ส่งออกไทยเดือน พ.ย. น่าห่วง หดตัวแรงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ แนวโน้มการส่งออกสินค้าของไทยส่งสัญญาณไม่สดใสต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ตลาดตะวันออกกลางอจเป็นโอกาสของส่งออกไทย - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566

ส่งออกไทยเดือน พ.ย. น่าห่วง หดตัวแรงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ แนวโน้มการส่งออกสินค้าของไทยส่งสัญญาณไม่สดใสต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ตลาดตะวันออกกลางอจเป็นโอกาสของส่งออกไทย

 


Flash_Export_Nov_20221227.jpg


มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน พ.ย. หดตัวแรงเป็นเดือนที่ 2 ต่อเนื่อง

มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 22,308 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -6%YOY (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) ต่อเนื่องจาก -4.4% ในเดือน ต.ค. นับเป็นการหดตัวสองเดือนติดต่อกันหลังจากขยายตัวต่อเนื่อง นาน 20 เดือน หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าแบบปรับฤดูกาล ตัวเลขการส่งออกเดือนพฤศจิกายนฟื้นตัว 2.5%MOM_sa จากที่เคยหดตัวรุนแรง -8.5%MOM_sa ในเดือนก่อน ทั้งนี้หากพิจารณามูลค่าการส่งออกหักทองคำ (ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้สะท้อนการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจริง) การส่งออกไทยหดตัว 5.1%YOY สำหรับภาพรวมการส่งออกของไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2022 ขยายตัวได้ 7.6%

สินค้าส่งออกหลักหดตัวเกือบทุกกลุ่ม ยกเว้นรถยนต์และส่วนประกอบ

ภาพรวมการส่งออกรายกลุ่มสินค้าในเดือนพฤศจิกายนหดตัวเกือบทุกกลุ่ม โดย (1) สินค้าเกษตรหดตัวสูงขึ้น -4.5% ต่อเนื่องจาก -4.3% ในเดือนตุลาคม โดยการส่งออกยางพาราหดตัวลงมากตามความต้องการของตลาดโลกที่ลดลงในช่วงวิกฤติ COVID-19 ขณะที่ไก่แปรรูป ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งขยายตัวดีในเดือนนี้ (2) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรพลิกกลับมาขยายตัวเล็กน้อย 1% จากที่หดตัว -2.3% ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ส่งออกดีต่อเนื่องมาตลอด 20 เดือน โดยการส่งออกน้ำตาลทรายและผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวได้ดี (3) สินค้าอุตสาหกรรมหดตัว -5.1% เพิ่มขึ้นจาก -3.5% ในเดือนตุลาคม โดยกลุ่มสินค้าที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ 5.5% ที่เร่งตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ 5.1%  รวมถึงหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป เม็ดพลาสติก อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (4) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงหดตัว -35% ต่อเนื่องจาก -23.9% ในเดือนก่อนตามอุปสงค์ที่ลดลงและปัจจัยด้านราคาที่ชะลอตัวลง

การส่งออกไปจีนหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ตลาด CLMV หดตัวครั้งแรกในรอบ 15 เดือน

การส่งออกรายตลาดในภาพรวมยังหดตัว สะท้อนอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว โดย (1) ตลาดจีนหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 อยู่ที่ -9.9% (2) ตลาดสหรัฐฯ และยุโรป (EU28) พลิกกลับมาขยายตัวจากที่หดตัวในเดือนก่อน แต่ขยายตัวต่ำหากเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่ 1.2% และ 3.3% ตามลำดับ สอดคล้องกับสัญญาณเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลงมาก ขณะที่ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศหลักทั้งสองที่เพิ่มขึ้น (3) ตลาด CLMV ที่เคยขยายตัวดีพลิกกลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบ 15 เดือนที่ -0.3% จาก 10.6% ในเดือนก่อน ขณะที่ตลาด ASEAN5 หดตัวมากขึ้น -15.5% เทียบกับที่เริ่มหดตัว -13.1% ในเดือนตุลาคม อย่างไรก็ดี ตลาดตะวันออกกลางยังขยายตัวได้ต่อเนื่องและเป็นตลาดหลักเดียวของส่งออกไทยที่ขยายตัว 10 เดือนติดต่อกัน

ดุลการค้าขาดดุลต่อเนื่อง

มูลค่าการนำเข้าของไทยในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 23,650.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พลิกกลับมาขยายตัวที่ 5.6% เทียบกับ -2.3% ในเดือนตุลาคม โดยเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่เร่งขึ้นมาก 50.6%YOY เทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวเพียง 7.5% อีกทั้ง การนำเข้าอาวุธ ยุทธปัจจัย ขยายตัวถึง 2,027.6% จากปัจจัยฐานต่ำ และการนำเข้าสินค้าทุน เช่น เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเครื่องมือแพทย์ เครื่องบินและอุปกรณ์การบินขยายตัวได้ดี ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยยังคงชะลอตัวช้ากว่ามูลค่าการส่งออกมาก ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและสัญญาณเศรษฐกิจโลกโดยรวมชะลอตัวลง ส่งผลให้ดุลการค้าในระบบศุลกากรเดือนนี้ขาดดุล -1,342.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 โดยรวม 11 เดือนแรกของปี 2022 มูลค่าการนำเข้าขยายตัวดี 16.3% และดุลการค้าขาดดุล -15,088.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แนวโน้มการส่งออกสินค้าของไทยส่งสัญญาณไม่สดใสต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ตลาดตะวันออกกลางอาจเป็นโอกาสของส่งออกไทย

ในระยะต่อไปส่งออกไทยยังคงน่าห่วงจาก (1) ข้อมูลดัชนี Global Manufacturing PMI ที่ลดลงมาอยู่ในระดับ 48.8 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นการหดตัวในภาคการผลิตที่รุนแรงสุดในรอบ 29 เดือน นอกจากนี้ หากพิจารณาในดัชนีย่อยของ PMI พบว่ายอดคำสั่งซื้อใหม่และยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศปรับลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ระดับงานคงค้างลดลงเช่นเดียวกัน สะท้อนแนวโน้มความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลงมากในระยะข้างหน้าตามทิศทางเศรษฐกิจโลก ในทางตรงกันข้ามอุปสงค์ที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ปัญหาการขาดแคลนอุปทานคลี่คลายลงบ้าง สะท้อนจากดัชนีย่อย PMI หมวดระยะเวลาในการส่งมอบสินค้าพบว่า แม้ยังต่ำกว่าระดับ 50 แต่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (2) ข้อมูลการส่งออก 20 วันแรกของเกาหลีใต้ในเดือนธันวาคมที่ยังหดตัวต่อเนื่อง -8.8% แม้รุนแรงน้อยกว่า -16.7% ในเดือนก่อน และ (3) การส่งออกของจีนในเดือนพฤศจิกายนหดตัว -8.9% รุนแรงที่สุดในรอบ 33 เดือน เทียบกับเดือนตุลาคมที่หดตัวเล็กน้อย ด้านการนำเข้าของจีนหดตัว -10.6% นับเป็นการหดตัวสองเดือนติดต่อกันและรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 นอกจากนี้ จีนนำเข้าสินค้าไทยลดลง -14.1% นับเป็นการหดตัว 8 ครั้งในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ การยกเลิกมาตรการ Zero-COVID ของจีนที่เพิ่งประกาศอาจมีส่วนช่วยให้ความต้องการสินค้าในตลาดจีนเพิ่มสูงขึ้นในระยะข้างหน้า แต่ผลกระทบในระยะสั้นนี้อาจมีไม่มากนักเนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูง อีกทั้ง เศรษฐกิจและอุปสงค์ในการบริโภคในจีนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ โดยสรุปจากข้อมูล 3 ประการที่กล่าวมานี้ สะท้อนให้เห็นอุปสงค์ตลาดโลกที่ลดลงชัดเจน ส่งผลต่ออุปสงค์ของสินค้าจากไทยที่อาจลดลงเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความท้าทายในระยะข้างหน้า ตลาดตะวันออกกลางอาจเป็นโอกาสของส่งออกไทย จากมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ประกอบกับเป็นตลาดที่มีศักยภาพเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดซาอุดีอาระเบีย  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ ในสินค้าส่งออกกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์  วัสดุก่อสร้างและเครื่องปรับอากาศ

Slide1_SCB-EIC_ส่งออกไทย-พ.ย.-65.JPG
Slide2_SCB-EIC_ส่งออกไทย-พ.ย.-65.JPG
Slide3_SCB-EIC_ส่งออกไทย-พ.ย.-65.JPG
Slide4_SCB-EIC_ส่งออกไทย-พ.ย.-65.JPG

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad