JTECS จับมือ ส.ส.ท. ก้าวข้ามความท้าทาย ดัน "Smart Factory" โรงงานอัจฉริยะ ยกระดับ SME ไทย
26 มกราคม 2566: นายคุวาตะ ฮาจิเมะ ประธานสมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทย หรือ JTECS ประเทศญี่ปุ่น ผู้ดำเนินโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของไทย และประเทศใกล้เคียง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. เข้าพบ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อรายงานความคืบหน้าและผลสัมฤทธิ์ของ "โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team ในประเทศไทย" ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือ G2G ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมไทย และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ตลอดจนรายงานผลการสำรวจ "ประเด็นปัญหาต่อการมุ่งสู่ 'Smart Factory' " โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย และร่วมหารือในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย และนายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ได้มีการแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือ "Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่การดำเนินงานพัฒนาทักษะบุคลากรภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีทั้งสองประเทศได้มีการหารือร่วมกันเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะบุคลากร รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในไทยในโอกาสที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลการหารือดังกล่าว รวมทั้งความสัมพันธ์อันดีของรัฐมนตรีทั้งสองท่านจะทำให้การดำเนินโครงการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นเป็นไปอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
"โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" เริ่มมีการดำเนินการในประเทศไทยนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation: DX) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (METI) และกระทรวงอุตสาหกรรม ประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเป็นโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลไทยและญี่ปุ่นภายใต้กรอบความร่วมมือข้างต้นอีกด้วย นอกจากนี้การดำเนินโครงการดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานความร่วมมือต่าง ๆ เช่น JTECS The Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships (AOTS) องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. และสถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น (TNI) เป็นต้น
ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาภายใต้ "โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" ได้มีการพัฒนาบุคลากรสู่การที่ปรึกษาด้าน IoT จำนวนทั้งสิ้น 50 คน และมีการให้คำปรึกษาแนะนำแก่บริษัท SME จำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ซึ่งการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำภายในสถานประกอบการนั้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ ที่ดำเนินการในรูปแบบ On-the-job- Training (OJP) ซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจนในด้านของการลดเวลาส่งมอบ การลดปริมาณสินค้าคงคลัง และการเพิ่มผลิตภาพ เป็นต้น โดยในการเข้าพบครั้งนี้ นายคุวาตะ ฮาจิเมะได้รายงานผลการดำเนินงานดังกล่าวให้แก่ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทราบ รวมทั้งได้มีการรายงานผลการสำรวจ "ประเด็นปัญหาต่อการเปลี่ยนสู่ 'Smart Factory'" ซึ่งได้แสดงให้เห็นข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า แม้ 56% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามจะอยู่ในระหว่างการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ Smart Factory แต่มากกว่า 90% ของบริษัทเหล่านี้มีความสนใจที่จะใช้บริการที่ปรึกษาเพื่อมุ่งสู่ "Smart Factory" เป็นต้น หรือ กล่าวได้ว่ามีผู้ประกอบการที่มีความต้องการเข้าร่วม"โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" เป็นจำนวนมากจากผลการสำรวจดังกล่าว
นอกจากนี้ จากการหารือร่วมกันในครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม METI JTECS ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อน "โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" ในประเทศ ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนให้สามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนภายใต้กรอบความร่วมมือในรูปแบบ G2G ที่กระทรวงอุตสาหกรรมไทย มีร่วมกันกับ METI อีกทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ รวมไปถึงการคัดเลือกบุคลากร และสถานประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวในประเทศไทยเป็นไปอย่างราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด
"โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" เริ่มมีการดำเนินการในประเทศไทยนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation: DX) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (METI) และกระทรวงอุตสาหกรรม ประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเป็นโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลไทยและญี่ปุ่นภายใต้กรอบความร่วมมือข้างต้นอีกด้วย นอกจากนี้การดำเนินโครงการดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานความร่วมมือต่าง ๆ เช่น JTECS The Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships (AOTS) องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. และสถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น (TNI) เป็นต้น
ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาภายใต้ "โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" ได้มีการพัฒนาบุคลากรสู่การที่ปรึกษาด้าน IoT จำนวนทั้งสิ้น 50 คน และมีการให้คำปรึกษาแนะนำแก่บริษัท SME จำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ซึ่งการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำภายในสถานประกอบการนั้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ ที่ดำเนินการในรูปแบบ On-the-job- Training (OJP) ซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจนในด้านของการลดเวลาส่งมอบ การลดปริมาณสินค้าคงคลัง และการเพิ่มผลิตภาพ เป็นต้น โดยในการเข้าพบครั้งนี้ นายคุวาตะ ฮาจิเมะได้รายงานผลการดำเนินงานดังกล่าวให้แก่ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทราบ รวมทั้งได้มีการรายงานผลการสำรวจ "ประเด็นปัญหาต่อการเปลี่ยนสู่ 'Smart Factory'" ซึ่งได้แสดงให้เห็นข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า แม้ 56% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามจะอยู่ในระหว่างการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ Smart Factory แต่มากกว่า 90% ของบริษัทเหล่านี้มีความสนใจที่จะใช้บริการที่ปรึกษาเพื่อมุ่งสู่ "Smart Factory" เป็นต้น หรือ กล่าวได้ว่ามีผู้ประกอบการที่มีความต้องการเข้าร่วม"โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" เป็นจำนวนมากจากผลการสำรวจดังกล่าว
นอกจากนี้ จากการหารือร่วมกันในครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม METI JTECS ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อน "โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง Smart Monodzukuri Support Team" ในประเทศ ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนให้สามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนภายใต้กรอบความร่วมมือในรูปแบบ G2G ที่กระทรวงอุตสาหกรรมไทย มีร่วมกันกับ METI อีกทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ รวมไปถึงการคัดเลือกบุคลากร และสถานประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวในประเทศไทยเป็นไปอย่างราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น