KISS คว้ารางวัลการรู้หนังสือประจำปี 2565 ของยูเนสโก จากผลงานการเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565

KISS คว้ารางวัลการรู้หนังสือประจำปี 2565 ของยูเนสโก จากผลงานการเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่


KISS คว้ารางวัลการรู้หนังสือประจำปี 2565 ของยูเนสโก จากผลงานการเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่

ภูพเนศวรอินเดีย--1.. 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

สถาบันสังคมศาสตร์กาลิงคะ (KISS) จากเมืองภูพเนศวร ได้รับรางวัลการรู้หนังสือพระเจ้าเซจง ประจำปี 2565 ขององค์การยูเนสโก (UNESCO King Sejong Literacy Prize 2022) จากโครงการรู้หนังสืออันโดดเด่นของสถาบันฯ ตามความเห็นของคณะกรรมการตัดสินจากนานาชาติ

รางวัลการรู้หนังสือพระเจ้าเซจงของยูเนสโกได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้ โดยเป็นรางวัลที่เชิดชูคุณูปการด้านพัฒนาการการรู้หนังสือโดยใช้ภาษาแม่ โดย KISS ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสถาบัน KIIT ได้รับรางวัลในประเภท 'โครงการการศึกษาพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นพื้นฐาน' (Mother Tongue Based Multilingual Education programme) โดยรางวัลประกอบด้วยเงินบริจาคจำนวน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐเหรียญรางวัล และประกาศนียบัตร

พิธีมอบรางวัลดังกล่าวจัดขึ้นโดยยูเนสโกที่ประเทศโกตดิวัวร์ ในวันที่ 8-9 ก.ย. 2565 เพื่อร่วมฉลองในวันรู้หนังสือสากล

โครงการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อรับมือกับปัญหานักเรียนพื้นเมืองออกจากระบบการศึกษาในระดับชั้นประถม เนื่องจากมีอุปสรรคด้านภาษาในห้องเรียนและครูไร้ความสามารถที่จะรับมือกับห้องเรียนที่มีเด็กพูดกันหลายภาษาและมาจากหลายวัฒนธรรม

ทุกปี รางวัลการรู้หนังสือนานาชาติของยูเนสโก (UNESCO International Literacy Prize) จะเน้นหัวข้อเฉพาะ โดยในปีนี้เน้นที่การพลิกโฉมพื้นที่การเรียนรู้ (Transforming Literacy Learning Spaces) ซึ่ง KISS ถือเป็นสถาบันที่ จากอินเดีย และเป็นสถาบันแรกจากรัฐโอฑิศาที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาตินี้ รวมทั้งเป็นองค์กร NGO ลำดับที่ และเป็นองค์กรด้านชนพื้นเมืองแห่งแรกที่ได้รับรางวัลนี้

KISS ซึ่งเป็นสถาบันสำหรับนักเรียนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้รับการยกย่องด้านการนำนวัตกรรมการสอนมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของประชากรพื้นเมืองผ่านการศึกษา และทำให้รัฐโอฑิศาเป็นที่รู้จักของชาวโลกในด้านความพยายามในการเปลี่ยนแปลงอีโคซิสเต็มทางการศึกษา อีกทั้งยังเป็นวันเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่สำหรับชุมชนพื้นเมืองเพราะนี่เป็นรางวัลสำหรับพวกเขาอย่างแท้จริง

KISS เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองภูพเนศวร รัฐโอฑิศา ประเทศอินเดีย ก่อตั้งขึ้นในปี 2535-36 โดย ดร.อาชยุตา ซามานตา (Dr. Achyuta Samanta) นักการศึกษาชื่อดัง เพื่อส่งเสริมประชากรพื้นเมืองผ่านการศึกษา โดยเป็นสถาบันการศึกษาแบบอยู่อาศัยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งให้การศึกษาแบบองค์รวม ฝึกสอนทักษะที่ครอบคลุม ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพด้านกีฬา

โครงการริเริ่มด้านการศึกษาที่ KISS ประกอบด้วยโรงเรียนวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาอาหารการศึกษา และเพิ่มขีดความสามารถให้กับเด็กชนพื้นเมือง

"ผมขอขอบคุณยูเนสโกที่ตระหนักถึงความพยายามและนวัตกรรมทางสังคมของเราในด้านการศึกษาการอ่านออกเขียนได้ และการส่งเสริมชนพื้นเมือง สมัยเด็กผมต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และตอนนี้ผมก็ทุ่มเททั้งชีวิตและจิตวิญญาณเพื่อจัดหาการศึกษาแบบองค์รวมให้แก่คนชายขอบหลายล้านคน" ดร.ซามานตากล่าวในข้อความ

KISS ได้พลิกชีวิตของเด็กพื้นเมือง 70,000 คน (ศิษย์ปัจจุบัน 30,000 คน และศิษย์เก่า 40,000 คน) โดยทางตรง และอีกประมาณ 700,000 คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนพื้นเมืองโดยทางอ้อม โดย KISS Deemed-to-be University ซึ่งเป็นส่วนอุดมศึกษาของ KISS ถือเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อนักศึกษาที่เป็นชนพื้นเมืองโดยเฉพาะแห่งแรกของโลก นอกจากนี้ KISS ยังมีวิวัฒนาการและการทำงานร่วมกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ของ UN เพื่อดำเนินการตามโครงการริเริ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการส่งเสริมศักยภาพ โดย KISS มีสถานะเป็นที่ปรึกษาพิเศษให้กับคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) มาตั้งแต่ปี 2558 และอยู่ในเครือโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNDPI)

นับตั้งแต่ก่อตั้ง KISS เคารพในความหลากหลายของภาษาพื้นเมืองและภาษาถิ่น โดยมีการมุ่งเน้นอย่างต่อเนื่องเรื่องการสอนในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาด้วยภาษาแม่ ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้ภาษากลาง ซึ่งความพยายามบุกเบิกที่ไม่เหมือนใครของ KISS นี้ได้ก่อตัวขึ้นเป็นรูปธรรมในรูปแบบของ 'การศึกษาพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นพื้นฐานในปี 2556

KISS ซึ่งนำโครงการการศึกษาพหุภาษามาใช้ผ่านแซนด์บ็อกซ์นวัตกรรม (innovation sandbox) ได้วางแนวทางตัวอย่างสำหรับสถาบันการศึกษาและรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐอื่น ๆ ในด้านการสอนในห้องเรียนด้วยภาษาพื้นเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรับมือกับปัญหานักเรียนพื้นเมืองออกจากระบบการศึกษาในระดับชั้นประถม เนื่องจากมีอุปสรรคด้านภาษาในห้องเรียนและครูไร้ความสามารถที่จะรับมือกับห้องเรียนที่มีเด็กพูดกันหลายภาษาและมาจากหลายวัฒนธรรม โดยโครงการนี้อยู่ในรูปแบบไฮบริด (hybrid format) ที่มีโมดูลการเรียนรู้แบบเห็นหน้า (face-to-face learning module) และทางไกล (distance learning module) โดยใช้โซลูชันแบบโลว์เทค เช่น โทรทัศน์วิทยุ และการส่งข้อความ

สื่อมวลชนติดต่อ:

ดร. ฌราทานจาลี นายัค (Dr. Shradhanjali Nayak)
อีเมล: director.pr@kiit.ac.in
โทร. +91 674 2725636 

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1894670/KISS_Foundation.jpg
รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1894669/Achyuta_Samanta_with_students.jpg
โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/1507512/KISS_Logo.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad