รร.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มอบอิสระทางความคิดและวิธีการ กุญแจสำคัญการเรียนรู้ของเยาวชนไทยสู่อนาคต - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

รร.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มอบอิสระทางความคิดและวิธีการ กุญแจสำคัญการเรียนรู้ของเยาวชนไทยสู่อนาคต

 

รร.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มอบอิสระทางความคิดและวิธีการ กุญแจสำคัญการเรียนรู้ของเยาวชนไทยสู่อนาคต

 

ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาปี 2562 โดยมีจุดเป้าหมายเพื่อมุ่งปฏิรูปการศึกษาโดยการกระจายอำนาจ เพิ่มความอิสระ, การคล่องตัว และประสิทธิภาพการบริหารให้กับโรงเรียนในพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งล่าสุดได้มีการประกาศพื้นที่รวมทั้งหมดเป็น 19 จังหวัด ประกอบด้วยสตูลระยองเชียงใหม่กาญจนบุรีศรีสะเกษรานิวาสปัตตานียะลา และสุโขทัยแม่ฮ่องสอนกระบี่ตราดสระแก้วกรุงเทพมหานครจันทบุรีภูเก็ตสงขลาสุราษฎร์ธานีอุบลราชธานี และหนึ่งในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่ทางโครงการโรงเรียนดีมีทุกที่ จัดทำโดยมูลนิธิเอเชีย และเหล่าพันธมิตร จะขอนำเสนอในครั้งนี้ก็คือ รร.วัดถนนกะเพรา อ.แกลง จ.ระยอง พวกเขามีวิธีบริหารจัดการอย่างไร เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก

       

 

ดร.รัตนา แซ่เล้า เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโส มูลนิธิเอเชีย หัวหน้าจัดทำโครงการฯ ได้กล่าวว่า “รร.วัดถนนกะเพรา เป็นตัวอย่างที่ดีของโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่ได้นำความอิสระในการสร้างหลักสูตรมาเปิดโอกาสให้ตัวเอง จนได้หลักสูตรที่ทำให้นักเรียนสนใจมากมาย มีการผสมผสานระหว่างโลกาภิวัฒน์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่ง พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษานั้น ได้เปิดโอกาสให้โรงเรียนได้คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ให้กับนักเรียน มีการปลอดล็อคข้อจำกัดต่างๆ ในด้านการศึกษา อาทิ เรื่องกฎระเบียบ ทรัพยากร การบริหาร และงานบุคคล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้บริหารพัฒนาโรงเรียนอย่างอิสระไปสู่สากลมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหัวใจหลักก็ยังคงเป็นการศึกษาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่านักเรียนมีการใช้ 1)หลักสูตรสมรรถนะ คือทักษะที่นักเรียนควรจะได้จากการเรียนรู้ 2)นวัตกรรม คือการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การค้นพบ ค้นหา ค้นหว้า รวมถึงฝักใฝ่ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และ 3)บูรณาการ คือการนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์เข้าด้วยกันให้เป็นหนึ่งเดียว การที่โรงเรียนมีถึง หลักสูตรเพื่อนักเรียน ชั้นปี ได้ทำให้เกิดนวัตกรน้อย ไม่เกิดความเบื่อหน่าย มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ในชุมชน และไม่ดูถูกอาชีพของผู้ปกครอง รวมถึงอาจจะค้นคว้าหาสิ่งใหม่ หรือแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพของครอบครัวได้ ซึ่งเป็นหลักการที่โรงเรียนอื่นๆ ในประเทศไทย ควรจะนำมาปรับใช้ในการบริหาร หรือเป็นหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอน”

 

ด้าน นายธงชัย มั่นคง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วน จ.ระยอง ได้เปิดเผยว่า “ตามแผนยุทธศาสตร์ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดให้พื้นที่ได้สร้างกรอบหลักสูตรของ จ.ระยอง หรือที่เรียกว่า Rayong Marco ขึ้นมา โดยเน้นความต้องการหรือการพัฒนาใน ด้านคือ 1)การผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับการพัฒนาเมือง 2)รู้รากเหง้าในบรรพชน ว่ามีที่มาที่ไปและสำคัญอย่างไร 3)เรียนรู้เข้าใจในทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ และการใช้ให้เกิดประโยชน์ 4)การจัดการถิ่นฐานให้น่าอยู่ และ 5)เรียนรู้เรื่องอาชีพ การทำงานสร้างรายได้ โดยกรอบหลักสูตรฯ ดังกล่าวทางองค์การบริหารส่วน จ.ระยอง ได้นำไปผูกกับ 10 สมรรถนะของสภาการศึกษาที่ได้ทำการวิจัยเอาไว้ โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการศึกษาธิการ จ.ระยอง การเรียนจะอยู่ในเนื้อหา ด้าน สิ่งที่นักเรียนจะได้รับคือเรื่องสมรรถนะ ซึ่งเป็นการเรียนที่ให้เด็กทำได้ตามแบบ และทำเป็นคือสามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง ต่อมาเมื่อมี พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทาง จ.ระยอง จึงได้ขอเข้าร่วม ซึ่งทำให้เกิดความอิสระในการทำงาน กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงเปลี่ยนไปจากเดิมที่ใช้วิชาหรือตำรา เป็นการใช้ชีวิตของเด็กหรือบริบทในชุมชนเป็นตัวตั้ง ที่องค์ความรู้ก็จะแทรกเข้ามา รวมถึงการเปิดโอกาสให้โรงเรียนได้จัดซื้อสื่อตำราเรียนที่ตรงกับความต้องการของตัวเองได้”


      

        

มาที่ น.ส.ปวีณา พุ่มพวง ผู้อำนวยการ รร.วัดถนนกะเพรา จ.ระยอง ได้เผยว่า “รร.มีจุดเน้นในการจัดการศึกษาว่าโรงเรียนสร้างสรรค์ นวัตกรน้อยสู่สากล มุ่งหวังจะให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จัดต่อยอดอาชีพในชุมชน โดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในห้องเรียน และผ่านทางอาชีพของผู้ปกครอง ซึ่งในเรื่องอาชีพนี้เป็นหนึ่งในทักษะที่ทาง สพฐ.ได้สนับสนุน นอกเหนือจากทักษะวิชาการและทักษะชีวิต และแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนของเราก็มีมากมาย เลยได้นำจุดนี้มาใช้ประโยชน์ในเรื่องการเรียนการสอน โดยได้เชื่อมโยงต่อในทุกวิชาเข้าไปด้วยกัน จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์เล็กๆ ที่อาจไม่เหมือนกับในชุมชน ถือเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เท่าที่ทำได้ในระดับวัยของเขา ซึ่งทักษะแบบนี้เมื่อโตขึ้นจะเรียกว่าสมรรถนะของผู้ประกอบการ หรือนวัตกรน้อย ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือต่อยอดการดำเนินชีวิตในอนาคตได้”

 

โดยโครงการโรงเรียนดีมีทุกที่ จัดขึ้นโดยมูลนิธิเอเชีย ภายใต้การสนับสนุนของสถานทูตออสเตรเลียมูลนิธิอานันทมหิดล และความร่วมมือจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท.สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน(สพฐ.) และกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดพลังบวกในสังคม และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook : โรงเรียนดีมีทุกที่ หรือเข้าชมจาก Youtube รายการหนึ่งในพระราชดำริ ตอนโรงเรียนดีมีทุกที่ พื้นที่นวัตกรรม เพาะพันธุ์ปัญญา ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 Mcot HD หรือสอบถามที่โทรศัพท์ 062-7341267

         

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad