ปูนซีเมนต์นครหลวง หารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผลักดันการผลิตปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2567

ปูนซีเมนต์นครหลวง หารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผลักดันการผลิตปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก


ปูนซีเมนต์นครหลวง หารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุ

สาหกรรม

ผลักดันการผลิตปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ ลดปล่อยก๊าซ

เรือนกระจก


นายมนตรี นิธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจปูนซีเมนต์ของประเทศไทย ภายใต้ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) (ที่ จากขวา) พร้อมด้วย นางสาวสุจินตนา วีระรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด บริษัทในกลุ่มบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง (ที่ จากซ้าย) และคณะผู้บริหาร บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เข้าพบนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ที่ จากขวา) เพื่อรายงานให้ทราบถึงความมุ่งมั่นในการเดินหน้าสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยได้มีการผลิตปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ หรือ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” มาตรฐาน มอก. 2594 ในกลุ่ม INSEE แล้ว ซึ่งถูกกำหนดเป็นแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพสูง ตามแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ โดยมี นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ที่ จากขวา) ณ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เน้นย้ำให้ภาคการผลิตเตรียมระบบการผลิตปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำตามมาตรฐานอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้สอดรับกับกติกาใหม่ของโลก โดยมอบหมายให้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) พิจารณาผลกระทบต่อผู้ผลิตปูนซีเมนต์ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ในช่วงเปลี่ยนผ่านให้น้อยที่สุด 

นายมนตรี นิธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจปูนซีเมนต์ของประเทศไทย ภายใต้ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปูนซีเมนต์นครหลวงได้ตั้งเป้าหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างต่อเนื่องในทุกกิจกรรมของบริษัทฯ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการอยู่ร่วมกันกับชุมชน สังคม และกับทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี พ.ศ. 2573 (INSEE Sustainability Ambition 2030) 

ในทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการบรรลุเป้าหมายลดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของกลุ่มบริษัทให้ได้ต่ำกว่า 470 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตัน ดำเนินการอย่างรอบด้าน ทั้งการเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Green product) เข้าไปในพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งปูนซีเมนต์นครหลวงเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกในประเทศไทยที่ขับเคลื่อนตลาดเปลี่ยนจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท เป็นปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในรูปแบบถุง 100% ตั้งแต่ปี 2561 ภายใต้แบรนด์ “อินทรีเพชรพลัส” และ “ปูนซีเมนต์อินทรีเพชร Easy Flow” อีกทั้งได้รับการเผยแพร่ฉลากสิ่งแวดล้อม EPD (Environment Product Declaration) ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 (ISO14025) จาก The International EPD® System เป็นโปรแกรม EPD ระดับโลก ภายใต้มาตรฐานปูนซีเมนต์ระดับโลก ซึ่งการคำนวณทั้งหมดใช้เครื่องมือตามมาตรฐานระดับสากล ที่พัฒนาขึ้นโดย Global Cement and Concrete Association (GCCA) สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ และส่งผลดีต่อสภาพอากาศที่ดีในระยะยาว รวมทั้งการเพิ่มจำนวนต้นไม้เพื่อทดแทนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์"

ปูนซีเมนต์นครหลวง เป็นหนึ่งผู้นำในการผลักดันเพิ่มระดับการทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ที่มีความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์สูงด้วยปูนซีเมนต์ไฮโดรลิกที่มีความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำในประเทศไทย โดยประสบความสำเร็จในการทดแทนปูนซีเมนต์ไฮโดรลิกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของตลาดค้าปลีกทั้งหมด และร้อยละ 80 ในภาคอุตสาหกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad