อิปซอสส์ เผยผลวิจัยชุดล่าสุด ชุด SEA AHEAD wave 6 ภาพรวมมั่นใจสภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว แต่วิตกกังวล “เงินเฟ้อ” สูงสุดแทน โควิด ไม่มั่นใจด้านรายได้ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565

อิปซอสส์ เผยผลวิจัยชุดล่าสุด ชุด SEA AHEAD wave 6 ภาพรวมมั่นใจสภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว แต่วิตกกังวล “เงินเฟ้อ” สูงสุดแทน โควิด ไม่มั่นใจด้านรายได้

 อิปซอสส์ เผยผลวิจัยชุดล่าสุด ชุด SEA AHEAD wave 6  ภาพรวมมั่นใจสภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว แต่วิตกกังวล “เงินเฟ้อ” สูงสุดแทน โควิด ไม่มั่นใจด้านรายได้  

ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อสุขภาพ และ เลือกที่จะตัดรายจ่ายกลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็นและสินค้าราคาแพง  โดยกลุ่มที่มีการซื้อมากขึ้น คือ กลุ่มอาหาร มาเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด  สินค้าส่วนบุคคล  ภัตตาคารและร้านกาแฟ และ  เสื้อผ้า-รองเท้า-เครื่องประดับ  ตาม ลำดับ

วันที่ 26 ตุลาคม 2565  ณ ห้องประชุม เอ็มไพร์ ทาวเวอร์   บริษัท อิปซอสส์  จำกัด  (Ipsos Ltd.)                         ผู้นำระดับโลกด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค  ผู้ให้บริการงานวิจัยที่ทำการออกแบบเฉพาะรายแบบครบวงจร Customized One Stop Research Solution Service   โดย                              นายภาคี เจริญชนาพร  Country Service Line Leader  ได้เปิดเผย – ข้อมูลวิจัยชุดพิเศษ  SEA AHEAD wave 6  “สถานการณ์โควิด-19 ระลอก 6 จากการแพร่ระบาด สู่ โรคประจำถิ่น ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภค แบรนด์สินค้า และ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชากร ตลอดจน แนวทางการรับมือสำหรับแบรนด์และนักการตลาด   โดย อิปซอสส์ ได้ติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้ ชุดวิจัยและสำรวจนี้นับเป็นชุดที่ 6  ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3,000 ราย  เป็นชาย 49 หญิง 51 สำหรับ 5  ช่วงอายุ  รวมถึง กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่   โดยสำรวจตลาดสำคัญ ในแถบภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  รวม 6 ประเทศ   ได้แก่   อินโดนีเซีย   มาเลเซีย   ฟิลิปปินส์   สิงคโปร์   เวียดนาม และ ประเทศไทย ทำการสำรวจระหว่างเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน  2565  พร้อมถามถึงความคิดเห็นสำหรับการคาดการในอีก 6 เดือนในอนาคต อีกด้วย


นายภาคี เปิดเผยว่า  โดยภาพรวมความเชื่อมั่นของประชากรในกลุ่มประเทศแถบตะวันออกเฉียงใต้ กับสถานการณ์โควิด ที่มีการเปลี่ยนจากภาวการณ์แพร่ระบาด สู่ โรคประจำถิ่น โดย อินโดนีเซียมีความเชื่อมั่นสูงสุด และ ไทยในอัตราต่ำสุด   มีสถิติ ดังนี้  อินโดนีเซีย  เวียดนาม  สิงค์โปร์   ฟิลิปปินส์  มาเลเซีย และ ไทย  ในอัตรา 85%  81%  74%  68% 65% และ 55% ตามลำดับ  ทั้งนี้  พฤติกรรมของประชากรชาวไทยเกี่ยวกับกิจกรรมที่อยากทำในอีก 3 เดือนข้างหน้า เรียงตามลำดับดังนี้ - ไปเยี่ยมเพื่อนและครอบครัวที่บ้าน   ไปภัตตาคาร    ท่องเที่ยวภายในประเทศ   ไปร่วมงานวัฒนธรรมและงานชุมนุม    ใช้บริการรถขนส่งมวลชน   ไปเข้ายิมและทำกิจกรรมด้านกีฬา ไปเที่ยวต่างประเทศ  ในอัตรา 67%,  63%, 60%, 50%, 49%, 49% และ 43% ตามลำดับ

นอกจากนี้  กิจกรรมที่ทำในช่วงการแพร่ระบาดโควิด คือ เน้นสุขภาพ และ ช้อปปิ้ง ออนไลน์        โดย  96% ยอมทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น  เพื่อการดูแลสุขภาพร่างกายตนเองให้ดียิ่งขึ้น                   และ  83% ยอมตัดความสะดวกสบายบางอย่าง เพื่อเอาเงินไปซื้อสินค้าด้านสุขภาพ



คนไทยนิยมซื้อผ่านการ ไลฟ์สตรีม โดยแพลตฟอร์ม ที่นิยม คือ  โซเชียลมีเดีย  อี-คอมเมิร์ช 

