วิศวฯ จุฬาฯ กับ HItachi Energy ลงนาม MOU สนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565

วิศวฯ จุฬาฯ กับ HItachi Energy ลงนาม MOU สนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน

วิศวฯ จุฬาฯ กับ HITACHI ENERGY ลงนาม MOU สนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน

วันที่ 21 มีนาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.วรวุฒิ วรุตตมพรสุ Country Managing Director บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนาม “ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี ” 

ณ ห้องประชุมสวนรวมใจ 2 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย เตชัสอนันต์ รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ด้านความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและศิษย์เก่า รองศาสตราจารย์ ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ด้านวิจัยและการสร้างผลกระทบต่อสังคม และ ดร.ประดิษฐพงษ์ สุขสิริถาวรกุล Director & Vice President บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมในพิธี

ซึ่งการลงนามในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ในการที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา   การวิจัยพัฒนา และการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี ให้กับนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ในประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับพลังงานในปัจจุบันและอนาคต  อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางพลังงาน (Energy Transition) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ไมโครกริด (Microgrid)  ระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ (BESS) การขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (e-Mobility) ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen)   และอนาคตทางพลังงานที่ยั่งยืน (Sustainable Energy Future)  ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสและยกระดับมาตรฐานการศึกษา พัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถด้านพลังงานของประเทศ ให้สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรผู้มีความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับประเทศได้ในระยะยาว

พร้อมกันนี้ทางภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ส่งนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สนใจเข้าฝึกงานที่บริษัทประจำปี 2565 เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 280 ชั่วโมง เข้าร่วมในโครงการ Supporting Apprentice Students Program  กับทางบริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด อีกด้วย ซึ่งทางบริษัทพร้อมเปิดโอกาสให้นิสิตทุกคน ร่วมแสดงความคิดเห็นและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยแนวทางการประสานความหลากหลาย ผสานการทำงานร่วมกัน เพื่อนำมาซึ่งนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยม โดยตลอดการฝึกงานนิสิตทุกคนจะมีผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้คำแนะนำในแต่ละขอบเขตงานที่เลือก เพื่อให้ได้รับความรู้ทักษะอย่างสูงสุดจากผู้เชี่ยวชาญ และเพิ่มประสิทธิผลระหว่างการฝึกงานอย่างเต็มที่ ก่อนสิ้นสุดโครงการทางบริษัทมีระบบประเมินผล รวมถึงระบบการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม เพื่อวัดทัศนคติ ความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฝึกงานของโครงการ บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด มีกลุ่มเทคโนโลยีให้นิสิตได้เลือกฝึกงานตามความสนใจ 14 กลุ่ม ประกอบด้วย

  1. Grid Edge Solutions with e-mesh™
  2. Grid-eMotion™ Charging solutions for E-mobility
  3. Hydrogen Energy
  4. Power Quality
  5. Digitalization & Cybersecurity
  6. Asset & Work Management with Lumada
  7. Energy Planning & Trading
  8. EconiQ™ eco-efficient portfolio for sustainability
  9. FACTS (Flexible Alternating Current Transmission Systems) technologies
  10. HVDC (high-voltage direct current)
  11. Smart Grid & Digital Substations & Electrification
  12. Power Transformers with TXpert™ Ecosystem
  13. Substation Automation, Protection & Control and SCADA
  14. High Voltage Switchgear & Breakers, Instrument Transformer, Surge   Arrester, Capacitor & Filters and Generator Circuit Breakers

สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีในครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยและทางบริษัท จะได้มีโอกาสร่วมกันกำหนดรูปแบบ  ลักษณะของการให้การสนับสนุนทางการศึกษา การทำโครงงาน และการฝึกงานให้แก่นิสิตนักศึกษา เช่น การฝึกงานในโครงการ Supporting Apprentice Students Program การอบรมสัมมนา การวิจัย การสนับสนุนอุปกรณ์ Hardware และสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนของโครงงานของนักศึกษาทั้งในระดับระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย สำหรับบันทึกข้อตกลงนี้มีระยะเวลา 2 ปี  นับตั้งแต่วันที่ลงนามในข้อตกลง ซึ่งทั้งสองฝ่ายอาจตกลงกันขยายระยะเวลาความร่วมมือออกไปได้ตามความเห็นชอบร่วมกันในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad