ตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว ในปี 2564 แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยกดดันตลาดในปีนี้ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว ในปี 2564 แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยกดดันตลาดในปีนี้

อสังหาอุตสาหกรรม 2564

ตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว

ในปี 2564 แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยกดดันตลาดในปีนี้


มร. มาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า“จากสถานการณ์การระบาดของไวรัส-19 เริ่มค่อยๆ ดีขึ้น ทำให้เริ่มผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการเดินทางต่างๆ ส่งผลให้ความต้องการพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้น โดยเราคาดว่าการลงทุนจากต่างชาติจะเติบโตสูงขึ้นเนื่องจากหลายๆบริษัทมองหาความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานมากขึ้นด้วยการกระจายความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง”

ภาพรวมเศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาส 4 ปี 2564 ขยายตัว 1.9% โดยฟื้นตัวขึ้นจากที่ปรับลดลงไป 0.2% ในไตรมาสก่อนหน้า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.6% โดยฟื้นตัวจากที่หดลง 6.2% ในปี 2563

ณ ไตรมาสที่ 4 การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 17.7% ปรับตัวดีขึ้นจาก 12.3% ในไตรมาสที่ 3 การส่งออกข้าวและสินค้าอุตสาหกรรม โดยรวมไปถึงรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ และชิ้นส่วนยานยนต์ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปีที่ผ่านมา ในขณะที่การนำเข้าสินค้าและบริการก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยขยายเพิ่มขึ้น 16.6% ซึ่งได้แรงหนุนจากผลการเติบโตในหมวดสินค้าหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดจนวัตถุดิบต่างๆ โดยตลอดทั้งปีการส่งออกสินค้าขยายตัวอยู่ที่ 10.4% ในขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัว 17.9% การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของเอกชนเพิ่มขึ้น 0.3% ซึ่งเป็นไปตามแผนกระตุ้นการบริโภคและการผ่อนคลายมาตราการควบคุมโรคระบาดโควิด-19 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 8.1% ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการเติบโตเดิมที่ 1.5% ในไตรมาสที่ 3 ตามการซื้อสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณที่ปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนรวมปรับตัวลง 0.2% แม้ว่าการลงทุนของภาครัฐขยายตัว 1.7% แต่การลงทุนของภาคเอกชนกลับลดลงไป 0.9% เนื่องจากการลงทุนประเภทเครื่องจักรเครื่องมือปรับลดลง

ภาคการผลิตของไทยแสดงสัญญาณการฟื้นตัวในปี 2564 แม้ว่าจะมีความผันผวนจากสถานการณ์โควิด-19 อยู่บ้างก็ตาม แต่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ 103 จุด ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมในปี 2562 อุตสาหกรรมหลักต่างๆ ที่ขยายตัวในปีนี้ โดยรวมไปถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ มีความต้องการจากคู่ค้าเพิ่มมากขึ้นตามการผ่อนคลายของมาตรการล็อกดาวน์ในระดับสากล อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ก็เติบโตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นในการรองรับการประมวลผลแบบคลาวด์และศูนย์ข้อมูล ตลอดจนการทำงานและการศึกษาทางไกล ในขณะเดียวกันปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ได้รับอนุมัติโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ฟื้นตัวขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 42% ปีต่อปี เป็น 512 พันล้านบาท จากที่เคยลดลงติดต่อกันมากว่า 5 ปี ภาคอุตสาหกรรมที่นำหน้าในเชิงมูลค่าการลงทุนรวมที่ผ่านการอนุมัติแล้ว ได้แก่ การบริการและสาธารณูปโภค (35%) ตามมาด้วยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (16%)

อุตสาหกรรมโรงงานในประเทศไทยยังค่อนข้างซบเซา ด้วยการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทั้งการขยายตัวและการหดตัว โรงงานเปิดใหม่ที่ดำเนินงานในปัจจุบันมีจำนวนรวมอยู่ที่ 2,612 แห่ง ซึ่งเกือบจะเท่ากับจำนวนเดิมในปีก่อนหน้า ในทางกลับกัน โรงงานที่หยุดดำเนินงานมีจำนวนลดลงเล็กน้อย โดยลดลงมา 6% อยู่ที่ 697 แห่ง ในขณะที่โรงงานที่มีอยู่เดิมและขยายการดำเนินงานก็มีจำนวนลดลงเช่นกัน จากเดิมที่ 690 แห่ง เหลืออยู่เพียง 255 แห่ง

พื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรม

 อุปทาน

ในปี 2564 จำนวนพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อขายหรือให้เช่า ซึ่งเป็นที่ดินพร้อมขายหรือให้เช่าในนิคมอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นเพียง 0.5% หรือ 857 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 170,322 ไร่ แม้ว่าจะมีการประกาศโครงการอุตสาหกรรมหลายแห่งตลอดปี แต่ในความเป็นจริงนั้นมีเพียง พื้นที่อุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์น 3 และโรจนะชลบุรี 2 เท่านั้นที่พร้อมขาย

การกระจายอุปทาน

พื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมในประเทศไทยยังคงกระจุกอยู่ในเขตอีสเทิร์นซีบอร์ด ด้วยส่วนแบ่งตลาด 62% มีอุปทานเพิ่มขึ้น 1% ปีต่อปี อยู่ที่ 105,694 ไร่ ในขณะเดียวกันไม่มีการบันทึกการเติบโตของอุปทานในตลาดอื่นๆ เขตอีสเทิร์นซีบอร์ดเป็นศูนย์กลางการผลิตแบบดั้งเดิม ไปจนถึงอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ตลอดจนผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ซึ่งได้รับประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมทั้งสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการโดยรวม นอกจากนี้การกำหนดพื้นที่เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อช่วยเปลี่ยนประเทศไทยให้กลายเป็นโรงไฟฟ้าสำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้ได้รับความสนใจทางการลงทุนเป็นจำนวนมากจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

จังหวัดในภาคกลางทั้งจังหวัดอยุธยา ปทุมธานี และสระบุรี ครองส่วนแบ่งตลาดใหญ่เป็นอันดับสองที่ 15% หรือ 26,200 ไร่ พื้นที่ในเขตนี้เป็นคลัสเตอร์หลักสำหรับโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีส่วนทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์และอะไหล่ชั้นนำของโลก และเป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกอีกด้วย เมื่อปี 2554 ภาคกลางจำต้องประสบกับเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ แต่สามารถฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ และยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มนักลงทุนแม้ว่าการเติบโตของอุปทานมีค่อนข้างจำกัด แม้จะมีกิจกรรมด้านที่ดินอุตสาหกรรมกระจุกตัวเป็นอย่างมากใน 2 ภูมิภาคหลักนี้ แต่รัฐบาลยังคงตั้งเป้าที่จะขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจไปทั่วประเทศผ่านการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) โดยรวมไปถึงจังหวัดในเขตชายแดน เช่น ตาก ตราด มุกดาหาร และหนองคาย ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นในแผนการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม โดยนิคมฯ ตากและนิคมฯ หนองคายคาดว่าจะมีการเพิ่มพื้นที่อุตสาหกรรม 837 ไร่ และ 2,961 ไร่ ตามลำดับในปี 2565

อุปสงค์

ความต้องการพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมฟื้นตัวขึ้นในปี 2564 โดยคิดเป็นพื้นที่ขายหรือให้เช่ารวม 2,253 ไร่ เพิ่มขึ้นมา 37% จากปีก่อนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของพื้นที่อุตสาหกรรมในช่วง 5 ปี ที่ 2,223 ไร่ต่อปี ตามที่คาดการณ์ไว้ มีการซื้อขายในเขตอีสเทิร์นซีบอร์ดเป็นจำนวนมาก โดยมีพื้นที่ขายออกหรือให้เช่ารวมจำนวน 1,656 ไร่ คิดเป็น 74% ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนภาคกลางก็มีธุรกรรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งมากถึง 324 ไร่ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากเดิมเอง 13 ไร่ในปี 2563 และนับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2559 หากไม่รวมตลาดหลักอีก 2 แห่งนี้ ที่ซึ่งพบว่ามีพื้นที่ขายหรือให้เช่ารวมจำนวน 156 ไร่

อัตราการครอบครองในตลาดปรับเพิ่มขึ้น 1% อยู่ที่ 80% เนื่องจากปริมาณการทำธุรกรรมเกินกว่าปริมาณอุปทานใหม่ โดยเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เขตอีสเทิร์นซีบอร์ด ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามลำดับอัตราการครอบครองพื้นที่ในแต่ละภาค อัตราการครอบครองในภูมิภาคอื่นๆ ยังเติบโตคงที่ ในขณะที่ภาคกลางยังคงเป็นพื้นที่มีอัตราการครอบครองสูงที่สุด เพิ่มขึ้นมากถึง 90% ณ ปัจจุบัน

ราคาเสนอขาย

ด้วยการฟื้นตัวด้านธุรกรรมการซื้อขาย ราคาเสนอขายเฉลี่ยของพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เพิ่มขึ้นถึง 5.7 ล้านบาทต่อไร่ โดยเพิ่มขึ้น 7% ในทางเปรียบเทียบกัน ในช่วง 5 ปี มีการเพิ่มขึ้นทางราคาที่ประมาณ 4% โดยเฉลี่ยแล้ว มีราคาเพิ่มขึ้น 240,000 บาท แม้ว่าในบางพื้นที่สามารถตั้งราคาสูงถึง 400,000 บาทขึ้นไปก็ตาม เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และเขตอีสเทิร์นซีบอร์ดยังคงเป็นพื้นที่ที่มีราคาแพงที่สุด โดยเพิ่มขึ้นถึง 9.5 ล้านบาท และ 6.4 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนต่างทางราคาขายในเขตอีสเทิร์นซีบอร์ดกว้างที่สุด โดยมีราคาเริ่มตั้งแต่ 2.8 ล้านบาท สูงสุดอยู่ที่ 12.5 ล้านบาท ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมในตลาดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

แนวโน้ม

ตลาดอสังหาฯ เพื่อการอุตสาหกรรมของไทยเริ่มมีการฟื้นตัวมาตั้งแต่ในปี 2564 เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกปรับตัวดีขึ้นเพื่อรองรับการหยุดชะงักที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทั่วโลก ด้วยเหตุนี้เราเห็นการฟื้นตัวของเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญหลายประการ เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยปริมาณการซื้อขายพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นด้วยราคาที่ทยานขึ้นอย่างต่อเนื่องสูงสุดเป็นประวัติการณ์

โอกาสทางการเติบโตที่มากมายสำหรับตลาดอสังหาฯเพื่อการอุตสาหกรรมในระยะกลาง – ยาวยังคงมีอยู่เรื่อยๆ บริษัทต่างชาติหลายแห่งยังคงดำเนินการย้ายฐานการผลิตของตนออกจากประเทศจีน เพื่อลดความเสี่ยงและกระจายห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ที่ตั้งศูนย์กลางในภูมิภาค และสิ่งจูงใจที่นำเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะส่งผลให้ประเทศไทยมีความน่าสนใจมากขึ้นในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ยังคงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและจะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักการลงทุนในอนาคต โดยสามารถแซงหน้าภูมิภาคอื่นๆ ทั้งหมดได้ ด้วยโครงการที่ขอรับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในปี 2564 กว่า 453 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 220 พันล้าน

ตามการคาดการณ์ การส่งเสริมประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศสำหรับสินค้าและบริการทางการแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่จัดลำดับความสำคัญของอุตสาหกรรมทางการแพทย์แสดงผลลัพธ์ที่ดี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติการลงทุนในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ โดยเพิ่มขึ้นจาก 13 พันล้านบาท ในปี 2562 และ 16 พันล้านบาทในปี 2563 เป็น 6 หมื่นล้านบาทในปีนี้ ในขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลกได้ก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโครงสร้างพื้นฐานในภาคอุตสาหกรรมนี้ การลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัลในประเทศไทยมีสิทธิ์ได้รับสิ่งจูงใจมากมายด้วยแผนการส่งเสริมการขายใหม่ที่เปิดตัวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนึ่งด้านที่มีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน คือ ตลาดศูนย์ข้อมูล โดยมีบริษัทระดับนานาชาติชั้นนำมากมายร่วมมือกับนักพัฒนาท้องถิ่น ในการค้นหาพื้นที่เพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลของตน จากการประมาณการ ตลาดศูนย์ข้อมูลของประเทศไทยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปี 26.5% โดยระหว่างปี 2562 ถึง 2569 จะแตะระดับที่ 30 พันล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีภัยคุกคามต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ เพื่อการอุตสาหกรรมในประเทศไทยอยู่เป็นจำนวนหนึ่ง การรุกรานยูเครนของรัสเซียได้เพิ่มความตึงเครียดให้กับสภาวะเศรษฐกิจโลกภายหลังการคว่ำบาตรของรัสเซีย แม้ว่าการค้าของไทยกับรัสเซียจะเกี่ยวข้องกันไม่มากนัก โดยมีมูลค่าเพียง 30 พันล้านบาทในปี 2564 ก็ตาม แต่ผลกระทบจากความขัดแย้งดังกล่าวก่อให้เกิดความเสี่ยงหลายประการต่อเศรษฐกิจไทยและภาคการผลิต ส่วนภาคอุตสาหกรรมส่งผลกระทบต่อด้านต้นทุนการขนส่งและสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้นตาม ปัญหาบางประการ เช่น การขาดแคลนไมโครชิปในอุตสาหกรรมยานยนต์จะต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน หากการชะลอตัวทางการส่งออกสินค้าได้รับการบรรเทาลง ในขณะเดียวกันราคาสินค้าบริโภคที่เพิ่มขึ้นของบางผลิตภัณฑ์ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและนมข้นหวาน อาจทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง หากไม่สามารถควบคุมได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad