 2564 – เอสเอพี ประเทศไทย บริษัทย่อยของเอสเอพี คว้ารางวัล สุดยอดองค์กรที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในเอเชีย” (Best Company to Work for in Asia Awards 2021) จาก HR Asia 2 ปีซ้อน และนำโมเดลการทำงานที่ยืดหยุ่นและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ชื่อ“Pledge to Flex” มาใช้เพื่อให้พนักงานในประเทศไทยทำงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น

ความไว้วางใจ ความยืดหยุ่นในการทำงาน และการมีส่วนร่วม(Inclusivity) : สามปัจจัยพื้นฐานใหม่สำหรับองค์กรหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

สถานการ์โควิด-19 ทำให้การขับเคลื่อนสู่ดิจิทัล รูปแบบสถานที่ทำงาน ตลอดจนองค์ประกอบของแรงงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ข้อมูลของ Gartner ระบุว่า ภายในสิ้นปี 2564 แรงงาน 3 ใน 10 คนจะทำงานทางไกลจากนอกออฟฟิศ ในขณะที่ 51% ของพนักงานทั้งหมดจะทำงานในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด โดยทำงานจากที่บ้านอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งผลสำรวจกับพนักงานของเอสเอพีก็เป็นในทิศทางเดียวกัน พบว่าพวกเขาต้องการที่จะทำงานแบบไฮบริดและเลือกสถานที่ทำงานในอนาคตได้ โดยกว่า 80% ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน ทั้งนี้ ลักษณะงานในอนาคตจะต้องการทักษะและความสามารถที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง เช่น ทักษะด้านเทคโนโลยี และ Soft Skillเพื่อให้พนักงานทำงานได้

เอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า"ความไว้วางใจ ความยืดหยุ่น และการมีส่วนร่วม จะกลายเป็นสามปัจจัยพื้นฐานสำหรับองค์กรในการออกแบบและทบทวนนโยบายการทำงานให้สอดคล้องกับความคิดเห็นของพนักงานและปรับปรุงเส้นทางการทำงานของพนักงาน ในส่วนของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) จำเป็นต้องปรับรูปแบบการทำงานเพื่อผันองค์กรให้กลายเป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยบุคลากรมากขึ้น โดยที่ประสบการณ์ของพนักงานและการจัดการประสบการณ์เฉพาะบุคคลจะเป็นสองปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กร เอสเอพีเองเมื่อเห็นเทรนด์การทำงานที่เปลี่ยนไป เราจึงได้เริ่มพัฒนาโมเดลการทำงานล่าสุดที่ชื่อว่า 'Pledge to Flex' และนำมาปรับใช้ทั่วทั้งองค์กรเพื่อปฏิวัติวิธีการทำงานของเราให้มีความยืดหยุ่น สร้างความน่าเชื่อถือให้กับพนักงานได้ และขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ พร้อมรับมือกับอนาคต

เทคโนโลยี กุญแจสำคัญขับเคลื่อนให้พนักงานมีประสบการณ์ในการทำงานที่ดีขึ้น

ในโลกการทำงานปัจจุบันพนักงานจะมีความเป็น Digital Native หรือมีความรู้ด้านดิจิทัลมากขึ้น ทำให้พวกเขาเริ่มคาดหวังให้กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ HR มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นเทคโนโลยีจะเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดในการบรรลุแนวทางการทำงานที่ยืดหยุ่นของเรา ที่ผ่านมาเราได้ใช้ซอฟต์แวร์ Qualtrics เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากพนักงานและโซลูชั่น SAP SuccessFactors เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับพนักงาน ในส่วนของเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนจากหลังบ้าน เราใช้แพลตฟอร์ม Cloud HR ที่เชื่อมต่อผสานกับการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ เช่น Robotic Process Automation (RPA),       แมชชีน เลิร์นนิ่ง, และ Cognitive Agents เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานและลดต้นทุนการดำเนินงาน ซึ่งทำให้การให้บริการด้าน HR ของเราทำได้ในเสกลที่ใหญ่ขึ้นและพัฒนาบริการที่มี Human Touch เข้าใจความต้องการของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากขึ้น เอทูล ล่าวเสริม

อุษา คงถาวรวงศ์ HR Business Partner ของ เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า เป้าหมายของเราคือการพัฒนาบุคลากรของเราให้มีความสามารถสอดรับกับการทำงานในอุตสาหกรรมนี้ เพราะเราเชื่อมั่นว่าศักยภาพของบุคลากรและอุตสาหกรรมไอทีในประเทศไทยยังพัฒนาไปได้อีกไกล เรากำลังเตรียมความพร้อมให้บุคลากรของเรามีศักยภาพเพียงพอสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นด้วยโมเดลการทำงานรูปแบบใหม่

ด้วยโมเดลการทำงานล่าสุด พนักงานของเอสเอพี จะสามารถทำงานจากระยะไกล หรือในสำนักงาน หรือทั้งสองรูปแบบผสมผสานกันและมีตารางการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น สำนักงานจะถูกดีไซน์ใหม่เพื่อช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ สร้างการทำงานเป็นทีม และดีไซน์ให้เหมาะสมกับแต่ละคอมมูนิตี้ของคนในองค์กร รวมถึงลักษณะของงานที่พนักงานต้องทำ ทำให้พนักงานมีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทุกงาน นอกจากนี้องค์กรยังให้ความสำคัญกับสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับอาคารสำนักงานทุกแห่ง

ในปีนี้ เอสเอพี ประเทศไทย ได้คว้ารางวัล สุดยอดองค์กรที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในเอเชีย” (Best Company to Work for in Asia Awards 2021) จาก HR Asia ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ด้วยความสำเร็จที่สั่งสมมายาวนานในฐานะองค์กรนายจ้างดีเด่น รางวัลนี้ได้เข้ามาตอกย้ำความแข็งแกร่งของเอสเอพี ในฐานะองค์กรที่น่าทำงานด้วย

รางวัลนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในเส้นทางขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับคนในองค์กรมาเป็นอันดับแรก เมื่อเรานำรูปแบบการทำงานใหม่ที่เรียกว่า 'Pledge to Flex' มาใช้ เราต้องการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยืดหยุ่นและครอบคลุมมากขึ้น โดยสร้างสถานที่ทำงานที่พนักงานไว้ใจได้ ทำให้พนักงานสามารถพัฒนาทักษะและทำงานได้ดีที่สุดในแบบของตนเอง รวมถึงมีสถานที่ทำงานที่รู้สึกปลอดภัยในการทำงาน อุษา กล่าวสรุป


เกี่ยวกับ เอสเอพี (SAP)    

ในฐานะบริษัทที่ช่วยพลิกโฉมองค์กรลูกค้าสู่อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เอสเอพี เป็นผู้นำตลาดซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันระดับองค์กร ที่ได้ช่วยเหลือองค์กรขนาดต่างๆในทุกอุตสาหกรรมให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดย 77% ของรายได้จากการทำธุรกรรมของโลกนั้นเกิดขึ้นบนระบบของเอสเอพี นอกจากนี้เทคโนโลยีแมชชีน เลิร์นนิ่ง อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงของเอสเอพี ช่วยเปลี่ยนธุรกิจของลูกค้าให้เป็นอินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เอสเอพีช่วยให้ผู้คนและองค์กรเข้าใจในธุรกิจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เราลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเราได้อย่างที่ต้องการและต่อเนื่อง ชุดแอปพลิเคชันและบริการครบวงจรของเอสเอพี ช่วยให้ลูกค้าธุรกิจและภาครัฐกว่า 25 อุตสาหกรรมทั่วโลก สามารถทำกำไร ปรับตัว และสร้างความแตกต่างได้ ด้วยเครือข่ายลูกค้าพาร์ทเนอร์ พนักงาน และผู้นำทางความคิดที่มีอยู่ทั่วโลก เอสเอพีช่วยให้โลกดำเนินงานได้ดีขึ้นและปรับปรุงชีวิตของผู้คน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sap.com

# # #

 หมายเหตุบรรณาธิการ:

คำแถลงการณ์ใด ๆ ที่มีอยู่ในเอกสารฉบับนี้ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เป็นแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายปฏิรูปการฟ้องร้องการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์เอกชนของปีพ. ศ. 2538 คำต่างๆ เช่น "คาดการณ์" "เชื่อ" "ประมาณการณ์" "คาดว่า", "ตั้งใจ" "อาจ" "ควร" และ "จะ" และสำนวนที่คล้ายคลึงกันที่เกี่ยวข้องกับเอสเอพี ถือเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า เอสเอพีไม่มีข้อผูกมัดในการเผยแพร่หรือแก้ไขแถลงการณ์ที่เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าใด ๆ ต่อสาธารณชน แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆที่อาจทำให้ผลลัพธ์ที่แท้จริงแตกต่างอย่างมากจากที่คาดการณ์ไว้ ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการทางการเงินในอนาคตของเอสเอพี จะถูกกล่าวถึงอย่างละเอียดยิ่งขึ้นในเอกสารที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) รวมถึงรายงานประจำปีล่าสุดของเอสเอพี ในแบบฟอร์ม 20-F ที่ยื่นต่อ SEC ผู้อ่านต้องได้รับการเตือนว่าอย่าให้เชื่อมั่นในแถลงการณ์เชิงคาดการณ์เหล่านี้เกินควร ซึ่งได้ระบุไว้ในวันที่พูดเท่านั้น

© 2020 SAP SE สงวนลิขสิทธิ์.

SAP และผลิตภัณฑ์และบริการของ SAP อื่น ๆ ที่กล่าวถึงในที่นี้รวมถึงโลโก้ที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ SAP SE ในประเทศเยอรมนีและประเทศอื่น ๆ โปรดดู https://www.sap.com/copyright  สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและประกาศต่างๆ

หมายเหตุบรรณาธิการ:

สามารถรับชมและดาวน์โหลดฟุตเทจสต็อกขนาดมาตรฐานสำหรับการออกอากาศและรูปภาพไฟล์ดิจิทัลสำหรับประกอบข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่ www.sap.com/photos โดยคุณสามารถค้นหาไฟล์ภาพและวิดีโอที่มีความละเอียดสูงตามความเหมาะสมกับช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารของคุณ หากต้องการติดตามวิดีโอนำเสนอเรื่องราวในหัวข้อต่างๆ ติดตามได้ที่ www.sap-tv.com จากเว็บไซต์นี้ คุณสามารถฝังวิดีโอลงในเว็บเพจของคุณเองรวมถึงแชร์วิดีโอผ่านลิงก์อีเมลและสมัครรับฟีด RSS จาก SAP TV

 

สำหรับลูกค้าที่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เอสเอพี:

ศูนย์ลูกค้าทั่วโลก: +49 180 534-34-24

ศูนย์ลูกค้าทั่วโลก: +49 180 534-34-24

สำหรับลูกค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา: โทร 1 (800) 872-1SAP (1-800-872-1727)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเชิงนโยบายที่ privacy policy กรณีได้รับข่าวประชาสัมพันธ์และไม่ต้องการรับข่าวสารใดๆ ทางอีเมล กรุณาติดต่อ press@sap.com และเขียนระบุหัวข้ออีเมลว่ายกเลิกการรับข่าวสาร (Unsubscribe)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad