ภาวะเครียดและซึมเศร้า ปัญหาเร่งด่วนอันดับหนึ่งของนั กศึกษาไทย วอนผู้เกี่ยวข้องร่วมแก้ ไขหาทางออก พร้อมวางแผนเชิงนโยบายอย่างเป็ นระบบ
หลังเผยผลสำรวจ “โครงการสำรวจพฤติกรรมสุ ขภาพของนิสิตนักศึกษาในมหาวิ ทยาลัย” ซึ่งดำเนินงานโดยสถาบันวิจัยสั งคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนั กงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริ มสุขภาพ (สสส.) โดยร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเครือข่ายผู้แทนจากมหาวิ ทยาลัย 15 แห่ง ในเวทีแลกเปลี่ยนแนวทางการขั บเคลื่อนมหาวิทยาลัยสุ ขภาวะในประเทศไทย เดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา พบสถิติพฤติกรรมสุขภาพของนิสิ ตนักศึกษาในหลายประเด็นที่น่าวิ ตกกังวลและควรเร่งดำเนินการเพื่ อหาแนวทางลดปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะด้านสภาวะสุขภาพทางจิต หลังพบนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิ ทยาลัยมีความเครียดสะสมเพิ่ มมากขึ้น รวมถึงมีความคิดอยากฆ่าตัวตายสู งถึงร้อยละ 4
โดยผลสำรวจได้ระบุถึงประเด็นสุ ขภาพจิตว่านิสิตนักศึกษา ร้อยละ 30 รู้สึกเศร้าบ่อยครั้งถึ งตลอดเวลา โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 4.3 ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามี อาการทางจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้า และโรคอารมณ์สองขั้ว ( Bipolar) เกือบร้อยละ 40 มีความเครียดบ่อยครั้งถึ งตลอดเวลา โดยกว่าร้อยละ 4 ของนิสิตนักศึกษาทั้งหมด เคยคิดฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้งถึ งตลอดเวลา ร้อยละ 12 ได้เคยลงมือทำร้ายร่ างกายตนเองแล้ว โดยในจำนวนนี้มีถึงร้อยละ 1.3 ที่ได้ลงมือทำร้ายร่ างกายตนเองบ่อยครั้งถึงตลอดเวลา
นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุ ขภาวะองค์กร (สำนัก 8) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้ างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า การเผยผลสำรวจพฤติกรรมสุ ขภาพของนิสิตนักศึกษาฯ ในวงกว้างครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ ทำให้ระดับผู้บริหารสถาบันการศึ กษาได้รับรู้และเริ่มดำเนิ นการวางแผนจัดการภายในมหาวิ ทยาลัย รวมถึงขอความร่วมมือจากครู อาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้ องในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับให้นิสิตนักศึกษามี สุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ และเติบโตอย่างมีคุณภาพและมีศั กยภาพพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคั ญในการขับเคลื่อนประเทศ
โดยทุกปัญหาที่สะท้ อนออกมาจากผลสำรวจล้วนสำคัญ แต่ปัญหาที่เร่งด่วนอันดับต้นๆ ก็คือ เรื่องความเครียดและภาวะซึมเศร้ าของนักศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรสำรวจต่ อในเชิงรุก เพื่อจะรับรู้ถึงสาเหตุและระดั บของปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไขได้ อย่างถูกต้องและตรงจุด เพราะการป่วยทางสภาพจิตใจย่อมส่ งผลกระทบต่อเนื่องไปยังปัญหาอื่ นๆ ซึ่งหากนักศึกษาเกิดความเครี ยดจากการเรียน ทางมหาวิทยาลัยเองก็บริหารจั ดการ อาทิ หากิจกรรมที่ผ่อนคลาย หรือจัด Health Promotion เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อให้ นักศึกษาจัดการกับความเครี ยดของตัวเอง แต่หากอยู่ในขั้นที่ไม่สามารถช่ วยเหลือตัวเองได้ ก็จำเป็นต้องมีระบบการส่งต่อที่ ดีไปยังหน่วยงานด้านสาธารณสุ ขหรือโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย เพื่อการดูแลในขั้นตอนต่อไป เป็นต้น
ปัญหารองลงมา คือด้านการเงิน เนื่องจากการที่รับรู้ว่ าครอบครัวมีภาระหนี้สิน หรือแม้แต่ตัวนักศึกษาเองหากติ ดพนันออนไลน์ หรือมีหนี้นอกระบบ ก็ย่อมส่งผลให้เกิดความเครี ยดตามมา ซึ่งก็ควรมีแนวทางบริหารจั ดการทางการเงิน และอีกปัญหาสำคัญอีกประการ คือ เหล้า บุหรี่ และยาเสพติดอื่นๆ ก็เป็นอีกสิ่งที่เวลามีความเครี ยดสะสมมากๆ ก็อาจหลงผิดไปพึ่งพาสิ่งเสพติ ดเหล่านี้ ซึ่งต้องคำนึงถึงสถานที่ตั้ งของสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ควรให้ห่างจากสถาบันการศึกษา ซึ่งในเชิงนโยบายควรมีตั วบทกฎหมายควบคุมอย่างชั ดเจนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครั ด
ทุกปัญหาควรได้รับการแก้ไขอย่ างเป็นระบบ ซึ่งจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่รั บผิดชอบร่วมกัน โดยกลุ่มแรกที่ควรให้ความร่วมมื อ ได้แก่ 1. ผู้บริหารสูงสุดและผู้บริ หารระดับรองๆ ลงมาของสถาบันการศึกษา เพราะจะเป็นผู้ที่สามารถบริ หารได้ทั้งสถาบัน สามารถคิดและวางกลไกในการดูแลนิ สิตนักศึกษาได้ และจะต้องทำงานกันเป็นทีม 2. พ่อแม่และผู้ปกครอง เพราะครอบครัวเป็นหัวใจสำคัญที่ จะช่วยดูแลนิสิตนักศึกษาได้อย่ างใกล้ชิด 3. กลุ่มเพื่อน เพราะด้วยช่วงวัยนี้จะติดเพื่อน เชื่อเพื่อน ซึ่งเพื่อนเองก็ต้องคอยสั งเกตเพื่อนด้วยกัน คอยดูแลใส่ใจกัน ซึ่งจากหลายผลวิจัยจะเห็นว่ าโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยเองก็ต้องให้ ความรู้ไปพร้อมๆ กัน หรือควรมีการนำเทคโนโลยีเข้ ามาช่วยในส่วนต่างๆ เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมของนิสิตนั กศึกษา เป็นต้น อีกทั้ง กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ถือเป็นหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ ยวข้องโดยตรง สามารถดำเนินการเพื่อลดปัญหาสุ ขภาวะดังกล่าวได้ เนื่องจาก อว. มีอำนาจในการสั่ งการและวางนโยบายต่างๆ อาทิ ให้ทุกมหาวิทยาลัยมีการดูแลสุ ขภาพทั้งในส่วนของนักศึกษาและบุ คลากร นอกจากนี้ โรงพยาบาลและสถานพยาบาลในมหาวิ ทยาลัย หรือศูนย์พยาบาลสำหรับนิสิตนั กศึกษาก็สามารถช่วยเหลือได้ โดยสามารถยกระดับในการสร้างเสริ มสุขภาพ ด้วยการออกแบบแคมเปญการดูแลสุ ขภาพในเชิงรุก หรือเป็น Health Leader ยกตัวอย่างอาจปรับสถานพยาบาลให้ เป็น Wellness Center คือไม่รอให้คนป่วยเดินเข้าไปหา แต่ต้องทำในเชิงป้องกันมากขึ้น เช่น จัดเวิร์กช้อปให้ความรู้ด้านสุ ขภาพ , เชิญชวนนักศึกษาและบุ คลากรออกกำลังกาย , ให้ความรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี เป็นต้น
สำหรับด้านของมหาวิทยาลัยต่างก็ มีความตื่นตัวถึงปัญหาต่างๆ มากขึ้น และได้มีการประชุมวางแผนเพื่ อดำเนินการในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่ งเป็นผลพวงที่ต่ อยอดจากผลสำรวจครั้งนี้ ทั้งในส่วนของสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบั ง (สจล.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (มรภ. นครปฐม) โดย ทั้งสองสถาบันอยู่ใน 15 มหาวิทยาลัยที่ได้ทำการสำรวจ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยยังต้องมีการประเมิ นและวัดผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบว่ามาตรการที่ กำหนดนั้น มาถูกทางแล้ว หรือจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
รศ.ดร. ญาณีพร พัชรวรโชติ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสั มพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้ าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ทางสจล. มองว่าเรื่องสุขภาพจิตของนักศึ กษา เป็นสิงที่น่ากังวลมากที่สุ ดและควรจะต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากผลสำรวจของสถาบันวิจั ยสังคม จุฬาฯ พบว่านักศึกษา สจล. มีความเครียดสูงเพิ่มขึ้นถึงร้ อยละ 60 และมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย สูงถึงร้อยละ 5 โดยที่ผ่านมา สจล. ได้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับสุ ขภาพจิตของนักศึกษาอยู่แล้ว แต่พอได้เห็นผลสำรวจฯ ยิ่งตระหนักถึงปัญหานี้มากขึ้น และมีการวางแผนที่จะทำโครงการช่ วยเหลือนักศึกษาและบุคลากรในด้ านสุขภาพจิตให้เป็นรูปธรรมมากขึ้ น
ก่อนหน้านี้ ฝ่ายกิจการนักศึกษาจะมีบริ การให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพจิต ผ่านโครงการ KMITL MIND ROOM โดยมีนักจิตบำบัดคอยให้คำปรึ กษาทั้งรูปแบบ onsite และ online สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งในทุกเดือนจะมีการประชาสั มพันธ์ทั้งช่องทาง Facebook และกระจายตามกลุ่ม LINE ของนักศึกษา สำหรับกรณีที่มีภาวะซึมเศร้าร่ วมด้วย ก็จะมีการทำใบนัดส่งต่อไปรั กษาต่อยังโรงพยาบาลพระจอมเกล้ าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นต้น
โดยที่ผ่านมา โครงการช่วยเหลือนักศึกษาในด้ านสุขภาพจิต ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น ช่วงวันเวลาที่ให้บริการน้อย โดยเฉลี่ยต่อหนึ่งชั่วโมงนักจิ ตบำบัดจะให้คำปรึกษาได้เฉลี่ย 2 คน อีกทั้งจำนวนผู้เชี่ยวชาญกับสั ดส่วนของนักศึกษาไม่สมดุลกัน รวมถึงงบจัดสรรสำหรับการจ้างผู้ เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาไม่ เหมาะสม จึงทำให้ทุกวันนี้ ขาดแคลนนักจิตบำบัด จึงอยากหาแนวทางร่วมกันเพื่ อสานต่อโครงการ KMITL MIND ROOM และให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงสานต่อการจัดฝึ กอบรมภาคปฎิบัติการเกี่ยวกับปั ญหาด้านสุขภาพจิตให้กับเจ้าหน้ าที่บุคลากรที่ต้องทำงานร่วมกั บนักศึกษาว่ากรณีที่มีนักศึ กษาเข้ามาปรึกษาควรจะดำเนิ นการอย่างไร แต่อาจต้องปรับกรอบการทำงานให้ ชัดเจนและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
ปิดท้ายด้วย ดร. วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภั ฏนครปฐม มองปัญหาสุขภาพออกเป็น 2 มิติ คือ สุขภาพกาย และสุขภาพใจ โดยสุขภาพกายนั้นจะเห็นได้ว่าปั จจุบันภาวะอ้วนในวัยนักศึกษาเพิ่ มมากขึ้น ซึ่งมรภ. นครปฐม มีแผนจะดำเนิ นการออกมาตรการในการดูแลสุ ขภาวะทางร่างกาย เช่น ดูแลเรื่องอาหารที่จำหน่ ายในมหาวิทยาลัยมากขึ้น โดยจะมีประชุมผู้ ประกอบการลดการใช้สารปรุงรส เลือกใช้ผักปลอดสาร และคำนึงถึงสารอาหารที่มี ประโยชน์ นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงการออกกำลังกายเพื่ อสุขภาพที่ดีของนักศึกษา โดยจะมีมาตรการสนับสนุนเรื่ องการออกกำลังกายในมหาวิทยาลัย เช่น เพิ่มอุปกรณ์การกีฬาและนักศึ กษาเบิกมาเล่นได้ เพิ่มพื้นที่ออกกำลังกายให้ มากขึ้น เช่น โยคะ หรือลานสเก็ตบอร์ด รวมถึงอนุญาตให้นักศึกษาเข้ ามาใช้สถานที่ออกกำลั งกายนอกเวลาเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักศึ กษาเป็นสำคัญ
สำหรับสุขภาพของจิตใจนั้น มองว่าภาวะเครียดและโรคซึมเศร้ ามีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งเกิดได้จากปัญหาแวดล้อมต่ างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน การเรียน ครอบครัว และอื่นๆ โดยในส่วนนี้ได้เตรี ยมมาตรการให้อาจารย์ที่ปรึกษา เข้ามาช่วยดูแลนักศึกษาให้ใกล้ ชิดมากขึ้น ซึ่งจะจัดทำแบบฟอร์มคู่มือเพื่ อเป็นแนวทางในการปฎิบัติ รวมถึงจะมีการบริหารจั ดการเวลาเรียนให้ยืดหยุ่นมากขึ้ น เช่น ขยายเวลาลงซัมเมอร์ หรือเปิดบางวิชาในช่วงซัมเมอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ในฐานะครูอาจารย์ทุกคนต่ างก็อยากเห็นลูกศิษย์อยู่ ในมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข มีงานทำ และมีอนาคตที่ดี
ทั้งนี้ อยากวิงวอนให้ อว. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนั บสนุนและร่วมหาแนวทางแก้ไขอย่ างเป็นระบบ และกำหนดในเชิงนโยบาย รวมถึงอยากให้สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ และ สสส. ได้ทำผลสำรวจในเชิงลึกอย่างต่ อเนื่อง เพื่อได้ทราบถึงสาเหตุและแก้ ไขปัญหาได้ตรงจุด ยกตัวอย่างเช่น หากพบว่าความเครียดของนักศึ กษาส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการเรี ยน หลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิ ทยาลัย หรือสามารถระบุชัดเป็นคณะ ก็จะได้มีการหารือกับผู้ที่เกี่ ยวข้องได้อย่างเป็นรู ปธรรมและกำหนดเป็นแนวทางปฎิบัติ อย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเสริมสุ ขภาวะทางจิตที่ดีให้กับนักศึกษา เพื่อให้มีความสุขกับการเรี ยนในรั้วมหาวิทยาลัย มีสุขภาพที่ดีทั้งกายใจและเติ บโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่ อไปในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น