“ธนาคารไทยเครดิต” โชว์กลยุทธ์ในงาน IPO Public Roadshow ประกาศช่วงราคาจองซื้อเบื้องต้น 28.00 – 29.00 บาท/หุ้น นักลงทุนรายย่อยจองซื้อ 23 - 26 ม.ค.นี้ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567

“ธนาคารไทยเครดิต” โชว์กลยุทธ์ในงาน IPO Public Roadshow ประกาศช่วงราคาจองซื้อเบื้องต้น 28.00 – 29.00 บาท/หุ้น นักลงทุนรายย่อยจองซื้อ 23 - 26 ม.ค.นี้

IMG_1405_OK

 “ธนาคารไทยเครดิต” โชว์กลยุทธ์ในงาน IPO Public Roadshow ประกาศช่วงราคาจองซื้อเบื้องต้น 28.00 – 29.00 บาท/หุ้น นักลงทุนรายย่อยจองซื้อ 23 - 26 ม.ค.นี้

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ธนาคารพาณิชย์ที่เข้ามาระดมทุนในรอบ 10 ปี โชว์กลยุทธ์การเติบโตในงาน IPO Public Roadshow พร้อมเดินหน้าเสนอขายหุ้นไอพีโอ “CREDIT” รวมจำนวนไม่เกิน 347,029,122 หุ้น เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปมาร่วมสู่เส้นทางแห่งการลงทุนกับธนาคารไทยเครดิต โดยจัดสรรหุ้นไอพีโอให้นักลงทุนรายย่อยร่วมจองซื้อวันที่ 23 - 26 มกราคมนี้ กำหนดช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น 28.00 – 29.00 บาท/หุ้น ผ่าน 10 บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารชั้นนำ โดยนักลงทุนรายย่อยจะชำระเงินที่ราคา 29.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาเสนอขายสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น และจะได้รับคืนส่วนต่างค่าจองซื้อคืน หากราคาเสนอขายสุดท้ายต่ำกว่าราคา 29.00 บาทต่อหุ้น ขณะที่มีผู้ลงทุนสถาบัน Cornerstone Investors สนใจเข้ามาลงทุนคิดเป็นประมาณ 40% ของหุ้น IPO

นายวิญญู ไชยวรรณ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) (“ธนาคารฯ” หรือ ธนาคารไทยเครดิต) กล่าวว่า ธนาคารฯ จัดงานนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ในวันนี้
(22 มกราคม 2567) เพื่อให้ข้อมูลศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ ตอกย้ำ การเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อผู้ประกอบการรายย่อยที่เติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (
SET) โดยมี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

ปัจจุบัน ธนาคารไทยเครดิต เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย ( Nano and Micro Finance ) และสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี ( Micro SME ) ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าในประเทศไทยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้เท่าที่ควร กลุ่มลูกค้าดังกล่าวมีจำนวนมากและถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมไปถึง บริการเงินฝาก บริการสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจธนาคารฯ ชูจุดเด่น ธนาคารไทยเครดิต ถือเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มี NIM (Net Interest Margin) สูงสุดในอุตสาหกรรม มีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (Cost to Income Ratio) ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม และอัตราการเติบโตของสินเชื่อสูงสุดในอุตสาหกรรม[1]

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2563-2565 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 ธนาคารฯ มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 6,370.9 ล้านบาท 8,493.6 ล้านบาท 11,052.4 ล้านบาท และ 9,783.8 ล้านบาทตามลำดับ มีกำไรสุทธิ 1,372.9 ล้านบาท 1,935.0 ล้านบาท 2,352.5 ล้านบาท และ 2,816.7 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROE) เท่ากับ 18.0% 20.7% 18.9% และ 21.8% ตามลำดับ สำหรับปี 2563-2565 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ มีจำนวนเท่ากับ 68,562.4 ล้านบาท 97,728.7 ล้านบาท 121,298.0 ล้านบาท และ 138,435.1 ล้านบาท ตามลำดับ อัตราเติบโตโดยเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 33.0% ต่อปี (2563-2565) โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเติบโตในทุกกลุ่มสินเชื่อหลักของธนาคารฯ ทั้งสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย และสินเชื่อบ้าน

การเข้ามาระดมทุนในครั้งนี้ จะเพิ่มศักยภาพในการบริหารงาน โดยวัตถุประสงค์การระดมทุนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อ รวมทั้ง การปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
(IT Security and Infrastructure) รวมทั้งใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และวัตถุประสงค์อื่น                                                            

นายกนต์ธีร์ ประเสริฐวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มเดินสาย Roadshow นักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ นักลงทุนรายย่อย เพื่อโชว์ศักยภาพธนาคารฯที่มีความมั่นคง และการมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น โดย ธนาคารไทยเครดิตมีอัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อสูง ผลิตภัณฑ์และจำนวนลูกค้าสินเชื่อของธนาคารฯ มีการขยายตัว มีผลตอบแทนสูง ด้วยโครงสร้างเงินทุนที่ต้นทุนต่ำ

ปัจจุบัน ธนาคารฯ เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายโดยธนาคารฯ และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม จำนวนไม่เกิน 347,029,122 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 5.00 บาท/หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 28.2 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารฯ ภายหลังการทำ IPO[2] นับเป็นธนาคารพาณิชย์ที่เสนอขายหุ้น IPO ในรอบ 10 ปี

ทั้งนี้ ธนาคารไทยเครดิต มีนักลงทุนสถาบันทั้งไทยและต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนธนาคารไทยเครดิต รูปแบบผู้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investors รวมจำนวน 6 ราย คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณไม่เกิน 140,352,490 หุ้น ที่ราคาเสนอขายสุดท้าย หรือคิดเป็นประมาณ 40% ของจำนวนหุ้น IPO ทั้งหมด สะท้อนความเชื่อมั่น ประกอบด้วยผู้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investors ที่จองซื้อในประเทศ จำนวนประมาณไม่เกิน 23,646,600 หุ้น คือ 1. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด และ 3. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) จำกัด


เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investors ที่จองซื้อในต่างประเทศ จำนวนประมาณไม่เกิน 116,705,890 หุ้น
คือ 1.บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (
International Finance Corporation (IFC)) 2.ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) และ 3.E.SUN Commercial Bank, Ltd.

สำหรับการกำหนดราคาเสนอขายสุดท้าย (Final Price) ของหุ้นสามัญที่เสนอขายในครั้งนี้ จะกระทำผ่านการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Bookbuilding) ซึ่งเป็นวิธีการสอบถามปริมาณความต้องการซื้อหุ้นสามัญของนักลงทุนสถาบันในแต่ละระดับราคา โดยช่วงราคาที่นำมาใช้ทำการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Bookbuilding) อยู่ที่ระหว่าง 28.00 – 29.00 บาทต่อหุ้น
ทั้งนี้ ธนาคารฯ ผู้ถือหุ้นเดิม ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย และผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศ (
Initial Purchasers) จะพิจารณาร่วมกันในการกำหนดราคาเสนอขายสุดท้าย (Final Price) โดยพิจารณาจากราคาและจำนวนหุ้นที่นักลงทุนสถาบันเสนอความต้องการซื้อเข้ามา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad