อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิส: คาดช่องทางอีคอมเมิร์ซดีดตัวสองเท่าภายในปี 2573 และตลาดมือสองเติบโตไปอยู่ที่ 35 พันล้านฟรังก์สวิสทั่วโลก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566

อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิส: คาดช่องทางอีคอมเมิร์ซดีดตัวสองเท่าภายในปี 2573 และตลาดมือสองเติบโตไปอยู่ที่ 35 พันล้านฟรังก์สวิสทั่วโลก

deloitte-ch-en-swiss-watch-industry-study-2022_Page_01_copy_1024x942

อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิส: คาดช่องทางอีคอมเมิร์ซดีดตัวสองเท่าภายในปี 2573 และตลาดมือสองเติบโตไปอยู่ที่ 35 พันล้านฟรังก์สวิสทั่วโลก

กรุงเทพฯ มกราคม 2566 – จากสัดส่วนผู้บริโภคถึงสองในห้าที่มีแผนซื้อนาฬิกาผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ธุรกิจ
อีคอมเมิร์ซของอุตสาหกรรมนาฬิกามีแนวโน้มเติบโตขึ้นเป็นสองเท่าภายในสิ้นทศวรรษนี้ ในขณะเดียวกัน นาฬิกามือสอง
ยังเป็นที่ต้องการสูง โดยผู้บริโภคคิดเป็น 
ใน 3 (ร้อยละ 31) มีแผนที่จะซื้อนาฬิกามือสองในอีก 12 เดือนข้างหน้า และสัดส่วนที่ว่าจะยิ่งสูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี โดยเกือบครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มนี้ (ร้อยละ 48) มีแผนที่จะซื้อนาฬิกามือสองทำให้ตลาดนาฬิกามือสองมีแนวโน้มเติบโตจาก 20 พันล้านฟรังก์สวิสเป็น 35 พันล้านฟรังก์สวิสภายในปี 2573 คิดเป็น มากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดหลัก ผู้บริโภคยังมองว่านาฬิกาหรูเป็นสินค้าเพื่อการลงทุนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในจีน และฮ่องกง โดยมีผู้ซื้อนาฬิกาหนึ่งในสามที่ตัดสินใจซื้อเพื่อการลงทุนหรือเพื่อการขายต่อ จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และการที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจในเทคโนโลยีดิจิทัลกลายมาเป็นกลุ่มผู้ซื้อหลักของนาฬิกาหรู อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสจึงต้องพิจารณาขยายช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ โดยคำนึงถึงความนิยมเลือกซื้อนาฬิกามือสองที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค และแนวโน้มของการซื้อนาฬิกาเพื่อการลงทุนที่กำลังเติบโต

ในแง่ของการเติบโต ผู้บริหารส่วนใหญ่เชื่อว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกของอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิส ที่สำคัญที่สุดนั้น จะยังคงเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงต่อไป ตามมาด้วยประเทศอินเดีย และประเทศจีน ทั้งนี้ การคาดการณ์การเติบโตนั้นจะแตกต่างกันไปอย่างมากตามแต่ละภูมิภาค ตัวอย่างเช่น คาดว่ายอดจำหน่ายในฮ่องกงจะยังคงลดลงต่อไปหรือซบเซา ในขณะที่ผู้บริหารเพียงร้อยละ 57 เชื่อว่าตลาดจีน จะเติบโต ซึ่งต่างกับในกรณีของตลาดอเมริกาเหนืออย่างสิ้นเชิง เพราะผู้บริหารมากกว่าสามในสี่ (ร้อยละ 77) คาดว่าตลาดนี้จะเติบโต

อีคอมเมิร์ซมาแรง

เมื่อพูดถึงการซื้อนาฬิการ้อยละ 40 ของผู้บริโภคทั้งหมดและร้อยละ 45 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี มีแนวโน้มที่จะซื้อนาฬิกาใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารในอุตสาหกรรมนาฬิกาส่วนใหญ่เชื่อว่าการจำหน่ายหน้าร้านแบบเดิมจะยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญที่สุดต่อไปในอนาคตอันใกล้

ผู้บริโภคจำนวนสองในห้าต้องการซื้อนาฬิกาผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่แบรนด์ต่าง ๆ ต้องหันมาขยายช่องทางอีคอมเมิร์ซให้มากขึ้น และเติมเต็มตัวเลือกสินค้าบนช่องทางออฟไลน์ แม้จะมีมากมายอยู่แล้ว เพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของลูกค้า Karine Szegedi Head of Consumer and Fashion & Luxury ประจำดีลอยท์ สวิสเซอร์แลนด์ กล่าวว่า จากการประมาณการของเรา ส่วนแบ่งการตลาดของช่องทางจำหน่ายนาฬิกาออนไลน์มีแนวโน้มที่จะดีดตัวขึ้นสองเท่าเป็นร้อยละ 30 ภายในปี 2573”

นาฬิกาในฐานะสินค้าเพื่อการลงทุ

ในภาพรวมแล้ว ผู้บริโภคเกือบหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23) ซื้อนาฬิกาเพื่อการลงทุนและขายต่อ โดยเห็นได้ชัดในประเทศสิงคโปร์ (ร้อยละ 33) ฮ่องกง (ร้อยละ 32) และประเทศจีน (ร้อยละ 29) ซึ่งอาจอธิบายเหตุผลว่าทำไมผู้บริโภคในตลาดภูมิภาคเอเชียบางแห่งจึงเต็มใจที่จะจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อนาฬิกามือหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคในประเทศจีนมากกว่าหนึ่งในสาม (35%) กล่าวว่า พวกเขายอมจ่ายตั้งแต่ 5,000 ฟรังก์สวิสขึ้นไปเพื่อซื้อนาฬิกามือหนึ่ง ในขณะเดียวกันในสวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศสมีเพียงผู้บริโภคเพียงร้อยละ และร้อยละ ตามลำดับเท่านั้นที่จะยอมจ่ายเงินดังกล่าว ผู้บริโภคที่ซื้อนาฬิกาไว้เพื่อการลงทุนตั้งใจที่จะขายต่อในราคาที่สูงขึ้นมีสัดส่วนร้อยละ 36 หรือมองหาการกระจายช่องทางการลงทุน ร้อยละ 33 โดยผู้บริโภคในประเทศจีน ร้อยละ55 สนใจเป็นพิเศษในการกระจายพอร์ตการลงทุนด้วยการซื้อนาฬิกา

ตลาดนาฬิกามือสองเติบโตต่อเนื่อง

จากการที่ลูกค้าเกือบหนึ่งในสาม (ร้อยละ 31) วางแผนซื้อนาฬิกามือสองในปีหน้า และบริษัทต่าง ๆ ได้จัดทำช่องทางจำหน่ายสินค้ามือสองของแบรนด์ขึ้นมาเอง กลุ่มสินค้ามือสองจึงได้รับความสนใจ ผู้บริโภคนิยมซื้อนาฬิกามือสองกันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มมิลเลนเนียลและGen Z โดยร้อยละ 48 ของผู้ตอบแบบสอบถามจากทั้งสองกลุ่มดังกล่าวระบุว่า พวกเขาสนใจซื้อนาฬิกามือสอง ส่วนสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่แล้ว พบว่าแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้พวกเขาเลือกซื้อนาฬิกามือสองคือโอกาสที่จะได้ซื้อนาฬิกาหรูในราคาที่ถูกกว่า คิดเป็นร้อยละ 44 และการได้ซื้อรุ่นที่เลิกผลิตไปแล้ว คิดเป็น ร้อยละ 29 นอกจากนี้ ร้อยละ 21 ยังระบุว่า พวกเขาเลือกซื้อนาฬิกามือสองด้วยเหตุผล ด้านสิ่งแวดล้อม

ผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถามมองตลาดรองในเชิงบวกมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยมากกว่าร้อยละ 70 มองว่าตลาดมือสองส่งเสริมการรับรู้แบรนด์และคุณค่าของแบรนด์ และพวกเขายินดีกับผลทางอ้อมในแง่ของการเพิ่มการรู้จักแบรนด์และการดึงความสนใจของผู้บริโภคให้กับอุตสาหกรรมนาฬิกาโดยรวม ตลาดมือสองมีศักยภาพในการเติบโตมหาศาล Szegedi กล่าว เมื่อดูจากแนวโน้มในปัจจุบันและความจริงที่ว่าแบรนด์ต่าง ๆ ยังคงเดินหน้าลงทุนในด้านนี้ เราคาดว่า ขนาดของตลาดปัจจุบันที่ประมาณ 20 พันล้านฟรังก์สวิสจะเติบโตมากขึ้นในปีต่อ ๆ ไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีแนวโน้มว่าจะสูงถึงเกือบ 35 พันล้าน ฟรังก์สวิสภายในสิ้นทศวรรษนี้ ซึ่งคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดหลัก

 าพลักษณ์ของแบรนด์หรือความยั่งยืน

หนึ่งในสี่ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถาม การเป็นเจ้าของนาฬิกาข้อมือกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้น ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ซึ่งสัดส่วนนี้ยิ่งสูงมากขึ้นในกลุ่มมิลเลนเนียล (ร้อยละ 35) และ Gen Z (ร้อยละ 33) การที่คนรุ่นใหม่หันมาสนใจนาฬิกาเพิ่มมากขึ้นทำให้เราสันนิษฐานได้ว่า ความยั่งยืนได้กลายมาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม มีเพียง ร้อยละ 32 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามเท่านั้น ที่เชื่อว่าความยั่งยืนมีความสำคัญมากกว่าภาพลักษณ์ของแบรนด์ และผู้บริโภคในจำนวนเดียวกันนี้กล่าวว่า หากชอบนาฬิกาสักเรือน พวกเขาจะไม่ได้สนใจเรื่องความยั่งยืน ในขณะที่หนึ่งในห้า (ร้อยละ 21) กล่าวว่า ภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความสำคัญต่อพวกเขามากกว่าความยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนาฬิกามีมติร่วมกันอย่างชัดเจนว่า พวกเขาจำเป็นต้องมีส่วนช่วยในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน มากขึ้น และแบรนด์ต่าง ๆ ได้มีการดำเนินการในด้านนี้ไปแล้วหลายขั้นตอน ผู้บริหารในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ (ร้อยละ 64) มองว่า การจัดหาวัสดุอย่างมีจริยธรรมและประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในแง่ของความยั่งยืนตามด้วย การรายงานผลการดำเนินงานและการปฏิบัติตามข้อบังคับ (ร้อยละ 21) และบรรจุภัณฑ์ (ร้อยละ 12) “แม้ว่าอุตสาหกรรม นาฬิกาสวิสจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีมานานแล้ว แต่ก็เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ล้ำสมัยที่สุด" Karine Szegedi อธิบาย จิตวิญญาณแห่งนวัตกรรมนี้นับเป็นกุญแจสำคัญในการตามหาวัสดุใหม่ ๆ ที่เป็นวัสดุหมุนเวียน มีความยั่งยืนมากขึ้น และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad