กรมวิชาการเกษตร จัดอบรมการพ่นสารป้องกันกำจัด
ศั ตรูพืชด้วยโดรน อย่างถูกต้ องและปลอดภัย สำหรับ
ภาคการเกษตร ลดแรงงาน - เพิ่มประสิทธิภาพและผล
ผลิ ตเกษตรกรไม้ผล
กรุงเทพฯ 5 กันยายน 2567 - กรมวิชาการเกษตร โดยนายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้ นางช่อทิพย์ ศัลยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพั ฒนาการอารักขาพืช เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร “เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการจั ดการศัตรูพืชด้วยอากาศยาน หรือ โดรน ” สำหรับไม้ผล ให้เกษตรกรเพื่อนำความรู้ที่ได้ ทั้งด้านแมลงศัตรูพืช โรคพืช วัชพืช และเทคนิคการพ่นสาร ไปปรับใช้ในการพ่นสารป้องกั นกำจัดศัตรูพืชด้วยโดรน ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่ งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จัดโดยคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์ การใช้อากาศยานไร้คนขับ ( drone) สำหรับการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลและผู้ สนใจ เข้าร่วมการฝึกอบรมกว่า 110 คน
นางช่อทิพย์ ศัลยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพั ฒนาการอารักขาพืช กล่าวว่า สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ในฐานะหน่วยงานวิจัยด้านอารั กขาพืชหลักของประเทศ ได้ศึกษาวิจัยการใช้ อากาศยานทางการเกษตรในการพ่ นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตลอดจนการรวบรวมองค์ความรู้ที่ เกี่ยวข้องจากงานวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ สำหรับถ่ายทอดให้กั บเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และเพื่อให้เป็ นไปตามนโยบายของกรมวิ ชาการเกษตรในฐานะเป็นผู้รับผิ ดชอบในการควบคุมวัตถุอั นตรายทางการเกษตร ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่จะพัฒนาเกษตรกรที่ใช้ อากาศยานทางการเกษตรพ่นวัตถุอั นตรายทางการเกษตร ให้มีองค์ความรู้ทางวิ ชาการและวิธีปฏิบัติในการใช้วั ตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างถู กต้องและปลอดภัย ทั้งยังได้รับการสนับสนุนวิ ทยากรและอุปกรณ์ จากสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่ อการเกษตรไทย บริษัท ทีซีเอส อะโกรเทค จำกัด และบริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และได้รับการสนับสนุ นงบประมาณจากงบอุดหนุนคงเหลื อจากการดำเนินงานวิจัยงานมูลฐาน ( Fundamental Fund) ปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริ มวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว.
อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ถู กนำมาใช้เป็นเครื่องมื อทางการเกษตรของประเทศไทยและของ โลกในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น เช่น การพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนพืช การหว่านปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ และการถ่ายภาพ สำหรับการใช้โดรนให้ถูกต้ องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุ ดในการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรู พืช ผู้ใช้มีความจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านต่างๆ อาทิเช่น รู้จักศัตรูพืช การเลือกใช้สารป้องกันกำจัดศั ตรูพืชได้ถูกชนิดกับศัตรูพืช การคำนวณสารและน้ำได้ถูกต้อง รู้เทคนิคการบินพ่นสารป้องกั นกำจัดศัตรูพืช ตลอดจนมาตรฐานการปฏิบัติ งานการพ่นสารด้วยอากาศยานไร้ คนขับทางการเกษตรที่ถูกต้อง ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ โดรนพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเปรียบเทียบการทำงานด้วย โดรนกับแรงงานคนต่อวัน สำหรับพื้นที่นา 100 – 200 ไร่ ในการพ่นสาร หากใช้โดรนพ่นสารป้องกันกำจัดศั ตรูพืชใน 1 วัน จะใช้แรงงานเพียง 2 คนต่อ 100 ไร่ เมื่อเทียบกับแรงงานคนใน 1 วัน ต้องใช้ถึง 8- 10 คนต่อ 100 ไร่ โดรนจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในตั วช่วยของเกษตรกรได้อย่างดี ขึ้นอยู่กับความจำเป็ นและเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนอนาคตคาดว่าต้นทุนโดรนเพื่ อการเกษตรจะถูกลง ขณะที่ต้นทุนแรงงานมีแนวโน้มเพิ่ มสูงขึ้น
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ ของการใช้อากาศยานทางการเกษตร ในการเพิ่มขีดความสามารถการผลิ ตของภาคการเกษตรประเทศไทย จึงมอบหมายให้คณะทำงานพิ จารณาหลักเกณฑ์การใช้ อากาศยานไร้คนขับ ( drone) สำหรับการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จัดการฝึกอบรมในครั้งนี้ ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเนื้อหาการฝึกอบรมแบ่งออกเป็ น ภาคบรรยาย เพื่อให้เกษตรกรได้รู้จักศัตรู พืชที่สำคัญในไม้ผล ประกอบด้วย โรคพืช คือ ลักษณะอาการของพืชที่ผิ ดไปจากปกติ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืช ส่งผลให้มีปริมาณและคุ ณภาพของผลผลิตลดลง เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคราสีชมพู โรคใบติด เป็นต้น แมลงและไรศัตรูพืช คือ แมลงและไรที่เป็นศัตรูพืช ทำความเสียหายให้กับผลผลิต โดยการกัดกิน เจาะ ชอนไช หรือดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่ างๆ ของพืช ทำให้พืชได้รับความเสียหายแตกต่ างกันไปตามชนิด ของแมลงที่เข้ าทำลาย ด้วงชนิดต่างๆ หนอนผีเสื้อ มวน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง ฯลฯ
อีกทั้งบางชนิดยังเป็ นพาหะนำโรคพืช และวัชพืช คือ พืชที่ขึ้นในที่ที่ไม่ต้องการ แก่งแย่งปัจจัยการเจริญเติ บโตของพืชปลูก ก่อให้เกิดความเสียหายแก่การผลิ ตทั้งปริมาณและคุณภาพ ซึ่งวัชพืชสามารถเจิญเติบโดได้ อย่างรวดเร็ว ทนต่อการกำจัด และปรับตัวได้ดี เช่น หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก สาบม่วง ผักปราบไร่ แห้วหมู เป็นต้น เราจึงต้องรู้จักการเลือกใช้ สารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องกั บชนิดของศัตรูพืช การหมุนเวียนกลุ่มสารเพื่ อลดปัญหาศัตรูพืชต้านทาน ขั้นตอนการผสมสารที่ถูกต้อง และเทคนิคการพ่นสารที่มีประสิ ทธิภาพสำหรับพ่นด้วยโดรน เป็นต้น สำหรับภาคปฎิบัติ แบ่งออกเป็น 3 ฐาน ประกอบด้วย 1) สูตรสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช การผสม และการคำนวณ 2) ทดสอบการบินพ่นสารป้องกันกำจั ดศัตรูพืช และ 3) ความปลอดภัยและอุปกรณ์ป้องกันอั นตราย เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึ กอบรมได้ฝึกปฏิบัติ สำหรับนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติ งานพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และใช้เทคโนโลยีมากมายที่เข้ ามาพัฒนาต่อยอดพร้อมนำเกษตรกรก้ าวสู่ยุคของ Smart Farm เปิดประสบการณ์ด้านนวั ตกรรมการเกษตรยุคใหม่ที่จะมาช่ วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยิ่งขึ้น นางช่อทิพย์ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเรียนรู้ “เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการจั ดการศัตรูพืชด้วยอากาศยาน หรือ โดรน ” สามารถดาวน์ โหลดเอกสารประกอบการฝึกอบรมได้ ที่ เว็บไซต์ของสำนักวิจัยพั ฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ( https://www.doa.go.th/ plprotect/ ) หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายสิริชัย สาธุวิจารณ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ โทร. 09 2919 2454
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น