รายงานฉบับใหม่ของดีลอยท์ พบสำนักงานครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกยัง สามารถเติบโต แม้เผชิญความท้าทายด้านเศรษฐกิจ ภูมิรัฐศาสตร์ และการสืบทอดธุรกิจ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567

รายงานฉบับใหม่ของดีลอยท์ พบสำนักงานครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกยัง สามารถเติบโต แม้เผชิญความท้าทายด้านเศรษฐกิจ ภูมิรัฐศาสตร์ และการสืบทอดธุรกิจ



รายงานฉบับใหม่ของดีลอยท์ พบสำนักงาน


ครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกยัง


สามารถเติบโต


แม้เผชิญความท้าทายด้านเศรษฐกิจ


 ภูมิรัฐศาสตร์ และการสืบทอดธุรกิจ


กรุงเทพมหานคร, 10 สิงหาคม 2567 - ดีลอยท์ ไพรเวท และ ราฟเฟิลส์ แฟมิลี ออฟฟิศ (RFO) ร่วมกันเปิดตัวรายงาน The Family Office Insights Series - Asia Pacific Edition เผยแนวโน้มสำคัญของสำนักงานธุรกิจครอบครัว (Family Office) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในเรื่องการจัดการความเสี่ยง การลงทุน และการวางแผนการสืบทอดธุรกิจ

รายงานฉบับเอเชียแปซิฟิก ครอบคลุมแนวโน้มสำคัญ 10 ประการ ที่กำหนดทิศทางของสำนักงานธุรกิจครอบครัวในภูมิภาค  โดยสำรวจสำนักงานครอบครัวที่มีการบริหารจัดการให้กับครอบครัวเพียงครอบครัวเดียว หรือที่เรียกว่า Single Family Office จำนวน 89 แห่ง พบว่า แม้จะมีความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์และสภาวะตลาด  แต่สำนักงานธุรกิจครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกยังคงมีความเชื่อมั่น โดย ร้อยละ 84 คาดการณ์ว่าครอบครัวจะมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นในปีนี้ และ ร้อยละ 77  คาดการณ์ว่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ของตนจะเพิ่มขึ้นในปี 2567 นอกจากนี้สำนักงานธุรกิจครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกยังมีแผนที่จะขยายขอบเขตการลงทุนและเพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยร้อยละ 48  มีแนวโน้มที่จะใช้บริการจ้างงานภายนอกมากขึ้น ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ ร้อยละ 34

รายงาน Family Office Insight Series—Asia Pacific Edition โดย ดีลอยท์ ไพรเวท ฉบับนี้ ระบุเทรนด์สิบอย่างที่เป็นตัวกำหนดทิศทางในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้สำนักงานครอบครัวในเอเชียแปซิฟิก สามารถปรับกลยุทธ์ระยะสั้นและระยะยาวของตนเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ หยาลี่ หยิน ลีดเดอร์ ดีลอยท์ ไพรเวท ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว เรายินดีที่ได้เห็นว่าสำนักงานธุรกิจครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกยังคงเชื่อมั่น แม้เศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกจะมีความไม่แน่นอน นอกเหนือจากการจัดการความเสี่ยง การลงทุนที่หลากหลายและยั่งยืน และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานแล้ว ผู้นำธุรกิจยังคงมุ่งเน้นกลยุทธ์ในการวางแผนการสืบทอดธุรกิจที่แข็งแกร่ง เพื่อเตรียมการให้กับคนรุ่นต่อไป และสร้างอนาคตธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน

ด้วยการส่งต่อความมั่งคั่งครั้งใหญ่ (Great Wealth Transfer) ที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชียแปซิฟิก ครอบครัวจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความท้าทายในการสืบทอดตำแหน่งอย่างจริงจัง และเตรียมคนรุ่นต่อไปให้พร้อมรับบทบาทผู้นำด้วยความมั่นใจ  ครอบครัวที่มีความมั่งคั่งสูง (ultra-high-net-worth (UHNW)) มองหามืออาชีพที่จะมาช่วยในการวางแผนความมั่งคั่งและมรดกของตนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   รายงานของเราระบุว่า การที่สำนักงานครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกมีความเป็นมืออาชีพเพิ่มมากขึ้นนั้น เป็นสัญญาณบวกที่แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของระบบนิเวศของสำนักงานครอบครัวในภูมิภาค” ไคแมน ควาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม ราฟเฟิลส์ แฟมิลี ออฟฟิศ กล่าว ภารกิจหลักของเราคือการดูแลมรดกของลูกค้าให้คงอยู่สืบเนื่องไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน เรารู้สึกตื่นเต้นมากในการทำงานร่วมกับ ดีลอยท์ ไพรเวท ในครั้งนี้

การบริหารความเสี่ยงยังคงเป็นประเด็นสำคัญ ท่ามกลางการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่การเติบโต

ความเสี่ยงระดับมหภาคเน้นย้ำความไม่แน่นอนที่สำนักงานธุรกิจครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญ โดยสองความเสี่ยงหลักของตลาดในปี 2567 คือ ภูมิรัฐศาสตร์ที่ ร้อยละ 55 และ อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 44 ขณะเดียวกัน ความเสี่ยงด้านการลงทุน (ร้อยละ 72), ภูมิรัฐศาสตร์ (ร้อยละ 44) และ ความท้าทายด้านกฎระเบียบและภาษี (ร้อยละ 28) ถือเป็นความเสี่ยงอันดับต้น ๆ สำหรับสำนักงานธุรกิจครอบครัวในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับระดับโลก ความกังวลเหล่านี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการกำกับดูแลการลงทุน ซึ่งสะท้อนให้เห็นในลำดับความสำคัญของสำนักงานครอบครัว โดยให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงด้านการลงทุนเป็นลำดับแรก ที่ร้อยละ 67 ตามด้วยการกำกับดูแลการลงทุนและนโยบายการประเมินมูลค่า ร้อยละ 53 และการวางแผนการสืบทอด ร้อยละ 38

ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดจะมีความผันผวนและความไม่แน่นอน แต่สำนักงานครอบครัวในเอเชียแปซิฟิก ร้อยละ 34 หันมาลงทุนเพื่อการเติบโตมากขึ้  อย่างไรก็ตาม การลงทุนนี้ยังคงมาพร้อมกับการให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง โดยสำนักงานธุรกิจครอบครัวหลายแห่งเลือกที่จะกระจายการลงทุนแบบพอร์ตโฟลิโอสมดุล สินทรัพย์ที่สำนักงานครอบครัวลงทุนมากที่สุดในปี 2566 ได้แก่ หุ้น ร้อยละ 25 หุ้นเอกชนและหนี้เอกชน/การให้กู้ยืม ร้อยละ 21 อสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 19 และตราสารหนี้ ร้อยละ 19 ซึ่งคิดเป็นมากกว่าสี่ในห้าของพอร์ตการลงทุนโดยเฉลี่ย  เป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้สัดส่วนการลงทุนในหุ้นทั่วไปจะเท่ากันกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ ร้อยละ 25  แต่เป็นการลงทุนในตลาดเกิดใหม่มากกว่า สะท้อนให้เห็นถึงความชอบของภูมิภาคนี้ต่อตลาดท้องถิ่น เช่น จีนและอินเดีย  สำหรับปี 2567 สินทรัพย์ที่สำนักงานครอบครัวมองว่าจะเพิ่มการลงทุน ได้แก่ หุ้นตลาดพัฒนาแล้ว ร้อยละ 32 และตลาดเกิดใหม่ ร้อยละ 24  อสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 31 กองทุนเฮดจ์ฟันด์ ร้อยละ 24 และสกุลเงินดิจิตอล/สินทรัพย์ดิจิตอล เท่ากันที่ ร้อยละ 24

โดยเฉลี่ย สำนักงานครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกจัดสรรพอร์ตการลงทุนของตน โดยร้อยละ 32 เป็นการลงทุนนอกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปัจจุบัน การลงทุนในอเมริกาเหนือและตะวันออกกลางคิดเป็น ร้อยละ 21 และ ร้อยละ ตามลำดับ ของพอร์ตการลงทุนเฉลี่ยของสำนักงานครอบครัวในเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม สัดส่วนเหล่านี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปี 2567 โดย ร้อยละ 23 มีแผนจะจัดสรรการลงทุนในอเมริกาเหนือมากขึ้นในปีนี้ และ ร้อยละ 21 ในตะวันออกกลาง ขณะที่การลงทุนในเอเชียแปซิฟิกและยุโรปคาดว่าจะคงที่ ที่ร้อยละ 69 และ ร้อยละ 79 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความตั้งใจจะรักษาการลงทุนในภูมิภาคเหล่านี้เท่าเดิมในปี 2567 ในทางกลับกัน  ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลายเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่ได้รับความนิยม โดยสำนักงานครอบครัวทั่วโลก ร้อยละ 20 และ สำนักงานครอบครัวในยุโรป ร้อยละ 24 วางแผนที่จะขยายการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีนี้

จำเป็นต้องเร่งวางแผนการสืบทอดอย่างมั่นใจ

เนื่องจากสำนักงานครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกจำนวนมากดูแลผู้ถือครองความมั่งคั่งรุ่นแรกหรือรุ่นสอง การวางแผนการสืบทอดจึงกำลังกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก คาดว่าสมาชิกครอบครัวรุ่นถัดไปมากกว่าหนึ่งในสาม หรือ ร้อยละ 35 จะเข้าควบคุมความมั่งคั่งของครอบครัวในช่วงทศวรรษหน้า อย่างไรก็ตาม มีครอบครัวเพียง ร้อยละ 37 เท่านั้นที่ปัจจุบันไม่มีแผนการสืบทอด ซึ่งส่งผลให้ประมาณหนึ่งในห้าของสำนักงานครอบครัว หรือร้อยละ 21 ระบุว่าการขาดการเตรียมการนี้เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อสำนักงานของตนในปีนี้  ในขณะที่มากกว่าหนึ่งในสาม คือร้อยละ 35 จัดลำดับการวางแผนการสืบทอดเป็นความสำคัญอันดับต้น ๆ สำหรับปี 2567


อย่างไรก็ตาม เส้นทางสู่การสืบทอดนั้นมาพร้อมกับความท้าทาย ร้อยละ 69 ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าหลังการสืบทอด สมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไปที่รับตำแหน่งจะเข้ามาดูแลสำนักงานครอบครัว แต่ยังคงมีความกังวลในสมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไป ในเรื่องความเป็นผู้ใหญ่ สูงสุดที่ร้อยละ 49 คุณสมบัติที่จำกัด ร้อยละ 36 และการขาดความสนใจในกิจกรรมของสำนักงานครอบครัว ร้อยละ 23  ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในสามของสมาชิกครอบครัวรุ่นถัดไป หรือ ร้อยละ 33 ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้งาน/การฝึกอบรมเป็นอันดับต้น ๆ ในปีนี้ ในขณะที่อีก ร้อยละ 26 ให้ความสำคัญกับการวางแผนการสืบทอด  นอกจากนั้น สมาชิกครอบครัวรุ่นถัดไปจะได้รับตำแหน่งที่หลากหลายในสำนักงานครอบครัวในปีนี้ รวมถึงการเป็นกรรมการบริษัท ร้อยละ 36  ผู้จัดการ/ผู้บริหาร ร้อยละ 30 หรือ กรรมการ ร้อยละ 21


ในปัจจุบัน มีหัวหน้าสำนักงานครอบครัว เพียงร้อยละ 22 ที่เป็นมืออาชีพที่ไม่ใช่คนในครอบครัว แต่ตัวเลขนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 31 หลังการสืบทอด ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นผู้นำในการทำให้สำนักงานครอบครัวเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดยมีสำนักงานธุรกิจครอบครัวสี่ในสิบ หรือร้อยละ 43 ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่การบริหารจัดการโดยมืออาชีพที่ไม่ใช่คนในครอบครัวมากขึ้นในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 29 อย่างมีนัยยะสำคัญ โดยสำนักงานครอบครัวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีแนวโน้มที่จะรับสมัครพนักงานมืออาชีพจาก บริษัทที่ให้บริการทางการเงิน ร้อยละ 62 บริษัทบัญชี ร้อยละ 33 และบริษัทที่ปรึกษา ร้อยละ 23 มีเพียง ร้อย 15 เท่านั้นที่จะเลือกพนักงานมืออาชีพจากธุรกิจครอบครัว


ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การสะสมความมั่งคั่งในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตของสำนักงานครอบครัว"  ดร. รีเบคคา กูช ดีลอยท์ ไพรเวท โกลบอล เฮด ออฟ อินไซท์ ดีลอยท์ โกลบอล  กล่าว เมื่อผู้นำที่เป็นผู้สร้างความมั่งคั่งก้าวลงจากตำแหน่งและส่งมอบการควบคุมให้กับสมาชิกรุ่นต่อไป ครอบครัวมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียความมั่งคั่งหากพวกเขาไม่ได้เตรียมการสืบทอดที่ดีเพียงพอ ทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่นครั้งใหญ่   โดยมีเงินมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์เป็นเดิมพัน และครอบครัวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เนื่องจากประสบการณ์ที่ค่อนข้างจำกัดในการถ่ายโอนความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นในมูลค่าระดับนี้ ดังนั้น การวางแผนการสืบทอดธุรกิจจึงกลายเป็นหัวข้อสำคัญในหมู่คนที่มีความมั่งคั่ง เนื่องจากต้องเตรียมความพร้อมสมาชิกรุ่นต่อไปที่จะมารับช่วงต่อ

ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยลดลงอย่างต่อเนื่อง สำนักงานครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างการกระจายความเสี่ยงและการแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ใหม่ๆ รวมถึงการขยายการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศ”  วิลเลียม ชาว รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม ราฟเฟิลส์ แฟมิลี ออฟฟิศ กล่าวเสริม ขณะที่สำนักงานครอบครัวในเอเชียแปซิฟิกกลับมาลงทุนโดยเน้นการเติบโตจากหุ้น พวกเขาก็สร้างเทรนด์ใหม่ให้ตลาดด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเอกชน หนี้เอกชน กองทุนเฮดจ์ฟันด์ และสินทรัพย์ดิจิตอล ซึ่งกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนเช่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยง เพิ่มความมั่นคง และคว้าโอกาสในการเติบโตในระยะยาว"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad