ม.นิวยอร์ค - วิศวะมหิดล แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ‘แล็บมะเร็งบนชิป’ พลิกโฉมการวินิจฉัยและรักษาให้เร็วขึ้น - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ม.นิวยอร์ค - วิศวะมหิดล แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ‘แล็บมะเร็งบนชิป’ พลิกโฉมการวินิจฉัยและรักษาให้เร็วขึ้น

3.%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%9B%20(Lab-on-a-Chip%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%ADLOC)%20%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2

 ม.นิวยอร์ค - วิศวะมหิดล แลกเปลี่ยนองค์ความ

รู้ แล็บมะเร็งบนชิป’ พลิกโฉมการวินิจฉัยและ

รักษาให้เร็วขึ้น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ซึ่งนำโดย รองศาสตราจารย์ เหวยเจียง เฉิน (Weiqiang Chen) เดินทางมาประเทศไทยเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรื่อง แล็บมะเร็งบนชิป’  Cancer Lab-on-A-Chip : Transforms Cancer Diagnosis and Treatment" ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยความก้าวหน้าและประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีห้องปฎิบัติการมะเร็งบนชิป ซึ่งจะ เปลี่ยนผ่าน’ การตรวจวินิจฉัยมะเร็งในผู้ป่วยไปสู่การบำบัดรักษาได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพและแม่นยำยิ่งขึ้น

             รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและสหรัฐฯเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาบุคคลากรและนวัตกรรมวิศวกรรมชีวการแพทย์    รองศาสตราจารย์  เหวยเจียง เฉิน มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เป็นนักวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ ผู้สร้างผลงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อวงการสุขภาพและการแพทย์และได้รับรางวัลมามากมาย  เขาได้ถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้แก่นักวิจัย นักศึกษาและคณาจารย์ของไทย เกี่ยวกับ ห้องปฎิบัติการบนชิป  หรือ แล็บบนชิป’ (Lab –on- a –Chip :LOC) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางวิศวกรรมชีวการแพทย์อันก้าวหน้าที่มีการพัฒนา 

2..%E0%B8%A3%E0%B8%A8.%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%20%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%20%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัยและทดลองทางวิทยาศาสตร์ในหลากหลายประเภท ทำให้มีต้นทุนถูกลงและรวดเร็ว สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างห้องแล็บขนาดใหญ่และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือราคาสูงมากมาย ตัวอย่างการใช้งานนวัตกรรม ห้องปฎิบัติการบนชิป’ ในปัจจุบันที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด เช่น การตรวจหาผลโควิด-19 แบบ Antigen Test Kit (ATK) ได้ในเวลาไม่ถึง 30 นาที  ย่นเวลาการวิจัยดีเอ็นเอ (DNA) ที่เคยยาวนานหลายปีลงได้มาก รวมถึงการวิเคราะห์ศึกษาโปรตีนในสิ่งมีชีวิต (Proteomics) ได้รวดเร็วในเวลาอันสั้นอีกด้วย  

            รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า หลักการทำงานของห้องปฎิบัติการบนชิป LOC คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Microfluidics หรือ ระบบของไหลจุลภาค เพื่อสร้างท่อลำเลียงของเหลวหรือสารละลายขนาดเล็กประมาณเส้นผมเท่านั้นบนแผ่นชิป ซึ่งติดตั้งแบตเตอรี่ขนาดจิ๋วไว้เพื่อดูดของเหลวให้ไหลตามท่อไปผสมกับสารเคมีต่าง ๆ จนออกมาเป็นผลลัพธ์ของการทดสอบทางการแพทย์ภายในระยะเวลาไม่กี่นาที

4..%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%9B%20(Lab-on-a-Chip%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%ADLOC)%20%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2

            ประโยชน์ของ แล็บมะเร็งบนชิป’ (Cancer Lab –on- a –Chip)  ช่วยแพทย์ในการตรวจวินิจฉั

โรคมะเร็ง ได้แก่ ช่วยในการตรวจทางชีวเคมี การตรวจหาเซลล์มะเร็งและแบคทีเรีย (Dielectrophoresis)  ตรวจหาแบคทีเรีย ไวรัสและมะเร็ง โดยอาศัยปฏิกริยาของแอนติเจน –แอนติบอดี (Immunoassay)  PCR แบบเรียลไทม์ ตรวจหาแบคทีเรีย ไวรัสและมะเร็ง ช่วยให้แพทย์สืบค้นโรคมะเร็งได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นผลดีต่อแพทย์และสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้เข้าสู่การบำบัดรักษาได้โดยรวดเร็ว

ในโอกาสนี้ คณะผู้ชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค ได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการมาตรฐานระดับโลกของคณะวิศวะมหิดล ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือแพทย์ (Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices: BioTesting LAB) ซึ่งเปิดให้นักวิจัยและเอกชนได้นำอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ต่างๆมาทดสอบว่าปลอดภัยต่อการใช้งานกับร่างกายของคน โดยไม่ต้องส่งต่างประเทศทดสอบซึ่งต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูงมาก  ห้องปฎิบัติการไบโอเซนเซอร์ (Biosensors Laboratory)ห้องปฎิบัติการตรวจระดับโมเลกุล ( Advanced Molecular Diagnostics Laboratory :AMD LAB) และห้องปฎิบัติการนวัตกรรมการแพทย์นาโน (Innovative Therapeutic Nanomedicine Laboratory :TNN LAB)

1.%E0%B8%A3%E0%B8%A8.%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C%20%E0%B8%93%20%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B2%20(%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87)%20%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%A8.%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%20(%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad