เตรียมวางแผนให้คุณได้… กับความท้าทายของ IVF/ICSI ตอบทุกโจทย์ผู้มีบุตรยาก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เตรียมวางแผนให้คุณได้… กับความท้าทายของ IVF/ICSI ตอบทุกโจทย์ผู้มีบุตรยาก

                    เตรียมวางแผนให้คุณได้… 

กับความท้าทายของ IVF/ICSI ตอบทุกโจทย์ผู้มี                                     บุตรยาก  

 การแต่งงานคือการหาใครสักคนมาเติมเต็มชีวิตคู่ และหากจะให้ชีวิตครอบครัวสมบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้น คือ การมีบุตร แต่น่าเสียดายที่หลายครอบครัวต้องประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก เป็นที่น่ายินดีที่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ที่สามารถช่วยแก้ปัญหา ภาวะมีบุตรยากให้หลายครอบครัว ได้แก่ IVF หรือ ICSI

นพ.พูลศักดิ์ ไวความดี ผู้อำนวยการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและส่งเสริมสุขภาพสตรี (Fertility and Women Wellness Clinic) แพทย์ผู้ชำนาญการด้านการเจริญพันธุ์  BDMS Wellness Clinic กล่าวว่า อายุเป็นปัจจัยสำคัญของภาวะมีบุตรยาก เพราะวัยเจริญพันธุ์ที่ไข่ของผู้หญิงมีคุณภาพดีที่สุดอยู่ในช่วงระหว่างอายุ 20-35 ปี แต่ส่วนใหญ่คู่สมรสที่มาปรึกษาและพร้อมมีครอบครัวมักจะเลยวัยเจริญพันธุ์ไปแล้ว ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้น โอกาสในการมีบุตรก็ลดลงตามไปด้วย และอาจเกิดภาวะการมีบุตรยาก (Infertility)


ในคู่สมรสที่พยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ เกินกว่า 1 ปี หรือฝ่ายหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุโดยเริ่มจากการสืบประวัติ ได้แก่ ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ปวดประจำเดือน โรคประจำตัว การใช้ยาฮอร์โมนต่าง ๆ รวมทั้ง lifestyle ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพกายใจและการเจริญพันธุ์ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความเครียด และปัจจัยเสี่ยงต่อการมีบุตรอื่น ๆ

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยแก้ปัญหาสำหรับภาวะมีบุตรยากในคู่สมรส ได้แก่

1.การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF – In Vitro Fertilization) เป็นการนำเซลล์ไข่และตัวอสุจิออกมาผสมกันภายนอก เพื่อช่วยให้เกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน พัฒนาไปถึงระยะที่สมบูรณ์พร้อมฝังตัว แล้วนำตัวอ่อนย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อฝังตัวและเจริญเติบโตจนตั้งครรภ์ต่อไป ส่วนใหญ่วิธีนี้จะเหมาะกับคนที่มีลูกยากที่มีปัญหาจากฝ่ายหญิง เช่น มีปัญหาท่อนำไข่อุดตัน มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น

2.การทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นนวัตกรรมเพิ่มเติมจาก IVF ที่ช่วยในการปฏิสนธิ โดยใช้วิธีฉีดตัวอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง มักใช้ในคู่สมรสที่สามีมีอสุจิผิดปกติหรืออสุจิไม่แข็งแรง หรือเคยทำหมัน หรือในคู่สมรสที่เคยประสบปัญหาความล้มเหลวจากการปฏิสนธิของไข่และตัวอสุจิในการทำเด็กหลอดแก้วมาก่อน ปัจจุบัน ICSI เป็นวิธีที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด วิธีนี้มีขั้นตอนคล้ายการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) แตกต่างกันที่การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) นั้นอสุจิหลายตัวถูกนำไปผสมกับเซลล์ไข่ในจานเพาะเลี้ยง รอจนอสุจิว่ายเข้าไปเจาะผสมกับเซลล์ไข่เองตามธรรมชาติ แต่ ICSI จะคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงตัวเดียว และใช้เข็มแก้วที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็ก ๆ เจาะเปลือกไข่ และ ฉีดตัวเชื้อเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง ทั้งนี้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าด้าน DNA ทำให้ทั้งการทำ IVF หรือ ICSI ทำให้เราสามารถตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อนแต่ละตัว และทราบได้ว่าตัวอ่อนตัวไหนมีความแข็งแรงสมบูรณ์พร้อม จึงจะย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกฝ่ายหญิง เป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ลดโอกาสแท้งบุตร และเพิ่มความมั่นใจว่าทารกที่จะเกิดมานั้นมีพันธุกรรมปกติ เหมาะสำหรับคู่สมรสใน 5 กลุ่มเสี่ยง กล่าวคือ




คู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปีเคยรักษาโดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มาแล้วแต่ไม่สำเร็จคู่สมรสที่มีประวัติโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมในครอบครัว เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) หรือเคยคลอดบุตรที่ทารกมีความผิดปกติทางพันธุกรรมฝ่ายหญิงมีประวัติแท้งหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุฝ่ายชายมีคุณภาพของอสุจิที่ผิดปกติ

นอกจากไข่แล้ว อสุจิก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องได้รับการคัดสรรเช่นกัน เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์และได้ทารกที่ปกติสมบูรณ์

จากประสบการณ์การรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มานานกว่า 30 ปี คุณภาพของไข่ในผู้หญิงเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด เพราะคุณภาพไข่จะลดลงตามอายุที่มากขึ้นอย่างชัดเจน โดยปัญหาของการมีบุตรยาก ร้อยละ 50 เกิดจากฝ่ายหญิง ร้อยละ 30 เกิดจากฝ่ายชาย และอีกร้อยละ 20 เกิดจากทั้งสองฝ่าย

ทั้งนี้ ในส่วนปัญหาของฝ่ายชายมักเกิดจากการใช้ชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่

มีภาวะเครียด ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลต่อสุขภาพทางเพศไม่ค่อยสมบูรณ์ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือได้รับสารเคมี เช่น สารตะกั่ว สารโลหะหนัก หรือ เล่นกีฬาแล้วเกิดอุบัติเหตุที่อัณฑะทำให้เกิดแผลเป็นและพังผืด

การเตรียมตัวมีบุตรมีความจำเป็นต้องทราบว่าสุขภาพของคู่สมรสแต่ละคู่นั้น มีปัญหาอะไรที่จะส่งผลต่อรังไข่และลูกอัณฑะหรือไม่อย่างไร ซึ่งที่ Fertility and Women Wellness Clinic มีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถตรวจวิเคราะห์ร่างกายเชิงลึกถึงรหัสพันธุกรรม

“Fertility and Women Wellness Clinic ยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น เครื่อง Hamilton Thorne IVOS II  Computer Assisted Semen Analysis (CASA) ที่รับรองโดย WHO หรือ World Health Organization ใช้ตรวจวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของอสุจิ รูปร่างความผิดปกติต่าง ๆ รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์ถึงการแตกหักของดีเอนเอในหัวอสุจิ (DNA Fragmentation) หรือในขั้นตอนของการคัดเลือกอสุจิสำหรับทำ IVF/ICSI/IUI เราใช้เทคนิคที่เรียกว่า MACs Sperm (Magnetic activated cell sorting Sperm) ในการคัดเลือกอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุด ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิ และได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพมากขึ้น สามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุภาวะการมีบุตรยากแต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อทราบแนวทางการเตรียมตัว การรักษาที่เหมาะสมและได้ผลสำเร็จสูง ที่ Fertility and Women Wellness Clinic มีความแตกต่างจากที่อื่น คือ เราเน้นการดูแลสุขภาพในแบบเฉพาะเจาะจงตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เพื่อการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ เช่น การตรวจสุขภาพแบบองค์รวมของทั้งสามีและภรรยา การตรวจเลือดเพื่อหาระดับวิตามินหรือระดับฮอร์โมน ปรับเปลี่ยนเรื่องการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต การบริหารความเครียด การพักผ่อนที่เหมาะสม และปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการมีบุตร

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ Fertility and Women Wellness Clinic หนึ่งในคลินิกเฉพาะทางที่ BDMS Wellness Clinic ได้รับรางวัล Fertility Medical Centre of the Year in the Asia-Pacific 2021 จาก Global Health and Travel Magazine นิตยสารชั้นนำด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสุขภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

BDMS Wellness Clinic มุ่งมั่นพัฒนาและวิจัยเรื่องสุขภาพ เพื่อมอบเป็นของขวัญสุขภาพแก่คนไทยทุกคน เพราะสุขภาพที่ดี คือของขวัญที่ดีที่สุด Live longer, Healthier and Happier

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ ไลน์: @womenandfertility or https://lin.ee/zG8BJFT หรือ โทร. 028269971 อีเมล์ info@bdmswellness.com และ เว็บไซต์ www.bdmswellness.com , https://www.bwcfertilityclinic.com/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad