5 ข้อน่าเฝ้าระวัง รู้ทันโรคไข้เลือดออก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565

5 ข้อน่าเฝ้าระวัง รู้ทันโรคไข้เลือดออก

           5 ข้อน่าเฝ้าระวัง รู้ทันโรคไข้เลือดออก

นอกจากโรคโควิด-19 ที่ยังสร้างความหวาดกลัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ากำลังจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นก็ตาม ตอนนี้ก็มีโรคฝีดาษวานรที่เราต้องเฝ้าระวังกันแล้ว หากจะกล่าวถึงหนึ่งในโรคระบาดที่อยู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนานคงไม่พ้นโรคไข้เลือดออก ภัยที่มากับยุงลายและภูมิอากาศแบบเขตร้อนชื้น บางรายมีอาการรุนแรงและอาจมีอาการแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าเราจะคุ้นเคยกับโรคไข้เลือดออก แต่ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจที่หลายคนอาจยังไม่รู้ เนื่องในโอกาสของ "วันไข้เลือดออกอาเซียนหรือ ASEAN Dengue Day ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน มาดูกันว่า ข้อน่าเฝ้าระวัง เพื่อรู้ทันโรคไข้เลือดออกมีอะไรบ้าง

 

1. อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ระบาดของโรคไข้เลือดออกขยายวงกว้างขึ้น

โรคไข้เลือดออกมีการระบาดตลอดปี แต่จะระบาดสูงสุดในช่วงฤดูฝน พื้นที่น้ำท่วมขังและพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เชื้อไข้เลือดออกสามารถส่งต่อผ่านยุงลายจากรุ่นสู่รุ่นในไข่ ไข่ของยุงลายสามารถทนอากาศ ทนความร้อน อยู่ได้นานหลายเดือน และกระจายไปได้ทั่วโลก ด้วยสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศในปัจจุบันที่ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นโดยเฉลี่ย องศาเซลเซียส ทำให้บางพื้นที่ที่เคยมีอุณหภูมิต่ำ ยุงลายไม่สามารถวางไข่ได้ กลับอุ่นขึ้น และเริ่มพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เหล่านั้น บางประเทศที่ไม่เคยต้องรับมือกับโรคไข้เลือดออกจึงต้องสร้างความตระหนักให้กับภาคประชาชนมากขึ้น ซึ่งหมายถึงแนวโน้มของจำนวนประชากรโลกที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออกนั้นเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2562 โรคไข้เลือดออกถือเป็นภัยด้านสาธารณสุข ใน 10 อันดับของโลก ประชากรโลกกว่าครึ่งอยู่ภายใต้ภัยคุกคามของโรคไข้เลือดออก ในละปีมีผู้ติดเชื้อกว่า 390 ล้านคน และผู้เสียชีวิตกว่า 20,000 คน[1] [2]

 

2. โรคไข้เลือดออกไม่เลือกฐานะ สีผิว เชื้อชาติ หรืออายุ

โรคระบาดบางประเภท มักเกิดในพื้นที่แออัด หรือเกิดกับคนที่มีลักษณะทางกายภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดเชื้อชาติหรืออายุ เพียงแค่อยู่ในพื้นที่ที่มียุงลายก็สามารถเป็นได้ ใครเป็นแล้วก็เป็นซ้ำอีกได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสเดงกีที่เป็นที่มาของโรคไข้เลือดออกมีถึง สายพันธุ์ด้วยกัน โดยอาการที่พบได้ทั่วไปคือ ไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดตา คลื่นไส้ อาเจียน และเกิดผื่นที่ผิวหนัง หากอาการรุนแรงมักพบว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึมหรือกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น หากติดเชื้อสายพันธุ์ใดแล้ว จะไม่มีการติดซ้ำ แต่การติดเชื้อครั้งที่ กับสายพันธุ์ใหม่จะมีอาการรุนแรงกว่าครั้งแรก

 

3. กรุงเทพฯ หนึ่งในแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายชั้นดี

นพ. ชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร เผยว่า กรุงเทพฯ อยู่ในลำดับที่ ของพื้นที่ที่มีอัตราการป่วยจากโรคไข้เลือดออกสูงในประเทศไทย เนื่องจากความหลากหลายในภูมิอัตลักษณ์ ทั้งตึกสูง คอนโด พื้นที่สวน และมีจำนวนประชากรหนาแน่น ความเสี่ยงจึงสูงขึ้นตาม แนวทางการจัดการในกรุงเทพฯ จึงต้องเน้นความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สวนสาธารณะ สาธารณสุข และโรงเรียน เป็นต้น ต้องมีการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงคนหมู่มากได้ง่าย และตรงใจ เพื่อโน้มน้าวให้คนกว่า 10 ล้านคนที่อาศัยและเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เป็นประจำได้รับรู้ถึงภัยของโรคไข้เลือดออก และช่วยกันเฝ้าระวัง

 

4. โรคไข้เลือดออกไม่มียารักษา

การดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกคือต้องคอยสังเกตอาการ เนื่องจากยังไม่มียารักษาจำเพาะ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อให้อยู่ในความดูแลใกล้ชิดของแพทย์และรักษาแบบประคับประคอง ศ. เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี ประธานบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก Dengue-Zero ให้ข้อมูลว่าความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกต้องเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญของโรคไข้เลือดออก เนื่องจากหนึ่งในอาการของโรคคือเกล็ดเลือดต่ำ การกินยาแอสไพรินเพื่อลดไข้จึงเป็นสิ่งที่ควรเลี่ยงอย่างมาก เพราะจะส่งผลให้เลือดออกง่ายขึ้น และห้ามกินยาในกลุ่ม NSAIDs เป็นอันขาด

 

5. การสร้างพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดี ต้องเริ่มจากเยาวชน

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นที่ยังไม่มีการป้องกันได้ 100% ทุกฝ่ายจึงต้องเฝ้าระวังและป้องกัน สิ่งแรกที่เราทำได้คือเริ่มจากตัวเราเอง การดูแลสภาพภายในบ้านและที่ทำงานไม่ให้มีแหล่งน้ำขัง คอยเปลี่ยนแหล่งน้ำขังในบ้านให้สะอาด ไม่ให้ยุงลายมาวางไข่ ซึ่งการสร้างพฤติกรรมที่ดีเหล่านี้สามารถเริ่มได้เสมอ ในช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 อัตราป่วยอาจจะพบมากในเด็กวัย 5-14 ปีเป็นส่วนใหญ่ เพราะโรงเรียนเป็นพื้นที่เสี่ยงในการที่นักเรียนจะถูกยุงลายกัดตอนกลางวัน และผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกส่วนมากเป็นวัยรุ่น การสร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันโรค จะช่วยลดอุบัติการณ์เกิดโรค ความรุนแรงของโรค และการเสียชีวิตจากโรคนี้ได้

 

"วันไข้เลือดออกอาเซียนหรือ ASEAN Dengue Day ในวันที่ 15 มิถุนายน จะเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่ช่วยส่งเสริมให้คนไทยได้รับรู้เกี่ยวกับภัยของโรคไข้เลือดออก ในส่วนของหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนเองได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก Dengue-Zero กับภาคีเครือข่ายจำนวน 11 องค์กรที่นำโดย แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  กรุงเทพมหานคร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิยาลัยมหิดล  สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย  สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรงพยาบาลเอกชน สมาคมนักบริหารโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย และ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด มาตั้งแต่ช่วงต้นปี ด้วยเป้าหมายหลัก ประการ ในการลดอัตราการป่วยจากไข้เลือดออกลงให้ได้ร้อยละ 25 หรือให้ไม่เกิน 60,000 การลดอัตราการเสียชีวิตให้ต่ำกว่า 1:10,000 ราย และการควบคุมแหล่งลูกน้ำยุงลายในชุมชนให้ต่ำกว่า หลังคาเรือน จากการสำรวจ 100 หลังคาเรือน ในระยะเวลา ปี (พ.ศ. 2569) โดยมุ่งเน้นให้เกิดการปฏิบัติจริง มีการประสานงานเพื่อการรายงานข้อมูลผู้ติดเชื้อที่เร็วขึ้น เพื่อส่งหน่วยงานเข้าไปทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ การวิจัยเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงจากการสำรวจพื้นที่เสี่ยง การสร้างความตระหนักรู้ผ่านการสื่อสารและนวัตกรรมรูปแบบใหม่ “ทาเคดา ในฐานะบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกที่มีความมุ่งมั่นนำเสนอนวัตกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า ตระหนักถึงปัญหาของโรคไข้เลือดออกและไม่อยากให้คนไทยต้องสูญเสียจากโรคนี้ เรารู้ดีว่าการจะเอาชนะโรคนี้ได้นั้น ไม่สามารถทำได้ด้วยหน่วยงานหรือใครเพียงคนเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีความมุ่งมั่นเดียวกันในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก ทาเคดา มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ Dengue-Zero นี้ โดยเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของทาเคดาในการสนับสนุนทุกความร่วมมือเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน” มร. ปีเตอร์ สตรีบัล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวทิ้งท้าย

 

เกี่ยวกับทาเคดา

ทาเคดา เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยการวิจัยและพัฒนา โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ทาเคดามุ่งมั่นในการคิดค้นนวัตกรรมการรักษาเพื่อสุขภาพที่ดีและอนาคตที่สดใสของผู้คนทั่วโลก 

 

เกี่ยวกับทาเคดา ประเทศไทย

ทาเคดา ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยเป็นสาขาลำดับที่สามภายใต้แผนขยายของทาเคดาทั่วโลก กลุ่มธุรกิจหลักของทาเคดา ประเทศไทย ประกอบด้วยนวัตกรรมเพื่อการรักษาที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนชีวิตของผู้ป่วย ภายใต้กลุ่มธุรกิจหลักได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร มะเร็งวิทยา โรคหายากด้านพันธุกรรมและภูมิคุ้มกัน และ วัคซีน (ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงาน)

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad