สมุทรปราการ ประสานพลัง ทัพบก ราชทัณฑ์ จิตอาสา
ร้อยเอ็ด ซีพีเอฟ ลงพื้นที่ลุยจับหมอคางดำทำปลาร้ า
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือ ซีพีเอฟ สนับสนุนกรมประมงขจัดและควบคุ มปลาหมอคางดำใน 12 จังหวัด รับซื้อทำปลาป่นแล้วกว่า 750,000 กิโลกรัม และยังเดินหน้าขับเคลื่อนการจั บปลาออกจากแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่ อง พร้อมลงพื้นที่รวมพลังกับจั งหวัดสมุทรปราการ กรมประมง กองทัพบก กรมราชทัณฑ์ ล่าปลาหมอคางดำ ออกจากแหล่งน้ำในพื้นที่ศูนย์ศึ กษาธรรมชาติ กองทัพบกบางปู พร้อมมีอาสาสมัครกว่า 100 คนเดินทางมาจากจังหวัดร้อยเอ็ ดร่วมทอดแหจับปลานำไปทำปลาร้า หนุนประชาชน “กิน” พิชิต “หมอคางดำ”
นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุ ทรปราการ เป็นประธานในกิจกรรม “ลงแขกลงคลองตัดวงจรการแพร่ ระบาดปลาหมอคางดำเพื่อรักษาสมดุ ลระบบนิเวศจังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 2” โดยมีนายสุวัฐน์ วงศ์สุวัฒน์ รองอธิบดีกรมประมง ร่วมกับอาสาสมัครจากจังหวัดร้ อยเอ็ด และเรือนจำกลางสมุทรปราการ ลุยกำจัดปลาหมอคางดำบริเวณแหล่ งน้ำพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ กองทัพบกบางปู ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ สามารถจับปลาหมอคางดำขึ้นมาได้ ถึง 1,101 กิโลกรัม อาสาสมัครจากร้อยเอ็ดจะนำปลากลั บไปทำปลาร้าต่อไป นอกจากนี้ ปลาที่จับได้ยังถูกส่งต่อให้ การยางแห่งประเทศไทยเพื่อผลิตน้ำ หมักชีวภาพสำหรั บเกษตรกรชาวสวนยาง ส่งโรงงานปลาป่น มอบให้เรือนจำกลางจังหวัดสมุ ทรปราการใช้ปรุงเป็นอาหารให้ผู้ ต้องขัง และแจกจ่ายบริโภคในครัวเรือน
นายสุวัฐน์ วงศ์สุวัฒน์ รองอธิบดีกรมประมง ในฐานะโฆษกกรมประมง เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ ระบาดของปลาหมอคางดำ กระจายไปในพื้นที่ 19 จังหวัด กิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้ มาตรการการควบคุมและกำจั ดปลาหมอคางดำของกรมประมง ตั้งเป้าจับให้ได้ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน ซึ่งที่ผ่านมาทุกภาคส่วนได้ร่ วมแรงร่วมใจช่วยกันหยุ ดวงจรการแพร่พันธุ์ ของปลาหมอคางดำในหลากหลายวิธี สำหรับในเดือนสิ งหาคมกรมประมงสามารถจั บปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำได้ แล้วกว่า 610,000 กิโลกรัมหรือมากกว่า 600 ตัน
นายสมพร เกื้อสกุล ประมงจังหวัดสมุ ทรปราการ กล่าวว่า สมุทรปราการเป็นเมืองแห่งผลผลิ ตด้านประมง มีกำลังการผลิตสัตว์น้ำประเภทกุ้ งทะเล สูงถึง 1,400 ตันต่อปี สร้างมูลค่า 210 ล้านบาท การระบาดของปลาหมอคางดำส่ งผลกระทบต่อระบบนิ เวศและการประกอบอาชีพของพี่น้ องชาวประมงและเกษตรกรผู้เลี้ ยงสัตว์น้ำ ที่ผ่านมาจังหวัดสมุทรปราการ มีการจัดตั้งทีมเฉพาะกิ จในการออกปฏิบัติการกำจั ดปลาหมอคางดำ ส่งผลให้ในขณะนี้สถานการณ์ การระบาดของปลาหมอคางดำลดจำนวนล งได้ และการจัดกิ จกรรมลงแขกลงคลองอครั้งนี้ เป็นความพยายามในขจั ดปลาหมอคางดำสิ้นซาก รักษาสมดุลระบบนิเวศ ได้รับความร่วมแรงร่ วมใจจากประชาชนในพื้นที่ และอาสาสมัครจากร้อยเอ็ดมาช่ วยกันลงแรงเพื่อจั บปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ
ด้านนายอดิศร์ กฤษณวงศ์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานรัฐกิ จและเอกชนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทสนับสนุนกรมประมงจำกั ดปลาหมอคางดำโดยเร็วที่สุด บูรณาการขับเคลื่อน 5 โครงการเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ทั้งการร่วมรับซื้ อปลาหมอคางดำผลิตปลาป่น การมอบปลานักล่าเพื่อปล่อยลงสู่ แหล่งน้ำกำจัดลูกปลาชนิดนี้ ตามแนวทางกรมประมง รวมถึงร่วมกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” ในพื้นที่หลายจังหวัด นอกจากสมุทรปราการแล้ว ซีพีเอฟได้ร่วมสนับสนุนการจั บปลาใน สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง เพชรบุรี นครปฐม ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช รวม 12 จังหวัด และพร้อมขยายความร่วมมือกับจั งหวัดอื่นๆ ต่อเนื่อง สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ยังได้รั บความร่วมมือจากพันธมิตร แม็คโครจิตอาสา สาขาแพรกษา นำขนมและน้ำดื่มมาแจกให้กับผู้ ร่วมกิจกรรมอีก
ซีพีเอฟแสดงความมุ่งมั่นบู รณาการขับเคลื่อน 5 โครงการเชิงรุกเพื่อร่วมแก้ ปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ ฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างจริงจัง ประกอบด้วย โครงการร่วมกับกรมประมงรับซื้ อปลาเพื่อทำปลาป่น 2,000,000 กิโลกรัม ที่ปัจจุบันร่วมกับโรงงานปลาป่ นในสมุทรสาครจัดซื้อปลาไปแล้ วกว่า 750,000 กิโลกรัม โครงการปล่อยปลานักล่า 200,000 ตัว จนถึงวันนี้ปล่อยปลากะพงลงแหล่ งน้ำแล้ว 64,000 ตัว รวมถึง โครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลั ยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้ าคุณทหารลาดกระบัง นำปลาไปใช้ประโยชน์ เช่น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และโครงการสนับสนุนผู้เชี่ ยวชาญและมหาวิทยาลัยในการศึ กษาวิจัยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี เพื่อตัดวงจรและควบคุมการแพร่พั นธุ์ของปลาชนิดนี้ในระยะยาว โดยมีมหาวิทยาลัยแสดงเจตนารมณ์ ร่วมโครงการวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้ าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้./
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น