นายภาคี เปิดเผยเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ยังคงเป็นที่ช่องทางที่เติบโตอย่างต่อ เนื่อง  โดยสถิติการซื้อของออนไลน์ใน 6 เดือนที่ผ่านมา เปรียบเทียบระหว่างช่วง  พ.ย. 64 ถึง พ.ค. 65    สำหรับกิจกรรม  มีการซื้อมากขึ้น / การซื้อเท่าเดิม และ ซื้อน้อยลง  ดังนี้  : -                                                 ซื้อมากขึ้นเป็นสัดส่วน   51 : 47%  / เท่าเดิม   32 : 36%  / ซื้อน้อยลง  13 :14%  และ ไม่ระบุ   


จะเห็นว่าเปอร์เซ็นต์ที่มีการซื้อเท่าเดิมสูงขึ้น  ส่วนการซื้อมากขึ้นกลับมีพฤติกรรมในการซื้อลดลง  และ จำนวนคนกลุ่มที่ซื้อน้อยลง มีอัตราสูงขึ้นเล็กน้อย  

ทั้งนี้ ประเภทสินค้าที่ซื้อ  ได้แก่ เสื้อผ้า / รองเท้า /แฟชั่น  -  สินค้าส่วนบุคคล และ  ผลิตภัณฑ์ด้านความงาม  กลุ่มอา/หาร   กลุ่มของใช้ในบ้าน  กลุ่มเครื่องดื่ม  ของเล่นและเกม    ผลิตภัณฑ์ซ่อมแซมบ้าน   



ผู้บริโภคไทยยังคงนิยมซื้อของผ่านช่องทางออฟไลน์ เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์ เป็นอันดับ 1 ร้านสะดวกซื้อและร้านโชห่วยตามมาติดๆ แต่สัดส่วนของการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ก็มีไม่น้อยเช่นกัน

โดยช่องทางการจับจ่าย และความถี่ในการจับจ่าย  โดยมีสถิติเฉลี่ย เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ความถี่เดือนละครั้ง  และ สัปดาห์ละครั้งหรือมากกว่า ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

Supermarket-Hyper market      43  :   39 = 82%                                                                                            CVS-Minimart   38   :  43 = 81%                                                                Traditional Grocery store          35   :  44 = 79%                                                                                               Wet market      33   :  40 = 73%                                           

E    Commerce                              40  :  34 = 74%                                                                   Social network seller                 27  :  24 = 51%                                                                                     

        

โดยแพลตฟอร์ม การไลฟ์สตรีม ช็อปปิ้ง ที่นิยม  คือ  โซเชียลมีเดีย และ อี คอมเมิร์ช  ด้วยสัดส่วน     87’%   ไลฟ์ผ่าน โซเชี่ยลมีเดีย (เฟสบุ๊ค / ยูทูป / อินสตราแกรม ไลฟ์)                                         71%    อี คอมเมิร์ช (Shoppee  Lazada)  

ประชากรในกลุ่ม SEA มีความเชื่อมั่นในภาพรวมความเชื่อมั่นของสภาวะเศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัวดีขึ้น  ส่วนความคิดเห็นด้านสถานะทางด้านการเงินในครัวเรือน ในอีก 6 เดือน ดีขึ้น / เหมือนเดิม หรือ แย่ลง   โดยอัตราที่ สถานภาพทางการเงินดีขึ้น 27% และ คิดว่าแย่ลง 36%  ส่วนเท่าเดิม คือ  37%    โดยความมั่นใจว่าในสถานะภาพ ด้านการเงินในครัวเรือน ในอีก 6 เดือนข้างหน้า (จาก พ.ค. 2565)  การเงินดีขึ้น  เหมือนเดิม และ แย่ลง ในอัตรา  51%  32% และ  17% ตามลำดับ  เป็นผลให้ประชากรส่วนใหญ่จะมีการตัดงบหรือชะลอการซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ราคาแพง   โดยกลุ่มสินค้าที่มีการจับจ่ายมากขึ้น และ กลุ่มที่มีการซื้อลดลง เป็นสัดส่วน ดังนี้  

กลุ่มที่มีการซื้อมากขึ้น คือ  อาหารสำหรับปรุงเองที่บ้าน  ผลิตภัณฑ์ด้านทำความสะอาด  สินค้าส่วนบุคคล  ภัตตาคารและร้านกาแฟ  และ เสื้อผ้า-รองเท้า-เครื่องประดับ  ในอัตรา  50%  35%  31%  22%  และ 19%  ตามลำดับ

ส่วนกลุ่มสินค้าและบริการที่มีการใช้จ่ายน้อยลง  ได้แก่  การท่องเที่ยวภายในประเทศ   ท่องเที่ยวต่างประเทศ   กิจกรรมด้านวัฒนธรรม  ภัตตาคารและร้านกาแฟ  และ เครื่องใช้ไฟฟ้า  ในอัตรา  40%  39%  38%  33%  และ  30%  ตามลำดับ  อย่างไรก็ตาม   ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทย  ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันถึง  4 เดือน

คนไทยเลือกแบรนด์แบรนด์ที่สะท้อนภาพลักษณ์และคุณค่าของตนเอง  และอยากให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วยในการเลือกสินค้าและบริการ

ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคชาวไทย  71% ยินดีจ่ายเพิ่มให้กับแบรนด์ที่สามารถเสริมภาพลักษณ์ให้ตนเอง และ 74% เลือกซื้อแบรนด์ที่สะท้อนคุณค่าให้กับตนเองได้  แต่สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่จะให้คุณค่าต่อแบรนด์มากกว่าอัตราเฉลียของภาพรวมการบริโภค ดังนี้                                              76% ของคนไทย Gen Z มักเลือกซื้อแบรนด์ที่สะท้อนถึงคุณค่าส่วนตัว                                        73% ยินดีจ่ายเพิ่มให้กับแบรนด์ที่สร้างภาพลักษณ์ให้กับตัวเอง  




ทั้งนี้ ในยุคที่ข้อมูลล้นหลามและเข้าถึงได้โดยง่าย  กระบวนการตัดสินใจที่ไม่ยุ่งยาก เป็น กุญแจสำคัญสำหรับแบรนด์สินค้าและนักการตลาด   ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภค ในการหาตัวช่วยในการช่วยตัดสินใจ  โดย  69% ของผู้บริโภคชาวไทยต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญเลือกผลิตภัณฑ์และบริการแทนการตัดสินใจเอง

ความวิตกกังวลและความเชื่อมั่นในสภาวะเศรษกิจ หลังโควิด สู่ โรคประจำถิ่น  ภาวะเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนของรายได้ เป็นปัญหาที่วิตกกังวลสูงสุด  

ความกังวลด้านเงินเฟ้อมีอัตราสูงขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญ ส่วน โรคระบาดโควิด-19  มีอัตราลดต่ำลงอย่างเด่นชัด  ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวก็เป็นปัจจัยด้านความกังวลใจของประชากรทั่วโลก และ ประชากรในกลุ่ม SEA เช่นกัน แต่ลำดับความกังวลใจแตกต่างกัน    


อิปซอสส์ สรุปปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อธุรกิจ พร้อม แนะ แนวทางการรับมือวิกฤตตลาด

ผู้บริโภคในกลุ่มประเทศ SEA  โดยเฉพาะคนไทย  ต่างวิตกกังวลในความไม่แน่นอนของสุขภาพทางการเงินในอนาคต  ซึ่งนำไปสู่อารมณ์ที่อ่อนไหว  ดังนี้

1. ถึงแม้ว่าผู้บริโภคจะรู้สึกว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น  เมื่อเทียบกับปี 2564  อย่างไรก็ ตาม  อัตราเงินเฟ้อได้กลายเป็นปัญหาสำคัญที่สร้างความวิตกกังวลเป็นอย่างสูง แทนความกลัวต่อโรคระบาด โควิด-19                                                                                                                             

2. ในขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีความพยายามในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ  เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ในโลก  แต่ประชากรต่างก็ยังมีวิตกกังวลถึงผลกระ ทบของภาวะเงินเฟ้อ   ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถพลิกฟื้นได้ดีเท่าที่ควร                                                                                                             

3.ภาวะเงินเฟ้อและราคาที่พุ่งสูงขึ้น  ส่งผลกระทบต่อการครองชีพและรายได้  ซึ่งถือเป็น สถานการณ์ที่ยากลำบากของผู้ที่ยังรอคอยการฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19

4. เนื่องจากผู้บริโภคจำต้องจับจ่ายเกี่ยวกับกลุ่มอาหาร  ของใช้ส่วนตัว และ เชื้อเพลิง มากขึ้น  ทำ ให้พวกเขาต้องตัดงบสำหรับกลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็นและที่มีราคาสูง ไว้ก่อน  ทำให้พฤติกรรม การซื้อของผู้บริโภคหันมาคำนึงถึงคุณค่าสินค้าเพื่อความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น  ทั้งนี้   แบรนด์จำเป็นต้องคำนึงถึงจุดแข็ง และ กลยุทธด้านราคาที่ส่งผลต่อความอ่อนไหวด้านความรู้สึกของ ผู้บริโภคในภาวะเงินเฟ้อ  ตลอดจน ต้องพิจารณา ปัจจัยเหล่านี้อย่างรอบคอบในการทำแผนการตลาด

5. ผู้บริโภคจะเลือก  "ผู้เชี่ยวชาญ"  มากกว่า “อินฟลูเอนเซอร์” เพียงอย่างเดียว  ยิ่งกว่านี้ผู้บริโภคจะเลือกแบรนด์สินค้าที่สะท้อนคุณค่าของตัวตนและความคุ้มค่า  จุดนี้อาจใช้ให้เกิด ประโยชน์ ต่อ แบรนด์สินค้าในการชนะใจผู้บริโภค และ การสร้างความภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad