ทีทีซีแอล มั่นใจกลุ่มทุนภาคธุรกิจและภาคการเกษตรไทยขานรับกระแสพลังงานทดแทน หลังรัฐบาลประกาศแผนผลักดันประเทศสู่ Carbon Net Zero Emission ในปี 2065 ล่าสุด ทีทีซีแอล สานต่อกระแสความสนใจ นำเทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดสุดล้ำ “แฟลชทอร์ (FlashTor®)” - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565

ทีทีซีแอล มั่นใจกลุ่มทุนภาคธุรกิจและภาคการเกษตรไทยขานรับกระแสพลังงานทดแทน หลังรัฐบาลประกาศแผนผลักดันประเทศสู่ Carbon Net Zero Emission ในปี 2065 ล่าสุด ทีทีซีแอล สานต่อกระแสความสนใจ นำเทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดสุดล้ำ “แฟลชทอร์ (FlashTor®)”

ทีทีซีแอล มั่นใจกลุ่มทุนภาคธุรกิจและภาคการเกษตรไทยขานรับกระแสพลังงานทดแทน
หลังรัฐบาลประกาศแผนผลักดันประเทศสู่ Carbon Net Zero Emission ในปี 2065
ล่าสุด ทีทีซีแอล สานต่อกระแสความสนใจ นำเทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดสุดล้ำ “แฟลชทอร์ (FlashTor®)”
มาร่วมแสดงในงาน SETA 2022 ระหว่าง 20-22 ก.ย. นี้ ที่ไบเทค บางนา หวังขยายตลาดรับการเติบโตในอนาคต

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย 15 กันยายน 2565 –บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) พอใจกระแสตอบรับขั้นแรกของโปรเจคปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดด้วยกระบวนการทอร์รีแฟกชัน (Torrefaction) ในไทย หลังเปิดตัวโรงงานต้นแบบแห่งแรกที่ จ.ลำปาง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเห็นถึงศักยภาพอย่างเป็นรูปธรรม โดยล่าสุดได้นำเทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดสุดล้ำ “แฟลชทอร์ (FlashTor®)” มาจัดแสดงภายในงาน SETA 2022 ระหว่างวันที่ 20-22 ก.ย. นี้ ที่ไบเทค บางนา ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://setaasia.com

นายฮิโรโนบุ อิริยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) หรือ ทีทีซีแอล เปิดเผยล่าสุดว่า จากการประกาศแผนขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาลไทยในเวที COP26 หรือ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ระบุชัดเจนว่าประเทศไทยจะเดินหน้าแผนด้านพลังงานทดแทนเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 จึงเป็นแรงขับเคลื่อนให้ทางภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสนใจด้านแหล่งพลังงานทางเลือกมากขึ้น อีกทั้งแรงผลักดันจากกลุ่มประเทศใน EU ที่จะให้มีกฎระเบียบการค้า CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ทำให้กลุ่มผู้ส่งออกต้องปรับตัวเพื่อคงความสามารถทางด้านการแข่งขันด้วยการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนอย่างเต็มระบบ

“หลังจากที่ ทีทีซีแอล ได้เปิดตัวโรงงานต้นแบบเพื่อผลิตและปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดด้วยกระบวนการทอร์รีแฟกชัน (Torrefaction) ลิขสิทธิ์เฉพาะของ แบล็ควูด เทคโนโลยี ที่ชื่อว่า “แฟลชทอร์ (FlashTor®)” ®)” เป็นครั้งแรกในไทยที่ จ. ลำปาง พบว่า ได้รับการติดต่อจากกลุ่มผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลิตผลทางการเกษตร เช่น โรงน้ำตาล และอื่นๆ รวมทั้งกลุ่มบริษัทที่ใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินในกระบวนการผลิต เช่น ผู้ผลิตปูนซิเมนต์  โรงงานกระดาษทั้งในและต่างประเทศติดต่อเข้ามาเพื่อขอเยี่ยมชมเทคโนโลยีการผลิต และรายละเอียดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดที่ผลิตโดยเทคโนโลยีระดับโลกในครั้งนี้ เพื่อมุ่งหวังที่จะนำมาปรับใช้ในโรงงานเดิมของตน รวมถึงการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดทดแทนถ่านหิน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการสนับสนุนในทุกๆ ด้านจากภาครัฐหากหันมาดำเนินธุรกิจที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทฯ ได้เตรียมแผนการพัฒนาโรงงานต้นแบบแห่งใหม่อีก 2 แห่งในภาคเหนือเพื่อสานต่อกระแสตลาดช่วงขาขึ้น” นายฮิโรโนบุ อิริยา กล่าวถึงการตื่นตัวเพื่อเปลี่ยนสู่การใช้พลังงานทดแทนของกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย

ทั้งนี้ นวัตกรรมเทคโนโลยี “แฟลชทอร์ (FlashTor®)” คือเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยกระบวนการทอร์รีแฟกชัน (Torrefaction) ที่สามารถเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นเชื้อเพลิงคุณภาพสูงด้วยกระบวนการทางความร้อน เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวมวลให้มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิน อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นพลังงานในห่วงโซ่อุปทานเชื้อเพลิง ชีวมวลอัดเม็ดสีดำมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral) เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพชนิดแข็งที่มีคุณภาพสูง ซึ่งสามารถทดแทนการใช้ถ่านหินในโรงไฟฟ้า โรงงานเหล็ก โรงงานแก๊สซิฟิเคชั่น และ อื่นๆ โดยสามารถใช้เครื่องจักรเดิมที่มีอยู่แล้วโดยมิต้องดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ นอกจากนี้ เชื้อเพลิงอัดเม็ดยังมีความหนาแน่นของพลังงานสูงกว่าชีวมวลโดยทั่วไป ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งในห่วงโซ่อุปทานของชีวมวลต่ำลง

“จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานในปี 2565 ระบุว่าประเทศไทยมีการผลิตพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้นในอัตราที่มากกว่าการผลิตเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ทั้งยังคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีการผลิตพลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้นกว่าในปัจจุบันอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลให้การใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทยนั้นสามารถทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลได้ในที่สุด ด้วยแนวทางดังกล่าวนี้ ทำให้ในปัจจุบันมีกลุ่มนักลงทุนจำนวนมากที่หันมาให้ความสำคัญและมุ่งเน้นขยายธุรกิจด้านพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ ทีทีซีแอล มีโอกาสในการขยายการลงทุนในโครงการเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดสีดำในอนาคต  โดยปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ มีทั้งกลุ่มบริษัทในประเทศไทยและในประเทศญี่ปุ่น และในอนาคตมีแผนที่จะขยายไปสู่ตลาดยุโรปและอเมริกาต่อไป ซึ่งไม่ได้จำกัดธุรกิจอยู่แค่เพียงจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชีวมวลอัดเม็ดสีดำเท่านั้น แต่รวมถึงการขยายตลาดในส่วนเทคโนยีการผลิตแบบเบ็ดเสร็จด้วย” นายฮิโรโนบุ อิริยา กล่าวสรุป

เกี่ยวกับบริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน)
บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) ให้บริการด้านการออกแบบวิศวกรรม การจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ และการก่อสร้างโรงงานแบบครบวงจร โดยจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดในปีพ.ศ.2528 ภายใต้การร่วมทุนกับบริษัทวิศวกรรมและก่อสร้างระดับนานาชาติชั้นนำ 2 แห่งจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ปัจจุบัน ทีทีซีแอล เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยในระยะแรก ทีทีซีแอล ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านการออกแบบวิศวกรรม การจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ และการก่อสร้างโรงงานแบบครบวงจร (EPC) โดยมีธุรกิจหลักเป็นโรงงานปุ๋ย สารเคมี และปิโตรเคมี ตลอดจนการผลิตไฟฟ้า ต่อมา ทีทีซีแอล ได้ริเริ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและโครงการด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปี พ.ศ. 2560 ทีทีซีแอลเริ่มลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียนจากชีวมวลและปัจจุบันกำลังริเริ่มธุรกิจเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดที่ผ่านกระบวนการทอร์รีแฟกชัน (Torrefaction) และในปี พ.ศ. 2563 ทีทีซีแอล ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท แบล็ควูด เทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad