หัวเว่ย มาเลเซีย จับมือ เควายซี อินดัสเทรียล และ เจเจ-แอลเอพีพี เพื่อก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานหมุนเวียน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2565

หัวเว่ย มาเลเซีย จับมือ เควายซี อินดัสเทรียล และ เจเจ-แอลเอพีพี เพื่อก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานหมุนเวียน

หัวเว่ย มาเลเซีย จับมือ เควายซี อินดัสเทรียล และ เจเจ-แอลเอพีพี เพื่อก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานหมุนเวียน

หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ (มาเลเซีย) (Huawei Technologies (Malaysia)) จับมือเป็นพันธมิตรกับ เควายซี อินดัสเทรียล ซัพพลายส์ (KVC Industrial Supplies) และ เจเจ-แอลเอพีพี (JJ-LAPP (M)) ในการประมูลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของประเทศ และเร่งการก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 ผ่านการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และการใช้เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ (PV)

ความร่วมมือครั้งนี้กับเควายซี อินดัสเทรียล ซัพพลายส์ และ เจเจ-แอลเอพีพี มาเลเซีย จะทำให้ทั้งสองบริษัทได้รับการสนับสนุนด้านการขาย การจัดจำหน่าย และการบริการสำหรับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบครบวงจรของหัวเว่ยทั่วประเทศ โดยปัจจุบันทั้งพันธมิตรทั้งสองรายรับหน้าที่การเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักของหัวเว่ย สมาร์ท พีวี อินเวอร์เตอร์ (Huawei Smart PV Inverter) ในมาเลเซีย

หัวเว่ย มาเลเซีย จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีกับทั้งสองบริษัท สร้างผลิตภัณฑ์ ตลอดจนจัดการฝึกอบรมผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีไฮโดรเจนสะอาดและเทคโนโลยีหมุนเวียนอื่น ๆ

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับเควายซี อินดัสเทรียล ซัพพลายส์ และเจเจ-แอลเอพีพี มาเลเซีย จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยจัดแยกกันสองครั้ง ซึ่งคุณชง เฉิน เป็ง (Chong Chern Peng) รองประธานฝ่ายดิจิทัล พาวเวอร์ (Digital Power) เป็นตัวแทนของหัวเว่ย มาเลเซียเข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในทั้งสองพิธี โดยในงานพิธีลงนามร่วมกับเควายซีนั้น คุณไมเคิล หยวน (Michael Yuan) ซีอีโอของหัวเว่ย มาเลเซีย เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ขณะที่ในงานพิธีลงนามร่วมกับเจเจ-แอลเอพีพี มาเลเซีย คุณมาร์ค วอน กราโบวสกี (Marc von Grabowski) ซีอีโอของพวกเขาได้ร่วมเป็นสักขีพยานเช่นกัน

คุณเอ็ดดี หว่อง ก๊ก หลอง (Eddie Wong Kok Leong) กรรมการผู้จัดการประจำประเทศของเควายซี อินดัสเทรียล ซัพพลายส์ กล่าวว่า “เควายซีมีส่วนสนับสนุนพลังงานมากกว่า 600 เมกะวัตต์ในมาเลเซียสำหรับอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ ซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมของเราในการมุ่งมั่นเพื่อดูแลผู้คนและโลกใบนี้ เรามุ่งมั่นที่จะเร่งการบ่มเพาะอีโคซิสเต็มที่ยั่งยืนผ่านการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์”

“เราภูมิใจที่ได้สร้างความร่วมมือที่ยาวนานและประสบความสำเร็จกับหัวเว่ยมาตั้งแต่ปี 2560 เราบรรลุเป้าหมายอันโดดเด่นเมื่อเราทำงานร่วมกันเพื่อมอบการลดคาร์บอนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และเราเชื่อว่า พีวี สตรักเจอร์ดี โซลูชัน (PV XtructureD Solutions®) ที่ครอบคลุมและเครือข่ายการขายที่กว้างขวางจะช่วยเสริมเทคโนโลยีล้ำสมัยของหัวเว่ย และขับเคลื่อนเราไปสู่ระดับที่สูงขึ้น” เขากล่าวเสริม

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เป็นพันธมิตรกับหัวเว่ยในมาเลเซียต่อไป และเรารอคอยที่จะร่วมงานกับพวกเขาในฐานะพันธมิตรมูลค่าเพิ่ม (Value-Added Partner) ที่ผ่านการรับรองและพันธมิตรระดับภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Partner) ความเชี่ยวชาญแบบผสมผสานของหัวเว่ยที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัลมากกว่า 30 ปี และ เจเจ-แอลเอพีพี มาเลเซีย ผู้ให้บริการเคเบิล การเชื่อมต่อ และพลังงานหมุนเวียนระดับชั้นนำที่มีเครือข่ายครอบคลุมและการเข้าถึงที่กว้างขวางในอาเซียนจะช่วยเร่งการเติบโตของโซลูชันพลังงานหมุนเวียนในมาเลเซียและภูมิภาคได้อย่างไม่ต้องสงสัย” คุณชาง ชี กอง (Mr. Chang Chee Keong) ผู้จัดการทั่วไปของเจเจ-แอลเอพีพี มาเลเซีย กล่าว

คุณชองกล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวทำให้ทุกฝ่ายสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้าของตน และปรับปรุงประสิทธิภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และบริการที่ดียิ่งขึ้นสู่ตลาด

“เราเชื่อในการพัฒนาอีโคซิสเต็มท้องถิ่นโดยการร่วมมือกับพันธมิตร ซึ่งการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนจะต้องอาศัยความพยายามร่วมกันของผู้ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรม ที่หัวเว่ย เรามุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันของเราผ่านพันธมิตรของเรา เพื่อร่วมกันสำรวจเส้นทางใหม่ของการเปลี่ยนผ่านสู่มูลค่าสีเขียวและดิจิทัลเพื่อสังคม” นายชองกล่าว

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานทั่วโลก และได้กลายเป็นตัวเลือกแหล่งพลังงานซึ่งเป็นที่ต้องการ เนื่องด้วยความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของโซลูชันไฮเทคที่ปรับปรุงการเข้าถึง ความสามารถในการปรับตัว ราคาที่แข่งขันได้ ความยั่งยืน และผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

ทั้งนี้ มาเลเซียเป็นหนึ่งในตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่เติบโตเร็วที่สุดด้วยปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2583 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ความต้องการด้านพลังงานแสงอาทิตย์จะตอบสนองความกังวลของการปล่อยมลพิษและมลภาวะของการใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก และเป็นกุญแจสำคัญในการตอบสนองความจุพลังงานเพิ่มเติมซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตของเชื้อเพลิงในตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคต่อไป

รูปภาพ
1. https://mma.prnewswire.com/media/1753579/image_1.jpg
2. https://mma.prnewswire.com/media/1753580/image_2.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad