โมรียา รั้งที่ 7 ร่วมรอบสอง ปาจรีย์-อาฒยา ผ่านตัดตัวยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565

โมรียา รั้งที่ 7 ร่วมรอบสอง ปาจรีย์-อาฒยา ผ่านตัดตัวยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น

โมรียา รั้งที่ 7 ร่วมรอบสอง ปาจรีย์-อาฒยา ผ่านตัดตัวยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น

            "โปรโม" โมรียา จุฑานุกาล ยังคงทำผลงานดีตีเพิ่ม 3 อันเดอร์พาร์ 68 ในวันที่สองกอล์ฟยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น ที่รัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐ เมื่อวันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2565 สกอร์รวม 5 อันเดอร์พาร์ 137 เลื่อนขึ้นไปรั้งอันดับ 7 ร่วมตามหลัง มินะ ฮาริงาเอะ โปรสาวชาวอเมริกัน อี มินจี จากออสเตรเลียผู้นำร่วมอยู่ 4 สโตรก และ "โปรเมียว" ปาจรีย์ อนันต์นฤการ พร้อมกับ "โปรจีน" อาฒญา ฐิติกุล ต่างก็ผ่านตัดตัวเข้าไปเล่นในสองวันสุดท้าย แต่ "โปรเม" เอรียา จุฑานุกาล แชมป์เมื่อปี 2018 "โปรเหมียว" ปภังกร ธวัชธนกิจ แขมป์เมเจอร์ทั้งคู่รวมทั้ง "โปรแหวน" พรอนงค์ เพชรล้ำ ไม่ผ่านการตัดตัว

            การแข่งขันกอล์ฟยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น ครั้งที่ 77 เมเจอร์ที่เก่าแก่ที่สุดของกอล์ฟหญิง ที่ไพน์ นีดเดิลส์ ลอดจ์ แอนด์ กอล์ฟ คลับ พาร์ 71 ในเซาเทิร์น ไพน์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 2-5 มิถุนายน 2565 ชิงเงินรางวัลรวม 10 ล้านดอลลาร์หรือราว 330 ล้านบาทซึ่ง ยูกะ ซาโสะ เป็นแชมป์เก่าเมื่อปีที่แล้วกลับมาป้องกันแชมป์ของเธอ

            วันที่สองเมื่อวันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐ "โปรโม" โมรียา เจ้าของแชมป์อาชีพในแอลพีจีเอ ทัวร์ 2 รายการออกสตาร์ทด้วยเสียโบกี้หลุม 11 แต่ก็กลับมาร้อนแรงทำเบอร์ดี้สามหลุมติดต่อกันจากหลุม 13,14 และ 15 จากนั้นทำเพิ่มที่หลุม 18, 1 และ 3 แม้ว่าจะไปพลาดเสียโบกี้หลุม 6 และ 7 ทำสกอร์ 3 อันเดอร์พาร์ 68 สกอร์รวมสองวัน 5 อันเดอร์พาร์ 137 รั้งอันดับ 7 ร่วมกับ คิม เซ-ยอง โปรจากเกาหลีใต้ แชมป์เมเจอร์ซึ่งทำสกอร์ 3 อันเดอร์พาร์ 68 ตามหลัง มินะ ฮาริงาเอะ จากสหรัฐ และ อี มินจี จากออสเตรเลียผู้นำร่วมอยู่ 4 สโตรก

            มินะ ฮาริงาเอะ โปรสาวชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นจากสหรัฐผู้นำในวันแรกทำเพิ่มอีก 2 อันเดอร์พาร์ 69 จาก 5 เบอร์ดี้ เสีย 3 โบกี้สกอร์รวม 9 อันเดอร์พาร์ 133 ยังคงนำแต่มี อี มินจี โปรสาวจากออสเตรเลียเจ้าของแขมป์เมเจอร์เอวิยอง แชมเปียนชิพ ปีที่แล้วขึ้นไปนำร่วมหลังจากเธอทำสกอร์ 5 อันเดอร์พาร์ 66 จาก 6 เบอร์ดี้ เสีย 1 โบกี้

            ชเว ฮเย-จิน โปรสาวจากเกาหลีใต้ รุกกี้ของแอลพีจีเอ ทัวร์ ฟอร์มร้อนแรงทำ 9 เบอร์ดี้ เสีย 2 โบกี้สกอร์ 7 อันเดอร์พาร์ 64 สกอร์ต่ำที่สุดในรอบสองสกอร์รวม 7 อันเดอร์พาร์ 135 ขึ้นไปรั้งอันดับ 3 ร่วมกับ อันนา นอร์ดควิสต์ โปรสาวจากสวีเดนแชมป์เมเจอร์ซึ่งทำ 3 อันเดอร์พาร์ 68 ตามหลังผู้นำร่วมอยุ่แค่สองสโตรกเท่านั้น

            โค จิน-ยอง โปรสาวจากเกาหลีใต้ มือ 1 ของโลกทำสกอร์ 4 อันเดอร์พาร์ 67 สกอร์รวม 6 อันเดอร์พาร์ 136 ขึ้นไปรั้งอันดับ 5 ร่วมกับ อิงกริด ลิดน์บลัด นักกอล์ฟสมัครเล่นจากสวีเดนซึ่งทำอีเวนพาร์ 71 ตามหลังผู้นำร่วมอยู่ 3 สโตรก

เนลลี คอร์ดา โปรสาวชาวอเมริกันมือ ของโลกกลับมาแข่งขันในครั้งแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์หลังจากไปรักษาอาการลิ่มเลือดที่แขนทำ อันเดอร์พาร์ 69 สกอร์รวม อันเดอร์พาร์ 139 รั้งอันดับ 14 ร่วม

            "โปรเมียว" ปาจรีย์ อนันต์นฤการ เจ้าของแชมป์แอลพีจีเอ ทัวร์ 1 รายการทำ 2 เบอร์ดี้ เต่เสีย 4 โบกี้สกอร์เกิน 2 โอเวอร์พาร์ 73 สกอร์รวม 1 โอเวอร์พาร์ 143 รั้งอันดับ 36 ร่วม

            "โปรจีน" อาฒยา ฐิติกุล โปรสาววัย 19 ปี จากจังหวัดราชบุรี รุกกี้ของแอลพีจีเอ ทัวร์ คว้าแชมป์แรกของตัวเองมาได้เมื่อเดือนมีนาคมฟอร์มไม่ดีพลาดในรอบสองแม้ว่าจะทำ 3 เบอร์ดี้ แต่เสีย 5 โบกี้สกอร์เกิน 2 โอเวอร์พาร์ 73 สกอร์รวม 2 โอเวอร์พาร์ 144 รั้งอันดับ 52 แต่ก็มากพอจะผ่านการตัดตัวเข้าไปเล่นในสองวันสุดท้ายซึ่งนับเป็นความสำเร็จอย่างมากเพราะผ่านการตัดตัวในการเล่นครั้งแรก

            ในขณะที่ "โปรเม" เอรียา จุฑานุกาล อดีตมือ 1 ของโลก เจ้าของแชมป์อาชีพแอลพีจีเอ ทัวร์ 13 รายการ และดีแชมป์รายการนี้เมื่อปี 2018 ทำ เบอร์ดี้ แต่เสีย 6 โบกี้สกอร์ 4 โอเวอร์พาร์ 75 สกอร์รวม 6 โอเวอร์พาร์ 148 ไม่ผ่านการตัดตัวตัว

            "โปรเหมียว" ปภังกร ธวัชธนกิจ แชมป์เมเจอร์ มือ 13 ของโลกฟอร์มหลุดเช่นกันทำ 1 เบอร์ดี้ เสีย 2 โบกี้ ทริปเปิ้ลโบกี้หลุม 17 และ 19 สกอร์เกิน 7 โอเวอร์พาร์ 78 สกอร์รวม 7 โอเวอร์พาร์ 149 ไม่ผ่านการตัดตัวเข้าไปเล่นในสองวันสุดท้าย

            เช่นเดียวกับ "โปรแหวน" พรอนงค์ เพชรล้ำ จอมเก๋าไม่ดีขึ้นเสีย 1 โบกี้ และดับเบิ้ลโบกี้ 1 หลุมสกอร์เกิน 3 โอเวอร์พาร์ 74 สกอร์รวม 9 โอเวอร์พาร์ 151 ไม่ผ่านการตัดตัวเข้าไปเล่นในสองวันสุดท้ายอีกคน

            อันนิกา โซเรนสตัม โปรจอมเก๋าจากสวีเดนอดีตมือ 1 ของโลกแชมป์รายการนี้ 3 สมัยซึ่งกลับมาแข่งขันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2008 ตีเกิน 10 โอเวอร์พาร์ 81 สกอร์รวม 155 ไม่ผ่านการตัด เช่นเดียวกับ มิเชลล์ วี เวสต์ โปรสาวชาวอเมริกันแชมป์เมื่อปี 2014 สกอร์รวมเกิน  5 โอเวอร์พาร์  147 ยูกะ ซาโสะ โปรสาวจากญี่ปุ่นแชมป์เมื่อปีที่แล้วไม่ผ่านการตัดตัวหลังจากตีเกิน 3 โอเวอร์พาร์ 74 สกอร์รวม 9 โอเวอร์พาร์ 151

อันดับคะแนนหลังจบวันที่สอง

1.(-9) 133-อี มินจี (ออสเตรเลีย) 67-66, มินะ ฮาริงาเอะ (สหรัฐ) 64-69

3.(-7) 135-ชเว ฮเย-จิน (เกาหลีใต้) 71-64, อันนา นอร์ดควิสต์ (สวีเดน) 67-68

5.(-6) 136-โค จิน-ยอง (เกาหลีใต้) 69-67, อิงกริด ลิดน์บลัด (สวีเดนสมัครเล่น) 65-71            

7.(-5) 137-โมรียา จุฑานุกาล (ไทย) 69-68, คิม เซ-ยอง (เกาหลีใต้) 69-68  

อันดับนักกอล์ฟไทยคนอื่น ๆ

36.(+1) 143-ปาจรีย์ อนันต์นฤการ 70-73

52.(+2) 144-อาฒยา ฐิติกุล 71-73

90.(+6) 138-เอรียา จุฑานุกาล 73-75 ไม่ผ่านตัดตัว

101.(+7) 149-ปภังกร ธวัชธนกิจ 71-78 ไม่ผ่านตัดตัว

121.(+9) 151-พรอนงค์ เพชรล้ำ 77-74 ไม่ผ่านตัดตัว

 

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.usga.org

 

เครดิตภาพ: Getty Images

 

เกี่ยวกับสมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริกา(ยูเอสจีเอ)

            สมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริกา(ยูเอจีเอ) ดำเนินการจัดการแข่งขันกอล์ฟรายการยูเอส โอเพ่น (เมเจอร์ชาย) ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น (เมเจอร์หญิง) ยูเอส ซีเนียร์ โอเพ่น(เมเจอร์ซีเนียร์ชาย) และ ยูเอส ซีเนียร์ วีเมนส์ โอเพ่น (เมเจอร์ซีเนียร์หญิง) แล้วยังมีรายการชิงแชมป์สมัครเล่น และ แม็ตช์ระดับนานาชาติอีก  10 รายการทำให้นักกอล์ฟ และแฟนจาฟทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

ยูเอสจีเอร่วมกับเดอะ รอยัล แอนด์ แอนเชียนท์ หรืออาร์แอนด์เอ เป็นองค์กรผู้ดูแลเกมกอล์ฟทั่วโลกร่วมกันตั้งกฏกอล์ฟ และ กฎข้อบังคับสถานะนักกอล์ฟสมัครเล่น มาตรฐานอุปกรณ์ที่ใช้แข่งขัน และ อันดับคะแนนสะสมโลกของนักกอล์ฟสมัครเล่นพร้อมกับมีอำนาจการทำงานในสหรัฐอเมริกา ดินแดนในความปกครอง และ เม็กซิโก

            ยูเอสจีเอ เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีการวิจัย พัฒนา และ สนับสนุนการจัดการสนามกอล์ฟอย่างยั่งยืนมากที่สุด ทำหน้าที่ผู้ดูแลเบื้องต้นเกียวกับประวัติศาสตร์เกมกอล์ฟ และ การพัฒนาด้านการลงทุนเกมกอล์ฟผ่านการบริหาร และทำงานของมูลนิธิสมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริการวมทั้งการจัดเรตติ้งสนามกอล์ฟ และระบบการจัดแฮนดิแคปที่ใช้กันใน 6 ทวีป

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad