การประชุมสุดยอดอีตานไพรซ์ ประจำปี 2565: เวทีเน้นย้ำการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถนักการศึกษา
ฮ่องกง, /พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
มูลนิธิอีตานไพรซ์ (Yidan Prize Foundation) มูลนิธิการกุศลระดับโลกที่อยู่เบื้องหลังรางวัลการศึกษาสูงสุดของโลก เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอีตานไพรซ์ (Yidan Prize Summit) ประจำปี 2565 เมื่อวานนี้
ครูกำลังเผชิญกับความท้าทายที่มากขึ้นและซับซ้อนกว่าเดิม โดยในการประชุมการประชุมสุดยอดการปฏิรูปการศึกษา (Transforming Education Summit หรือ TES) เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา สหประชาชาติได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายสนับสนุนครูให้มากขึ้น และในการประชุมสุดยอดรางวัลอีตานในปีนี้ ก็ได้รวบรวมผู้นำด้านการศึกษา นโยบาย และการกุศล เพื่อหารือเกี่ยวกับความหมายของการเป็นครูในวันนี้และวันหน้า
ในการอภิปรายซึ่งมีหลายกลุ่ม ผู้ร่วมอภิปรายได้หารือถึงแนวทางที่ส่งผลดีต่อการสนับสนุนการพัฒนานักการศึกษาและการเสริมสร้างศักยภาพ ความสำคัญของการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายการศึกษากับการปฏิบัติ นวัตกรรมในการเรียนการสอนแบบสะเต็ม (STEM) และการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน
ดร. ชาร์ส เฉิน อี้ตาน (Charles CHEN Yidan) ผู้ก่อตั้งอีตานไพรซ์ กล่าวว่า "การศึกษาคือระบบนิเวศ และเพื่อให้ระบบนิเวศนี้เติบโตได้ จะต้องจัดเตรียมเงื่อนไขที่ยอมรับและสนับสนุนงานที่จำเป็นของนักการศึกษา และช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้"
ดร. ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ (Linda Darling-Hammond) ผู้ได้รับรางวัลอีตาน สาขาการวิจัยด้านการศึกษา ประจำปี 2565 ได้อภิปรายร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสที่เกิดขึ้นในด้านการศึกษาในช่วงการระบาด เธอได้เน้นย้ำถึงโปรแกรมการเตรียมความพร้อมครู ที่สามารถเตรียมครูให้พร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยใช้ตัวอย่างจากระบบการศึกษาในจีน นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา ขณะที่ผู้ร่วมอภิปรายคนอื่น ๆ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการวิจัย การปฏิบัติ และนโยบาย
ในกลุ่มที่สองเป็นการอภิปรายของเจ้าของรางวัลอีตาน สาขาการวิจัยด้านการศึกษา ปี 2563 และผู้ก่อตั้งพีเอชอีที อินเตอร์แอคทีฟ ซิมูเลชันส์ (PhET Interactive Simulations) อย่างศาสตราจารย์ คาร์ล วีแมน (Carl Wieman) ร่วมกับดร. แคธี เพอร์กินส์ (Kathy Perkins) ผู้อำนวยการพีเอชอีที อินเตอร์แอคทีฟ ซิมูเลชันส์ และซาคาเรียห์ เอ็มบาซู (Zachariah Mbasu) ทูตแอฟริกาของพีเอชอีที โดยพวกเขาอภิปรายว่า นวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การจำลองทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เชิงโต้ตอบของพีเอชอีที สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในห้องเรียนได้ ด้วยการขจัดอุปสรรค และทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในกระบวนการเรียนรู้ และยังได้อภิปรายถึงวิธีที่โปรแกรมต่าง ๆ เช่น พันธมิตรพีเอชอีที (PhET Fellowship) ช่วยเร่งการนำแนวปฏิบัติด้านการสอน และการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมและการวิจัยมาใช้ในสะเต็มศึกษา
และในการอภิปรายกลุ่ม ศาสตราจารย์ หย่งซิน จู (Yongxin Zhu) ผู้ได้รับรางวัลอีตาน สาขาการพัฒนาการศึกษา ปี 2565 ได้แบ่งปันตัวอย่างอันทรงพลังเกี่ยวกับแรงจูงใจของครู และแนวปฏิบัติในการพัฒนาวิชาชีพ จากประสบการณ์กว่า 20 ปีที่นิว เอดูเคชัน อินิชิเอทีฟ ในประเทศจีน ขณะที่ผู้ร่วมอภิปรายได้แบ่งปันกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายเพื่อนที่เข้มแข็ง ซึ่งเชื่อมโยงและส่งเสริมครูให้เรียนรู้จากกันและกัน และยังอภิปรายเกี่ยวกับวิธีที่ฮับการเรียนรู้ออนไลน์ได้เปลี่ยนแปลงและปรับโอกาสการเรียนรู้ทางออนไลน์ของครู ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสำคัญมากในช่วงการระบาดและหลังการระบาด
การประชุมสุดยอดนี้ยังได้สำรวจบทบาทที่พัฒนาขึ้นของการกุศล โดยตัวแทนจากมูลนิธิดี เอช เฉิน (D. H. Chen Foundation) และมูลนิธิเป่ย ชาน ถัง (Bei Shan Tang Foundation) ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการศึกษา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูในท้องถิ่น ขณะที่ครูจากโรงเรียนหลายแห่งในฮ่องกงได้แบ่งปันตัวอย่างโครงการนำร่องที่เตรียมนักการศึกษาในเชิงรุก เพื่อบ่มเพาะนักเรียนที่พร้อมสำหรับอนาคต
มอบรางวัลให้กับผู้ได้รับรางวัลอีตาน ประจำปี 2565
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ดร.ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ และศาสตราจารย์ หย่งซิน จู ได้รับรางวัลอีตาน ประจำปี 2565 อย่างเป็นทางการ ในสาขาการวิจัยด้านการศึกษาและสาขาการพัฒนาการศึกษาตามลำดับ จากผลงานการเสริมศักยภาพให้กับครูและเยาวชนให้มีทักษะที่จำเป็นในการเติบโตในศตวรรษที่ 21 และจะได้ร่วมในชุมชนผู้เปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาระดับโลกของมูลนิธิอีตานไพรซ์ และสภาผู้ทรงคุณวุฒิอีตาน
เปิดให้เสนอชื่อผู้รับรางวัลอีตาน ประจำปี 2566 แล้ว
เปิดรับการเสนอชื่อผู้เข้าชิงรางวัลอีตาน ประจำปี 2566 แล้ว และจะปิดในวันที่ 31 มีนาคม 2566 โดยมูลนิธิอีตานไพรซ์จะจัดการสัมมนาออนไลน์ในวันที่ 18 มกราคม 2566 เพื่อแบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรางวัล วิธีเข้าร่วม และเกณฑ์ของกรรมการ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอีตานได้ที่เว็บไซต์ของมูลนิธิอีตานไพรซ์: https://yidanprize.org/the-prize/nominations/
เกี่ยวกับมูลนิธิอีตานไพรซ์
มูลนิธิอีตานไพรซ์ (Yidan Prize Foundation) เป็นมูลนิธิการกุศลระดับโลก มีพันธกิจในการสร้างโลกที่ดีกว่าด้วยการศึกษา ด้วยรางวัลและเครือข่ายนักนวัตกรรม มูลนิธิอีตานไพรซ์ สนับสนุนแนวคิดและการปฏิบัติทางด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่ชีวิตและสังคม
อีตานไพรซ์ เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติด้านการศึกษา เพื่อยกย่องบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อทฤษฎีและการปฏิบัติด้านการศึกษา โดยมี 2 รางวัลควบคู่กัน ได้แก่ อีตานไพรซ์สาขาการวิจัยการศึกษา และอีตานไพรซ์สาขาการพัฒนาการศึกษา ซึ่งเป็นรางวัลที่ออกแบบมาเพื่อสร้างผลกระทบ ผู้ได้รับรางวัลจะได้รับทุนสนับสนุนโครงการ 15 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงตลอด 3 ปีเพื่อช่วยพวกเขาขยายงาน และยังจะได้รับเหรียญทองและรางวัลเงินสด 15 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (สมาชิกในทีมหารแบ่งเท่ากัน)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ yidanprize.org หรือติดต่อ media@yidanprize.org
ติดตามเราได้ทางเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ และลิงด์อิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น