วิชาชีพด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งอนาคต - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

วิชาชีพด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งอนาคต

 วิชาชีพด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งอนาคต

นายมาร์โค พรีอุส รองผู้อำนวยการฝ่าย ทีมวิจัยและวิเคราะห์ (GReAT) ของแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มอาชีพในอนาคตที่จะเกิดขึ้นด้วยกระแสของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

ปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในทุกแง่มุมของชีวิตส่งผลให้มีอุปกรณ์ดิจิทัลเพิ่มขึ้นตามมา ก่อให้เกิดความท้าทายในด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นตลอดเวลา ในขณะที่ความสามารถในการปกป้องข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาขึ้นตามเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้พร้อมรับมือกับภัยคุกคาม ผลที่ตามมาคือ งานแบบรูทีน เช่น การเฝ้าระวังจะถูกดำเนินการโดยระบบอัตโนมัติมากขึ้น ในขณะที่บุคลากรจะขยับไปยังสายงานที่มีความสร้างสรรค์และท้าทายกว่าเดิม ซึ่งวิชาชีพเหล่านี้อาจฟังดูเพ้อฝันในวินาทีแรกที่ได้ยิน แต่การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีจะสามารถทำให้สาขาวิชาชีพเหล่านี้กลายเป็นความจริงได้ภายในเวลาแค่ไม่กี่ปีหรือไม่กี่ทศวรรษ นายมาร์โค พรีอุส รองผู้อำนวยการฝ่าย ทีมวิจัยและวิเคราะห์ (GReAT) ของแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มอาชีพในอนาคตที่จะเกิดขึ้นด้วยกระแสของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไว้อย่างน่าสนใจ ดังต่อไปนี้

วิศวกรระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์อวกาศ (Space cybersecurity engineer)

หากนึกไม่ออกว่าเทคโนโลยีด้านอวกาศมาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไรก็ให้นึกถึงดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกของเราดู ดาวเทียมคือเทคโนโลยีด้านอวกาศที่เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของเรามากที่สุด ด้วยการใช้งานในด้านระบบนำร่อง (GPS) การกระจายเสียงและแพร่ภาพโทรทัศน์ และยังรวมไปถึงระบบการสื่อสารด้วย ยิ่งเราใช้เทคโนโลยีที่ต้องพึ่งพาดาวเทียมมากเท่าไร สิ่งอำนวยความสะดวกบนอวกาศชนิดนี้ก็ยิ่งตกเป็นเป้าการโจมตีจากบรรดาโจรไซเบอร์มากขึ้นเท่านั้น โดยการรบกวนสัญญาณข้อมูลคือสถานการณ์การถูกโจมตีที่มีความรุนแรงต่ำที่สุดเท่าที่จะมีความเป็นไปได้

ดังนั้น ดาวเทียมและอุตสาหกรรมด้านอวกาศทั้งหมดจึงจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่สามารถคาดการณ์และรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่นี้อย่างเต็มกำลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงระบบควบคุมความปลอดภัยและระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบนำร่อง ระบบควบคุมเครื่องยนต์ ระบบพยุงชีพ หรือแม้กระทั่งระบบโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องอวกาศ การทำเหมืองแร่บนดาวเคราะห์น้อยและการสรางสถานีอวกาศจะยิ่งสร้างความต้องการในตัวผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์นอกโลกมากขึ้น

ผู้ฝึกสอน AI (AI mentor)

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีด้าน AI รวมถึงระบบสนับสนุนที่นำ AI มาประยุกต์ใช้ เช่น ระบบผู้ช่วยแบบสนทนา ได้แก่ Siri, Alexa, Cortana และอื่น ๆ ไม่ได้ส่งผลแค่ทำให้เทคโนโลยีใหม่สามารถเข้าถึงได้เท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดข้อสงสัยใหม่ ๆ ขึ้นตามมา เช่น ความเป็นส่วนตัวและการรักษาความปลอดภัยในระบบที่มีความซับซ้อนสูงที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน การควบคุม การกำกับดูแล และการเฝ้าระวังเป็นปัจจัยสำคัญที่ชาดไม่ได้และก้าวข้ามประเด็นของการดูแลจัดการผลิตภัณฑ์และการพัฒนาทักษะความชำนาญเฉพาะทางไปแล้ว วิลเลียน กิ๊บสัน ได้ให้นิยามของคำว่า “Turing Police” ว่าเป็นกองกำลังที่จะเข้าควบคุม AI และระบบที่มีพื้นฐานบน AI ในเทคโนโลยียุคอนาคต เราอาจตีความ AI Mentor หรือผู้ฝึกสอน AI ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาใหม่ที่ทำหน้าที่ในการดูแลและควบคุมเทคโนโลยีเหล่านี้ โดยความรับผิดชอบของผู้เป็น Mentor อาจประกอบด้วย การสอน AI ในเรื่องการเข้าถึงข้อมูล ข้อจำกัดเชิงวิวัฒนาการ และการปฏิบัติตัวให้เป็นเหมือนพ่อแม่ของ AI จากความซับซ้อนซ่อนเงื่อนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ของเทคโนโลยีเหล่านี้ตลาดแรงงานจึงมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญในลักษณะนี้ค่อนข้างสูง


       

อีกหนึ่งบทบาทที่น่าสนใจจึงควรเป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอน AI ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เน้นรับผิดชอบในด้านการสร้างปุ่ม “stop” สมมุติในการป้องกันไม่ให้ระบบ AI คิดและทำงานด้วยตัวของมันเอง เรื่องนี้จึงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบป้องกัน AI ทำงานลัดวงจรและสร้างแผนสำรองในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดระบบล่ม

นักพัฒนาภูมิคุ้มกันไซเบอร์ (Cyber Immunity developer)

เป็นเวลานานนับทศวรรษที่มนุษย์สร้างเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาเป็นอันดับแรกแล้วจึงค่อยมาคำนึงถึงการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ลงในสิ่งประดิษฐ์ของตนในภายหลัง ด้วยเหตุนี้เพื่อทำให้โลกใบนี้ปลอดจากภัยคุกคามยิ่งขึ้นเราจำเป็นต้องสร้างแนวคิด “การรักษาความปลอดภัยมาก่อน” ขึ้นมา โซลูชั่นที่มีกานติดตั้งมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มาในตัวจะช่วยในการนำแนวคิดนี้มาใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้ตัวอุปกรณ์มีคุณสมบัติในด้านภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์เป็นพื้นฐาน นั่นหมายความว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีระบบรักษาความปลอดภัยแบบติดตั้งภายในตัวในการปกป้องตนเองจากภัยคุกคามต่าง ๆ

ประเด็นนี้จึงเป็นการสร้างความต้องการนักพัฒนาระบบที่มีทักษะความชำนาญเฉพาะในด้านที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยพวกเขาจะสร้างระบบที่มีการปลูกฝังภูมิคุ้มกันขึ้นมาเรียกว่ามีความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบระบบ ซึ่งระบบเหล่านี้จะสร้างความลำบากต่อการแฮคและภัยคุกคามทั่วไปก็จะไม่สามารถแอบแฝงหรือปกปิดฟังก์ชั่นในการสร้างความเสียหายของตัวเองได้

ผู้จัดการฝ่ายรับมือภัยคุกคาม (Threat endurance manager)

การโจมตีทางไซเบอร์สามารถก่อให้เกิดปัญหาที่กระทบต่อกระบวนการผลิตหรือกระบวนการทางธุรกิจได้ เรื่องนี้จึงมิได้มีผลกระทบแค่ความน่าเชื่อถือของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงความสูญเสียทางการเงินด้วย ลองนึกภาพที่แฮคเกอร์เข้ามาโจมตีก่อกวนระบบของโรงงานผลิตโลหะขนาดใหญ่และทำให้ระบบของโรงงานล่มจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นเวลา 1 วัน ทำให้โรงงานไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามออเดอร์ปริมาณมหาศาลส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเสียหายเป็นมูลค่านับล้านดอลลาร์

ผู้จัดการฝ่ายรับมือภัยคุกคามจึงเป็นที่ต้องการอย่างสูงภายในพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญหรือในบริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถปล่อยให้ระบบถูกปิดได้ โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้จะทำหน้าที่ในการดำเนินการให้กระบวนการทางธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปและยังปกป้องบริษัทได้โดยอาศัยการควบคุมระบบ IT รวมถึงรับมือการโจมตีทางไซเบอร์และบริหารจัดการปัญหาข้อผิดพลาดทั้งจากมนุษย์และจากซอฟต์แวร์ได้

ผู้ตรวจสอบด้านไซเบอร์ (Cyber investigator)

อันที่จริง นี่เป็นอาชีพที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สายอาชีพนี้จะมีความซับซ้อนและหลากหลายขึ้นกว่าเดิม โดยเป็นไปตามความซับซ้อนที่สูงขึ้นของระบบดิจิทัลและแนวโน้มในการก้าวเข้าสู่ยุคของระบบอัตโนมัติ

โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการสถานการณ์หลังเกิดการโจมตีเข้าสู่ระบบ ซี่งครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบทั้งหมดและการกำจัดสิ่งที่เป็นภัยคุกคามต่อองค์กร ตัวอย่างเช่น ที่แคสเปอร์สกี้จะมีการเก็บ ”หลักฐาน” โดยดูจากความเสียหายที่เกิดขึ้น และทำการวิเคราะห์ล็อกและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบเน็ตเวิร์ก จากนั้นจึงสร้างเครื่องมือในการตรวจจับภัยคุกคามที่แฝงตัวและปฏิบัติการต่อเนื่องจากนั้น ผู้ตรวจสอบด้านไซเบอร์ที่เป็น “เจนเนอเรชั่นใหม่” จะต้องมีทักษะที่ไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมและการแฮคระบบเท่านั้น แต่ยังต้องมีจิตวิทยาและความสามารถในการตัดสินใจในสถานการณ์วิกฤติอีกด้วย นอกจากนี้ ต้องมีความรู้ความชำนาญในด้าน AI และเทคโนโลยีโรบอตด้วย เพราะจะต้องเข้ามาทำงานในระบบที่พึ่งเกิดขึ้นมาใหม่

ที่ปรึกษาด้าน Digital footprint (Digital footprint consultant)

ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคตต่อการปกป้องภาพลักษณ์ของแบรนด์ แม้ชื่อบริษัทกับแบรนด์จะเป็นที่รับรู้ในสังคมอย่างกว้างขวางผ่านการกำหนดและได้รับอิทธิพลจากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์และช่องทางสื่อสารภายนอก แต่การจารกรรมระบบ ข้อมูลที่หลุดรั่ว การกระหน่ำโจมตีและปัจจัยที่เกี่ยวพันกับเครือข่ายใต้ดินก็มีผลต่อแบรนด์เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านลบ อาชญากรไซเบอร์ที่เป็นมืออาชีพจึงเป็นที่รู้จักกันดีในด้านของการล้วงข้อมูลลับเพื่อนำมาแบล็คเมลบริษัทเป้าหมายเพื่อบีบให้พวกเขาต้องรักษาชื่อเสียงอันดีงามเอาไว้ ผู้เชี่ยวชาญในอนาคตจึงต้องมีทักษะเฉพาะทางในการรับมือเพื่อปกป้องภาพลักษณ์และชื่อเสียงของธุรกิจในการแข่งขันที่ดุเดือด

บอดี้การ์ดดิจิทัล (Digital bodyguard)

โดยทั่วไปสายอาชีพนี้จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาในด้านการปกป้องตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งทำหน้าที่เหมือนบอดี้การ์ดในโลกแห่งความเป็นจริง โดยพวกเขาจะปกป้องผู้ว่าจ้างจากการถูก doxing (คำแสลงที่มาจาก docs หรือ documents) เมื่ออาชญากรไซเบอร์เก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลออกไปเพื่อการล้างแค้น หรือ cyberstalking อันหมายถึงการสะกดรอยตามเหยื่ออย่างเป็นระบบ คุกคามและหรือข่มขู่เหยื่อ บอดี้การ์ดเหล่านี้จะเข้ามาช่วยในการปกป้องตัวตนทางดิจิทัลและสภาพสุขอนามัยทางไซเบอร์โดยการทำความสะอาดบัญชีและประวัติทางดิจิทัลของผู้ว่าจ้างรวมถึงให้คำแนะนำและการสนับสนุนต่อการใช้ชีวิตในโลกเสมือนจริง

ข้อมูลจาก Cyberbullying Research Center ในปี 2021 ระบุว่า นักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายในสหรัฐอเมริกากว่า 46% ต้องเผชิญกับการถูกคุกคามทางไซเบอร์มาตลอดชีวิตของพวกเขา ปัญหานี้ยังส่งผลกระทบถึงวัยผู้ใหญ่อีกด้วย โดยข้อมูลของ Pew Research Center ระบุว่า ผู้ใหญ่มากกว่า 40% มีประสบการณ์ในการถูกคุกคามออนไลน์ในปี 2020 ใยบางรายยังมีการคุกคามบนโลกแห่งความจริงและการทำร้ายร่างกายเข้ามาร่วมด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ให้คำปรึกษาเชิงรุกจะสามารถช่วยให้พวกเชาปกป้องตัวเองและคนในครอบครัวต่อภัยคุกคามในลักษณะนี้ได้ และหากมีใครที่เข้าข่ายจะเป็นผู้กระทำการปรากฏตัวขึ้น พวกเขาจะทำหน้าที่เป็น รปภ. ส่วนตัวแบบไซเบอร์ เพื่อช่วยเหลือผู้ว่าจ้างในการรับมือกับเหตุการณ์ในเชิงของจิตวิทยาอีกด้วย ในหลายประเทศการคุกคามทางไซเบอร์ถือเป็นอาชญากรรม ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้จึงเป็นที่ต้องการของตลาดในการปกป้องชีวิตบนโลกดิจิทัลให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

แล้วเรื่องทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องอะไรกับเรา?

เราแทบจะระบุตัวธุรกิจที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้เลย เพราะในปัจจุบันแม้กระทั่งธุรกิจที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไรจากธุรกิจนี้ก็ยังมีการตั้งแผนกรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขึ้นมาเป็นของตัวเอง เช่น Apple มีทีมงานภายในที่ทำหน้าที่รับมือกับการรักษาความปลอดภัยแบบเอ็นด์พ้อยต์

แล้วยังไงหรือ ก็เพราะนี่คือสิ่งสำคัญที่ผู้นำองค์กรต้องตระหนักว่าผลิตภัณฑ์และการปฏิบัติงานทางดิจิทัลในอนาคตจะส่งผลอย่างไรต่อสถานที่ทำงาน และช่วยให้สร้างการตัดสินใจที่ทำให้องค์กรสามารถเติบโตและมีความพร้อมในการรับมือต่อความท้าทายจะเข้ามาในอนาคตได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad