ฮ่องกงติดอันดับ 4 เอื้อต่อการทำธุรกิจมากที่สุดในโลก ขณะอินโดนีเซียและจีนทำธุรกิจยากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ฮ่องกงติดอันดับ 4 เอื้อต่อการทำธุรกิจมากที่สุดในโลก ขณะอินโดนีเซียและจีนทำธุรกิจยากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก


ฮ่องกงติดอันดับ 4 เอื้อต่อการทำธุรกิจมากที่สุดในโลก ขณะอินโดนีเซียและจีนทำธุรกิจยากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

ลอนดอน, 18 สิงหาคม 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็

ทีเอ็มเอฟ กรุ๊ป (TMF Group) ผู้ให้บริการชั้นนำด้านกฎหมาย บัญชี ภาษี ทรัพยากรบุคคล และงานบริหารทั่วไป ประกาศเปิดตัวดัชนีความซับซ้อนในการทำธุรกิจระดับโลก (Global Business Complexity Index หรือ GBCI) เป็นปีที่ 10

รายงานดังกล่าวครอบคลุมการวิเคราะห์ประเทศและเขตปกครอง 78 แห่ง (77 แห่งในปี 2565) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 92% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมทั้งโลก และคิดเป็น 95% ของยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สุทธิทั่วโลก โดยการติดตามประเมินตัวชี้วัดเกือบ 300 รายการในแต่ละปี เพื่อนำเสนอข้อมูลการทำธุรกิจในแง่มุมต่าง ๆ เช่น กฎหมาย การปฏิบัติตามข้อกำหนด กระบวนการจัดทำบัญชี ระบบภาษี ทรัพยากรบุคคล (HR) และกระบวนการจัดทำเงินเดือน

อินโดนีเซียติดอันดับประเทศที่มีความซับซ้อนหรือทำธุรกิจยากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก (อันดับ 11 ทั่วโลก เทียบกับอันดับ 6 ในปี 2565) ตามด้วยจีน (อันดับ 15) เกาหลีใต้ (อันดับ 16) มาเลเซีย (อันดับ 21) และฟิลิปปินส์ (อันดับ 31) ทั้งนี้นับเป็นเพียงครั้งที่สองในรอบสิบปีที่ไม่มีประเทศจากเอเชียแปซิฟิกติดอันดับ 10 ประเทศและเขตปกครองที่ซับซ้อนที่สุดในการทำธุรกิจ

ในทางกลับกัน อินเดีย (อันดับ 33) ทำอันดับดีขึ้นอย่างมากในปีนี้ หลังจากที่ดำเนินการปฏิรูปกฎหมายควบคู่ไปกับการเปิดเสรีแนวปฏิบัติและหลักเกณฑ์เพื่อลดภาระของบริษัทต่าง ๆ ในการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศ เช่นเดียวกับในเวียดนาม (อันดับ 46) ที่ทางการหรือหน่วยงานส่วนใหญ่นำระบบออนไลน์มาใช้เพื่อยกระดับการกำกับดูแลและแนวปฏิบัติใหม่

ในอีกด้านของตาราง ฮ่องกง (อันดับ 74) ติดอันดับ 10 เขตปกครองที่ทำธุรกิจง่ายที่สุดเป็นปีที่สามติดต่อกัน อันเป็นผลมาจากความสำเร็จในการจัดลำดับความสำคัญในการปฏิบัติตามข้อกำหนดระหว่างประเทศและลดความซับซ้อนของกระบวนการทางธุรกิจ นอกจากนี้ ฮ่องกงยังคงเป็นเขตปกครองที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานและอัตราภาษีที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน แม้การทำธุรกิจในฮ่องกงเป็นเรื่องง่าย ไม่ซับซ้อน แต่เจ้าของธุรกิจในฮ่องกงยังคงต้องถูกตรวจสอบสถานะของกิจการอย่างเข้มงวด รวมทั้งมีกระบวนการทำความรู้จักลูกค้าเพื่อให้สามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนได้อย่างถูกต้อง (Know Your Customer: KYC)

ชากุน กุมาร (Shagun Kumar) ผู้บริหารทีเอ็มเอฟ กรุ๊ป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "ดัชนีความซับซ้อนในการทำธุรกิจระดับโลกประจำปีที่ 10 ของเราแสดงให้เห็นถึงระดับความซับซ้อนที่หลากหลายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยฮ่องกงและออสเตรเลียยังคงรักษาตำแหน่งประเทศและเขตปกครองที่ซับซ้อนน้อยที่สุดเอาไว้ได้ในปีนี้ ขณะที่การทำธุรกิจในหลายประเทศยังคงมีความท้าทาย เช่น อินโดนีเซีย และจีน แต่ขณะเดียวกันท่ามกลางความท้าทายเหล่านั้น ก็มีโอกาสอีกมากมายที่รอคอยให้ธุรกิจระหว่างประเทศเข้าไปไขว่คว้า ส่วนในอินเดียนั้น นโยบายการบริหารประเทศ 'Minimum Government and Maximum Governance' ที่มุ่งลดขนาดของภาครัฐและเน้นธรรมาภิบาล ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยรวมแล้วเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตสำหรับลูกค้าส่วนใหญ่ของเราทั่วโลก ดัชนี GBCI และข้อค้นพบที่ได้นั้นเป็นแนวทางที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับบริษัทที่ต้องการสำรวจและลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วยความตระหนักและรอบรู้มากขึ้น"  

นอกจากวิเคราะห์ประเทศและเขตปกครอง 78 แห่งแล้ว รายงานยังระบุถึงสามประเด็นหลักที่กำหนดภูมิทัศน์การทำธุรกิจและสภาพแวดล้อมด้านการกำกับดูแลทั่วโลก ได้แก่:

ความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ

รายงานแสดงให้เห็นว่า ความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์และปัจจัยเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อแผนการขยายธุรกิจและการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น ภาวะเงินเฟ้อทำให้พนักงานถามหาการสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมจากนายจ้าง ซึ่งนำไปสู่ความต้องการเงินเดือนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียแปซิฟิก พบว่า 93% ของประเทศและเขตปกครองที่ทำการสำรวจ มีแนวโน้มที่พนักงานจะร้องขอสิทธิประโยชน์ทางการเงินที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่า GDP เวียดนามจะเติบโต 6.5% ในปี 2566 ซึ่งต่ำกว่าปี 2565 (8.02%) เนื่องจากอุปสงค์ที่คาดว่าจะลดลงในตลาดส่งออกหลัก อันเป็นผลมาจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่นเดียวกับ สถานการณ์ในไทยที่แรงต้านจากภาวะเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว แม้ว่าไทยสามารถฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วก็ตาม

ความท้าทายในการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วโลก

รายงานยังแสดงให้เห็นด้วยว่า การที่บริษัทต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศต่าง ๆ นั้นเป็นการเพิ่มความซับซ้อนในการทำธุรกิจ โดยบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศจีนต้องประสบกับอุปสรรคทางด้านกฎหมายจากการที่รัฐบาลเปลี่ยนแปลงมาตรการอัตราภาษีสิทธิพิเศษที่เรียกเก็บจากรายได้จากการถือหุ้นของพนักงาน โบนัสประจำปี และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับพนักงานต่างชาติ ซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2565 แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานต่างชาติและธุรกิจระหว่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล

ส่วนผลกระทบของสงครามที่มีต่อธุรกิจนั้น จากการสำรวจพบว่า การตรวจสอบ KYC ในออสเตรเลียและมาเลเซียมีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อธุรกิจและบุคคลของรัสเซีย

อย่างไรก็ตามในทางกลับกัน กฎระเบียบที่เข้มงวดอาจกลายเป็นปัจจัยดึงดูดได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสำนักงานครอบครัวและความมั่งคั่งส่วนบุคคล (Private Wealth and Family Office: PWFO) ที่ต้องการความปลอดภัยและความมั่นคงในการลงทุนทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่นในสิงคโปร์ กรอบการกำกับดูแลที่เข้มแข็งและมั่นคง รวมถึงเสถียรภาพทางการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้สิงคโปร์ยังมีมาตรการจูงใจทางภาษีที่น่าสนใจซึ่งดึงดูดบุคคลที่มีความมั่งคั่งสูง

การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ( ESG)

หลายประเทศให้ความสำคัญมากขึ้นและกำหนดให้ต้องมีการรายงาน ESG โดยรัฐบาลของประเทศและเขตปกครองต่าง ๆ มุ่งหวังที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในเรื่องของการทำธุรกิจโดยคำนึงถึงการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายของรัฐบาลมาเลเซียในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 นั้นก้าวหน้าอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน บริษัทในมาเลเซียต่างดำเนินโครงการ ESG กันอย่างจริงจัง และบริษัทข้ามชาติกำหนดให้การใช้พลังงานเป็นเป้าหมายหลักในพันธกิจด้าน ESG

ขณะที่ในอินเดีย ผู้เชี่ยวชาญของเรารายงานว่า บริษัทชั้นนำให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดด้าน ESG เนื่องจากทำให้การลงทุนสร้างผลกำไรมากขึ้นสำหรับนักลงทุนทั่วโลก ขณะที่ในฮ่องกง มีการออกหนังสือเวียนฉบับแก้ไขที่มีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2565 ซึ่งให้คำแนะนำแก่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่เพิ่มขึ้นสำหรับกองทุน โดยกำหนดให้รวมปัจจัยด้าน ESG เป็นวัตถุประสงค์หลักในการลงทุน

10 อันดับแรก และ 10 อันดับท้าย (1= ยากที่สุด, 78= ง่ายที่สุด)

1 ฝรั่งเศส

69 มอลตา

2 กรีซ

70 เจอร์ซีย์

3 บราซิล

71 นิวซีแลนด์

4 เม็กซิโก

72 สหราชอาณาจักร

5 โคลอมเบีย

73 หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน

6 ตุรกี

74 ฮ่องกง

7 เปรู

75 เนเธอร์แลนด์

8 อิตาลี

76 กือราเซา

9 โบลิเวีย

77 เดนมาร์ก

10 อาร์เจนตินา

78 หมู่เกาะเคย์แมน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad