ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย จับมือพันธมิตร สานต่อโครงการ “มิซุอิกุ: สอนน้องรักษ์น้ำ” ปีที่ 4 จุดประกายเยาวชนไทย ใส่ใจทรัพยากรน้ำ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย จับมือพันธมิตร สานต่อโครงการ “มิซุอิกุ: สอนน้องรักษ์น้ำ” ปีที่ 4 จุดประกายเยาวชนไทย ใส่ใจทรัพยากรน้ำ

ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย จับมือพันธมิตร สานต่อโครงการ “มิซุอิกุ: สอนน้องรักษ์น้ำ” ปีที่ 4

จุดประกายเยาวชนไทย ใส่ใจทรัพยากรน้ำ

 

กรุงเทพฯ – บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์สินค้าของซันโทรี่และเป๊ปซี่โคในประเทศไทย จับมือพันธมิตร “กล่องวิเศษ” กลุ่มกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับที่ปรึกษากิตติมศักดิ์จากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำ กรมควบคุมมลพิษ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่เป้าหมาย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เดินหน้าสานต่อโครงการ “มิซุอิกุสอนน้องรักษ์น้ำ” สู่ปีที่ จุดประกายเยาวชนไทยให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและรู้จักใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ เน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชนตลอดปี 2565 นี้

นางสาวเพียงจิต ศรีประสาธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลและบรรษัทสัมพันธ์
บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด
 กล่าวว่า “บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘การเติบโตอย่างยั่งยืน’ (Growing for Good) โดยเฉพาะการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เพราะ น้ำ สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของเราทุกคน และถือเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจของเรา บริษัทฯ จึงนำ     พันธสัญญาของซันโทรี่ กรุ๊ป ที่ว่า ‘มิซุ โตะ อิคิรุ’ หรือ ‘การอยู่ร่วมกับน้ำ’ มาปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม ผ่านการดำเนินโครงการ ‘มิซุอิกุ: สอนน้องรักษ์น้ำ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา มุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ และปลูกฝังจิตสำนึกให้เยาวชนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการอนุรักษ์น้ำ ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน โดยในปีนี้ เราได้ยกระดับโครงการฯ ให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ด้วยการถ่ายทอดความรู้เรื่องทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างสนุกสนานในแบบฉบับของมิซุอิกุ ให้แก่น้องๆ ในห้องเรียน การเสริมสร้างศักยภาพของโรงเรียนเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้เป็นโรงเรียนต้นแบบรักษ์น้ำ รวมถึงเปิดโอกาสให้น้องๆ นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ ร่วมออกแบบหลักสูตรการสอนน้องรักษ์น้ำในเชิงสร้างสรรค์

นายธีระชุณ บุญสิทธิ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงการมีส่วนร่วมกับโครงการฯ ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ “กรมทรัพยากรน้ำมีหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในประเทศ ตลอดจนร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ในการดูแลน้ำแบบองค์รวม ซึ่งโครงการ มิซุอิกุ: สอนน้องรักษ์น้ำ ถือได้ว่าช่วยขับเคลื่อนพันธกิจของกรมฯ ในการสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เห็นคุณค่าของน้ำ และพร้อมที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นหนึ่งในภาคีหลักของโครงการฯ ในปีนี้ และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย และหน่วยงานภาคีอื่นๆ เพื่อมอบองค์ความรู้และส่งเสริมเยาวชนไทยให้เริ่มอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อที่จะเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป”

ด้าน ดร.ไชโย จุ้ยศิริ ผู้อำนวยการส่วนแหล่งน้ำจืด กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกหนึ่งที่ปรึกษาของโครงการฯ กล่าวว่า “ในนามตัวแทนของกรมควบคุมมลพิษ ผมรู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ มิซุอิกุ: สอนน้องรักษ์น้ำ ซึ่งกรมฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ทั้งต่อตัวเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ต่อโรงเรียน และคุณภาพแหล่งน้ำในชุมชน และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือและการสนับสนุนของกรมควบคุมมลพิษจะสามารถช่วยให้โครงการฯ นี้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รวมทั้งเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของเยาวชน ผ่านการปลูกฝังจิตสำนึก การร่วมผนึกกำลังในการร่วมมือขับเคลื่อนกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น และเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป

 

          ทั้งนี้โครงการ “มิซุอิกุ: สอนน้องรักษ์น้ำ” ประจำปี 256ประกอบด้วย กิจกรรมหลัก ได้แก่

1. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในพื้นที่ จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ระยอง และสระบุรี จังหวัดละ 15 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 45 โรงเรียน อาทิ ค่ายเยาวชนรักษ์น้ำ กิจกรรมบูรณาการวิชาวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนของน้องๆ (In-class Teaching) พร้อมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการพัฒนาคุณภาพน้ำ ให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

2. โรงเรียนต้นแบบรักษ์น้ำ โดยคัดเลือก 1 โรงเรียนในแต่ละจังหวัดเป้าหมาย รวมทั้งสิ้น โรงเรียน เพื่อบูรณการการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำของโรงเรียน ใน 4 มิติที่สำคัญ ได้แก่นโยบาย การมีส่วนร่วมของบุคลากร โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และการขยายผลสู่ชุมชน

3. การประกวดการออกแบบหลักสูตรการสอนอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเชิงสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ โดยเฉพาะคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ รวมถึงคณะอื่นๆ ที่สนใจ ได้สร้างสรรค์หลักสูตรการสอนสำหรับน้องๆ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำในรูปแบบใหม่ ให้เข้าใจง่ายและสนุกสนาน พร้อมเป็นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรน้ำในกลุ่มผู้เข้าประกวดอีกทางหนึ่ง

โครงการมิซุอิกุสอนน้องรักษ์น้ำ ยังแสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออันดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการถ่ายทอด ความรู้ สอดแทรกจิตสำนึกการเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environment Citizen) ในทุกๆ กิจกรรมของโครงการฯ  ซึ่งมุ่งเสริมสร้าง ความรู้’ สู่ ความรักษ์โลก โดยเฉพาะการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ตามชื่อโครงการที่ว่า สอนน้องรักษ์น้ำ’ เพื่อจุดประกายน้องๆ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมต่อไป นางสาวเพียงจิต กล่าวทิ้งท้าย

### 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad