ซิเนอร์เจีย แอนิมอล ส่งต่อ "โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต" จับมือกับสถาบันการศึกษาและบริษัทฯ เอกชนเพิ่มเมนูแพลนต์เบส - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ซิเนอร์เจีย แอนิมอล ส่งต่อ "โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต" จับมือกับสถาบันการศึกษาและบริษัทฯ เอกชนเพิ่มเมนูแพลนต์เบส

ซิเนอร์เจีย แอนิมอล ส่งต่อโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต จับมือกับสถาบันการศึกษาและบริษัทฯ เอกชน เพิ่มเมนูแพลนต์เบสในโรงอาหาร เพื่อเสิร์ฟมื้ออาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ซิเนอร์เจีย แอนิมอล ส่งต่อ "โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต" จับมือกับสถาบันการศึกษาและบริษัทฯ เอกชนเพิ่มเมนูแพลนต์เบส

โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคตเจาะตลาดประเทศไทยเป็นประเทศล่าสุด โครงการนี้ ดำเนินงานโดยซิเนอร์เจีย แอนิมอล โดยมีเป้าหมายที่จะร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ตลอด จนบริษัทและสถาบันของรัฐ เพื่อช่วยเสิร์ฟมื้ออาหารที่ดีกว่าต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเพิ่มเมนูแพลนต์เบสในร้านอาหาร และโรงอาหารของสถาบัน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนจากนักกำหนดอาหารและเชฟโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แนวคิดของโครงการ คือเสิร์ฟอาหารแพลนต์เบส 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ โครงการรับประกันว่ารสชาติอร่อยและสารอาหารตรงหลักโภชนาการแน่นอน

“สุขภาพของมนุษย์และความยั่งยืนเป็นสองปัญหาที่เราพยายามแก้ไขในประเทศไทย” กล่าวคุณจันจรี เชียรวิชัย ผู้จัดการโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต “คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแนะนำว่า การลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์และการเพิ่มการบริโภคอาหารแพลนต์เบสเป็นวิธีที่ดี เพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลง

โครงการ Alimentando el Mañana หรือโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต เริ่มต้นจากประเทศโคลอมเบียในปี 2019 และ ประสบความสำเร็จในการประสานงานกับ 11 องค์กรในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา โดยมีศักยภาพในการเสิร์ฟอาหาร แพลนต์เบสกว่า 1.1 ล้านมื้อต่อปี โคลอมเบียเป็นประเทศทดลองที่มีผลตอบรับดี และขณะนี้ซิเนอร์เจีย แอนิมอล กำลังขยายโครงการสู่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต เริ่มต้นในอินโดนีเซียและอาร์เจนตินาในปี 2021 เช่นเดียวกัน “งานวิจัยเผยว่าคนไทยกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เราหวังว่าคนไทยจะเห็นถึงการเชื่อมโยง ระหว่างอาหารที่เรากินกับรอยเท้านิเวศจากอาหาร เราเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่โครงการนี้จะประสบความ สำเร็จเป็นอย่างมาก” คุณจันจรี กล่าว

คุณจันจรีกล่าวเพิ่มว่า ความพิเศษของโครงการคือ องค์กรที่เข้าร่วมสามารถใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญด้านการปรุงอาหาร และนักกำหนดอาหารโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และโครงการให้คำมั่นว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเมนูใหม่จะเท่าเดิมหรือ ประหยัดกว่าเดิม นอกจากนี้ ซิเนอร์เจีย แอนิมอล จะเป็นผู้จัดงานอีเว้นท์และกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในหมู่ พนักงาน คุณครู นักเรียน และผู้ปกครอง

เพื่อให้แน่ใจว่า เมนูมีความเหมาะสมทางโภชนาการและถูกปากนักเรียน โครงการทำงานร่วมกับนักกำหนดอาหาร และเชฟที่ผ่านการรับรอง ผู้ให้การฝึกอบรมกับพ่อครัวของสถาบัน นอกเหนือจากนั้นโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต มีแนว ปฏิบัติที่ให้ความสำคัญกับการใช้วัตถุดิบท้องถิ่น ส่งเสริมอาหารแพลนต์เบสดั้งเดิม ตลอดจนรังสรรค์อาหารจานโปรด ของท้องถิ่นขึ้นใหม่เป็นอาหารจากพืช โดยไม่กระทบต่อรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์

ส่งเสริมวิถีการบริโภคที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพมากขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Global South)
ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่อคนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี นับตั้งแต่ปี 2015 จนถึง ปี 2019 อ้างอิงจาก หนังสือยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ปี 2020 - 2024 รายงานครอบคลุมเนื้อสดและเนื้อแปรรูป เนื้อปรุงสุก ไข่ไก่ นมวัว และ ผลิตภัณฑ์นมวัว “การปฏิบัตินี้ตรงกันข้ามกับคำแนะนำด้านการบริโภคแบบยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ” คุณจันจรีกล่าว

แม้ว่าประเทศไทยจะผลิตผักและผลไม้ในปริมาณมากและหลากหลาย แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ชายไทยบริโภคผักและผลไม้ เพียง 268 กรัมต่อวัน และผู้หญิงไทย 283 กรัมต่อวัน ในขณะที่ คำแนะนำขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลก (WHO) คือ 400 กรัมต่อคนต่อวัน การบริโภคผลไม้และธัญพืชไม่ขัดสีไม่เพียงพอและการบริโภคโซเดียมสูงเป็นสาเหตุหลักของ การเสียชีวิต ทั่วโลก โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากอาหาร รองลงมาคือ โรคมะเร็งและโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2

นอกจากจะดีกว่าต่อสุขภาพ การรับประทานอาหารที่มีผักมากขึ้นและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้อยลง ยังมีความยั่งยืนมากกว่า ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนวิถีการบริโภคของประเทศไทยเป็นอาหารจากสัตว์มากขึ้น มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในปี 2018 เผยว่าภาคเกษตรกรรมของ ประเทศไทยมีส่วนทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 61.29 ล้านตัน (CO2eq) โดยร้อยละ 23.8 เกี่ยวข้องกับการ ปศุสัตว์

ในประเทศไทย การเผาป่า เพื่อเตรียมที่ดินสำหรับการเกษตรเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีความต้องการ ทางตลาดสูงมากในไทยได้ปล่อยมลพิษสู่อากาศ​ คุณภาพอากาศในบางส่วนของภาคเหนือของประเทศไทย สูงกว่า มาตรฐานสากลถึง 40 เท่า ประเทศไทยต่อสู้กับ ปัญหามลพิษทางอากาศ มาหลายปี

“ไม่ต้องสงสัยเลยว่าระบบอาหารปัจจุบันกำลังทำร้ายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเรา นาฬิกากำลังเดินแต่เรายังพอมี โอกาสที่จะย้อนเข็มนาฬิกา หากเราเริ่มเปลี่ยนวิถีการบริโภคเดี๋ยวนี้” คุณจันจรีกล่าว “นี่คือเหตุผลที่เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ที่ได้เริ่มทำงานกับสถาบันในไทยที่มุ่งมั่นเพื่ออนาคตของเราบนโลกใบนี้”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad