Global treaty on plastics: สนธิสัญญาเขย่าโลกทจี่ ะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมปิ โตรเคมีในอนาคต - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567

Global treaty on plastics: สนธิสัญญาเขย่าโลกทจี่ ะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมปิ โตรเคมีในอนาคต


Global treaty on plastics: สนธิสัญญาเขย่าโลกทจี่ ะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมปิ โตรเคมีในอนาคต

Global treaty on plastic หรือสนธิสัญญาระดับโลกว่าด้วยพลาสติกคืออะไร ?

Global treaty on plastic หรือสนธิสัญญาระดับโลกว่าด้วยพลาสติก กำลังได้รับการพัฒนาและคาดว่าจะมีบทบาทอย่างมากในอนาคต โดยเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่นำเสนอเพื่อแก้ไขวิกฤตมลพิษจากพลาสติกทั่วโลก มีเป้าหมายเพื่อลดมลพิษพลาสติกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2040 ทั้งนี้สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้สนธิสัญญาจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่มีการเริ่มร่างแผนงานเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายแล้ว โดยแผนการกำจัดขยะพลาสติกขององค์การสหประชาชาติ ที่เรียกว่า System change scenario กำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมลง 80% ภายในปี 2040 ผ่านการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. การใช้ซ้ำ 2. รีไซเคิล 3. ปรับเปลี่ยนทิศทางและกระจายความเสี่ยง และ 4. การจัดการกับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถใช้ซ้ำ (Reuse) หรือรีไซเคิล(Recycle) ได้

แผนงานตาม System change scenarios มีความท้าทายและมีข้อกังขาด้านความเป็นไปได้หลายด้าน 

การใช้ซ้ำเป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับการลดมลพิษจากขยะพลาสติกเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายและทำได้ยาก เนื่องจากต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นหลัก การเร่งการรีไซเคิลให้เกิดขึ้นเป็นไปอย่างล่าช้าอันเนื่องมาจากปัญหาการจัดเก็บขยะรีไซเคิล เพื่อนำกลับเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการรีไซเคิลใหม่ ในส่วนของ Chemical recycling ยังอยู่ในรับดับที่ต่ำมาก สาเหตุหลักนอกจากเป็นเรื่องของเทคโนโลยีแล้ว ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการลงทุนเนื่องจากต้นทุนที่ค่อนข้างสูง การจัดการกับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถใช้ซ้ำ (Reuse) หรือ รีไซเคิล (Recycle) ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการร่วมกันกำหนดนโยบาย กฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การปรับตัวของไทยตาม Global treaty on plastic

แม้ว่าสนธิสัญญาจะยังไม่บรรลุในเร็ววัน แต่ไทยควรเร่งปรับตัวและหาโอกาสเร่งปรับตัว เนื่องจากสนธิสัญญาส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมพลาสติก การปรับตัวของไทยอาจรวมถึงการลดการใช้พลาสติกและการใช้วัสดุชีวภาพแทน รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการรีไซเคิลและโครงการนำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ ยังควรมีการปรับปรุงการจัดการขยะ สร้างระบบการเก็บขยะที่มีประสิทธิภาพและการคัดแยกและแปรรูปที่ดีขึ้น เพื่อลดการรั่วไหลของพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมโดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในเชิงบูรณาการ

บทวิเคราะห์โดย...https://www.scbeic.com/th/detail/product/global-treaty-on-plastics-240124

ผู้เขียนบทวิเคราะห์


ณัฐนันท์อภนิันทว์ัฒนกูล (Nattanan.apinunwattanakul@scb.co.th)

นักวิเคราะห์อาวุโส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad