งานวิจัยเผย การใช้นโยบายภาษีคาร์บอนและภาษีเพื่อสุขภาพร่วมกัน ช่วยบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ดีได้ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

งานวิจัยเผย การใช้นโยบายภาษีคาร์บอนและภาษีเพื่อสุขภาพร่วมกัน ช่วยบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ดีได้

 งานวิจัยเผย การใช้นโยบายภาษีคาร์บอนและภาษีเพื่อสุขภาพร่วมกัน ช่วยบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ดีได้

งานวิจัยใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature เผยว่าการเก็บภาษีสินค้าและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีรอยเท้าคาร์บอนจำนวนมาก เช่น เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นมวัวจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเหลือค้างที่สหราชอาณาจักรต้องลดเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero) ในปี 2050 ได้ถึงหนึ่งในสาม 

ก๊าซเรือนกระจกเหลือค้างคือมลพิษที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากที่ได้ดำเนินนโยบายและความพยายามลดมลพิษไปก่อนหน้าแล้ว นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอังกฤษ เช่น มหาวิทยาลัย Exeter มหาวิทยาลัย Reading และ มหาวิทยาลัย London School of Hygiene & Tropical Medicine (LSHTM) ได้ข้อสรุปนี้จากการสำรวจจากผู้เข้าร่วม 5,912 คน 

“การบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์กำลังเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในไทย และเราควรมีนโยบายเพื่อจัดการกับผลกระทบนี้” ชิสากัญญ์ อารีพิพัฒน์ ผู้จัดการโครงการท้าลอง 22 วัน จากซิเนอร์เจีย แอนิมอลกล่าว ซิเนอร์เจีย แอนิมอลเป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์สากลที่สนับสนุนการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนมากกว่าเดิมในภูมิภาคลาตินอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “แนวปฏิบัติด้านโภชนาการของหลายประเทศเริ่มเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบริโภคที่ไม่พึ่งพาผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่เนื่องจากปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศเข้าขั้นวิกฤต อีกทั้งโรคเรื้อรังที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพกำลังเพิ่มขึ้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะใช้มาตรการใหม่ๆ เช่น การเพิ่มภาษีผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม” ชิสากัญญ์กล่าวเพิ่ม

“อย่างไรก็ตาม ในประเทศที่ประสบปัญหาความหิวโหยเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน เราควรทำให้อาหารที่ดีต่อสุขภาพเข้าถึงได้ง่ายก่อนใช้นโยบายเพิ่มภาษีและขึ้นราคาอาหาร นี่คือเหตุผลที่นโยบายส่งเสริมธุรกิจการผลิตและจำหน่ายผัก ผลไม้ และเมล็ดพืชขนาดย่อยก็เป็นเรื่องเร่งด่วนเช่นกัน”

อนาคตสีเขียว

การผลิตอาหารของเราเพียงอย่างเดียวก่อให้เกิด 30% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดทั่วโลก และผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์คิดเป็น 57% ของจำนวนนี้ “เพื่อลดความต้องการการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ยั่งยืน และบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศภายในปี 2050 เราต้องลงทุนในการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างระบบอาหารที่ทั้งยั่งยืนขึ้น และเอารัดเอาเปรียบสัตว์น้อยลง” ชิสากัญญ์กล่าว  

อีกหนึ่งงานวิจัย ซึ่งเผยแพร่โดยมหาวิทยาลัย Bonn ประเทศเยอรมนีก็ได้ระบุว่า หากเราจะบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและความปลอดภัยด้านอาหาร การบริโภคเนื้อสัตว์ต้องลดลงอย่างน้อย 75% ในหลายๆ ประเทศ​

วิถีการบริโภคที่ดีต่อโลก

รายงานที่ได้รับการตีพิมพ์โดยคณะกรรมการอีเอที-แลนเซท (EAT-Lancet Commission) เผยว่า วิถีการบริโภคที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและโภชนาการมากที่สุดคือการบริโภคแบบแพลนต์เบส นอกจากนี้คณะกรรมการอีเอที-แลนเซทยังได้ระบุเพิ่มว่า เราต้องลดการรับประทานเนื้อแดงและน้ำตาลทั่วโลกมากกว่า 50% และต้องเพิ่มการบริโภคผลไม้ ผัก และถั่วขึ้นเป็นเท่าตัว 

“นี่คือช่วงเวลาสำคัญสำหรับอนาคตของเรา และผู้มีอำนาจตัดสินใจทั่วโลกต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ แต่เราทุกคนก็ต้องทำในส่วนของตนเองเช่นเดียวกัน ในประเทศไทย ซิเนอร์เจีย แอนิมอลมีโครงการเชิญชวนและช่วยเหลือผู้คนที่ต้องการหันมาบริโภคแบบแพลนต์เบส โดยทางโครงการมีนักกำหนดอาหารและผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำฟรี” ชิสากัญญ์อธิบาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการท้าลอง 22 วัน ได้ที่ thaichallenge22.org/

เกี่ยวกับซิเนอร์เจีย แอนิมอล

ซิเนอร์เจีย แอนิมอล เป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากล ปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศ Global South เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของสัตว์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและส่งเสริมทางเลือกอาหารที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจต่อสัตว์  เราได้รับการจัดอันดับโดย Animal Charity Evaluators (ACE) ให้เป็นหนึ่งในองค์กรพิทักษ์สัตว์ที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad