Alstom จับมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกระดับวงการรถไฟไทยและร่วมผลิตวิศวกรที่มีทักษะเป็นเลิศออกสู่สังคม - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

Alstom จับมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกระดับวงการรถไฟไทยและร่วมผลิตวิศวกรที่มีทักษะเป็นเลิศออกสู่สังคม



Alstom จับมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกระดับวงการรถไฟไทยและร่วมผลิตวิศวกรที่มีทักษะเป็นเลิศออกสู่สังคม

Alstom ผู้นำระดับโลกด้านการสัญจรระบบรางอัจฉริยะที่มีความยั่งยืน และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Engineering) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวงการรถไฟไทยและความร่วมมือในอีกห้าปีข้างหน้า

Alstom และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งมั่นเสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ ตลอดจนโครงการด้านการศึกษาและการฝึกอบรมในสาขาวิศวกรรมระบบรางที่มีความเฉพาะทางเป็นพิเศษ และด้วยประเทศไทยกำลังพัฒนาเมืองให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยมีการสร้างโครงการขนส่งสาธารณะหลากหลายโครงการทั้งในและนอกเขตกรุงเทพฯ ดังนั้นประเทศจึงต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการรถไฟท้องถิ่นจำนวนมาก

Alstom ไม่ใช่คนอื่นคนไกล เพราะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีศิษย์เก่าจากรั้วจามจุรีกว่า 20 คนจากหลายสาขาวิชาได้มาร่วมงานกับ Alstom Group แห่งประเทศไทยที่มีศูนย์ปฏิบัติการอยู่ที่กรุงเทพฯ ซึ่งไม่เพียงช่วยขับเคลื่อนโครงการด้านการสัญจรระบบรางท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอีกหลายโครงการในต่างประเทศอีกด้วย ทุกวันนี้ศูนย์ปฏิบัติการในกรุงเทพฯ ได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นศูนย์กลางด้านวิศวกรรมระดับหนึ่งในสามศูนย์ของโลกที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ปี 2538  และมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 450 คน โดยเป็นวิศวกรไทยถึงร้อยละ 85 ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา จะช่วยสานประโยชน์ให้แก่วงการรถไฟ และเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ นิสิตจะได้ร่วมฝึกงานและเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ตลอดจนกิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นการเตรียมบุคลากรให้พร้อมสำหรับอนาคตของการคมนาคมขนส่งไทย


ดร.แคทริน ลูเกอร์ กรรมการผู้จัดการ Alstom แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะที่บริษัทเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในด้านระบบรถไฟในเมืองและรถไฟสายหลักในประเทศไทย รวมถึงบริษัทก็ได้เปิดทำการมายาวนานกว่า 40 ปี เราจึงมีความรู้และประสบการณ์ด้านการสัญจรระบบรางที่ดีที่สุด  เรารู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นสถาบันวิศวกรรมที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรถไฟ เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันวิทยาการกับคณะวิศวกรรม จุฬาฯ รวมถึงเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรม เราพร้อมที่จะพัฒนาและดูแลบุคลากรที่มีความสามารถในประเทศให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคระบบรางอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งความสามารถในสายงานอื่น ๆ เพื่อพลิกโฉมหน้าการคมนาคมทั้งในและนอกประเทศไทย”

ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความต้องการบุคลากรมืออาชีพเพิ่มขึ้นหลังจากเริ่มมีการพัฒนาระบบขนส่งในหลายพื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งทำให้นิสิตนักศึกษาหันมาสนใจวิศวกรรมการรถไฟมากขึ้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา เป็นต้น ซึ่งช่วยวางรากฐานด้านแนวคิดและทฤษฎีให้นิสิตได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้     เมื่อนิสิตได้มีโอกาสฝึกงานกับผู้นำระดับแนวหน้าอย่างบริษัท Alstom และเรียนรู้การประยุกต์ใช้งานจริงในอุตสาหกรรมนี้ พวกเขาจะได้เรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะของตนให้ดียิ่งขึ้น”

บันทึกความเข้าใจ (MoU) ฉบับนี้ได้ลงนามในงาน Asia Pacific Rail 2022 ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังเป็นนิทรรศการระดับภูมิภาคที่จัดขึ้นในสถานที่จริงครั้งแรกของ Alstom ในรอบกว่าสองปีด้วย Alstom ต้องการส่งเสริมบุคลากรด้านวิศวกรรมให้มีความพร้อมในภาคอุตสาหกรรมการสัญจรระบบราง อีกทั้งยังมองเห็นสัญญาณบวกในตลาดประเทศไทย บริษัทจึงกำลังจะเปิดรับสมัครบุคลากรที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 ภายในสิ้นปี 2565 โดยมุ่งเฟ้นหาบุคลากรในหลายตำแหน่งทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ภาคการผลิตไปจนถึงกระบวนการ การสนับสนุนการผลิตและฟังก์ชัน ทั้งนี้การสรรหาบุคลากรที่ได้ประกาศรับสมัครไปในนิทรรศการนั้นจะเป็นการผสมผสานระหว่างวิศวกร ช่างเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล


เกี่ยวกับ Alstom

Alstom เป็นผู้นำสังคมสู่อนาคตคาร์บอนต่ำ อีกทั้งยังพัฒนาและทำการตลาดโซลูชั่นระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นรากฐานที่ยั่งยืนของการคมนาคมขนส่งในอนาคต Alstom มีกลุ่มผลิตภัณฑ์หลากหลายมากที่สุดในอุตสาหกรรม ตั้งแต่รถไฟความเร็วสูง รถไฟใต้ดิน โมโนเรล และรถราง ไปจนถึงระบบจ้างเหมาแบบระบบครบวงจร (Turnkey systems) การให้บริการ โครงสร้างพื้นฐาน ระบบอาณัติสัญญาน และโซลูชั่นการสัญจรระบบรางดิจิทัล พร้อมด้วยพาหนะที่ให้บริการเชิงพาณิชย์กว่า 150,000 คันทั่วโลกได้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเชี่ยวชาญของบริษัทในด้านการบริหารจัดการโครงการ นวัตกรรม การออกแบบ และเทคโนโลยี โดยในปี 2564 บริษัทได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์โลกและยุโรปเป็นครั้งที่ 11 ติดต่อกัน Alstom มีสำนักงานใหญ่ในฝรั่งเศส ปัจจุบันมีสำนักงานอยู่ใน 70 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 74,000 คน กลุ่มบริษัทมีรายได้ 15.5 พันล้านยูโรในปีงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 เยี่ยมชม www.alstom.com เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

 

Alstom ในประเทศไทย

Alstom Group แห่งประเทศไทย บริษัทเทคโนโลยีด้านการรถไฟชั้นนำ มีพนักงานทักษะสูงมากกว่า 750 คน และส่งมอบโครงการด้านการคมนาคมขนส่งหลากหลายประเภททั่วทั้งในและนอกเหนือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยกรุงเทพฯ ยังเป็นศูนย์กลางด้านวิศวกรรมระดับโลกหนึ่งในสามศูนย์ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งให้บริการด้านวิศวกรรมระบบรางในเมืองและระบบรางสายหลักทั้งตลาดในประเทศและระดับโลก Alstom ยังเป็นผู้บุกเบิกซึ่งนำนวัตกรรมโซลูชั่นการสัญจรระบบรางมาสู่ประเทศไทย กลุ่มผลิตภัณฑ์ของ Alstom ประกอบไปด้วยระบบโมโนเรลไร้คนขับและรถขนผู้คนอัตโนมัติ (APM: Automated People Movers) ระบบแรกของกรุงเทพฯ รวมถึงระบบอาณัติสัญญาณขั้นสูงสำหรับเส้นทางขนส่งมวลชนในเมือง 6 สาย และส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสายหลัก นอกจากนี้ ทีมงานยังมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในธุรกิจจ้างเหมาแบบครบวงจร (Turnkey business) ซึ่งมีส่วนช่วยขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ในโลกอีกด้วย

 

 

เกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ Chula Engineering ก่อตั้งขึ้นโดยพระราชประสงค์ของล้นเกล้ารัชกาลที่หก เพื่อเป็นเกียรติแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2456 โดยถือเป็นสถาบันวิศวกรรมแห่งแรกในราชอาณาจักรไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เปิดหลักสูตรนานาชาติเพื่อให้ความรู้แบบสหวิทยาการในรูปแบบที่เป็นสากล ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาในสาขาต่างๆ มากกว่า 15 สาขา ตั้งแต่หลักสูตรดั้งเดิมไปจนถึงหลักสูตรที่ล้ำสมัย มีนิสิตประมาณ 6,000 คนต่อปีรวมทุกระดับการศึกษา และมีอาจารย์และบุคลากรเกือบ 600 คน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad