ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้โพสต์ในเพจเฟสบุ๊คส่วนตัวถึงประเด็น “รัชกาลที่ 6 กับการก่อเกิดอุดมศึกษาไทย”
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้โพสต์ในเพจเฟสบุ๊คส่วนตัวถึงประเด็น “รัชกาลที่ 6 กับการก่อเกิดอุดมศึกษาไทย” ว่า วันนี้ 25 พย 2563 เป็น วันครบรอบ 95 ปี แห่งการสวรรคตของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการจะขอเล่าถึงพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ในการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้โพสต์ในเพจเฟสบุ๊คส่วนตัวถึงประเด็น “รัชกาลที่ 6 กับการก่อเกิดอุดมศึกษาไทย” ว่า วันนี้ 25 พย 2563 เป็น วันครบรอบ 95 ปี แห่งการสวรรคตของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการจะขอเล่าถึงพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ในการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ก่อเกิดบนพื้นฐานเดิมของโรงเรียนฝึกหัดวิชาสำหรับข้าราชการพลเรือน ตั้งขึ้นในปี 2442 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็กในปี 2445 ซึ่งล้วนเป็นวิวัฒนาการทางการศึกษาในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 นั่นเองครั้นรัชกาลที่ 6 ขึ้นครองราชย์ ก็ทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติมที่จะจัดให้มีการอุดมศึกษาขึ้นมาในสยามให้จงได้ในเร็ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้รีบยกโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นสู่ระดับอุดมศึกษาทันที เรียกชื่อว่าโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ 1 มกราคม 2453 จัดว่าเป็นพระบรมราโชบายที่ทรงดำเนินการเร็วมาก คือภายในไม่กี่เดือนที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 สวรรคตใน ปี 2458 โรงเรียนนี้เปิดสอน 8 วิชา คือ การปกครอง กฏหมาย การทูต การคลัง การแพทย์ การช่าง การเกษตร และวิชาครู โดยสอนใน 5 โรงเรียน คือ โรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา โรงเรียนยันตรศึกษา จะเห็นได้ว่าไม่ได้มีเพียงแต่วิชาที่จะสอนผู้คนให้ไปรับราชการเท่านั้น
ในวันที่ 26 มีนาคม ปี 2459 ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนนี้ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นต้นมีสี่คณะ คือ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่ก็มิได้ให้ปริญญาบัตรในทันที จาก ปี 2459 ถึง ปี 2465 ที่ยกคุณภาพผู้บรรยาย และเพิ่มพูนศิลปวิทยาการนั้น มหาวิทยาลัยจัดสอนเพียงระดับประกาศนียบัตร เท่านั้น รอจนถึงปี 2465 จึงเริ่มสอนในระดับปริญญาตรี จนสิ้นรัชกาลที่ 6 ไม่มีการให้ปริญญาบัตรแก่นิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรอเวลานับแต่สถาปนามา เกือบ 15 ปี จึงให้ปริญญาเป็นครั้งแรก คือ เวชศาสตรบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิต) เมื่อ 25 ตุลาคม 2473 โดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 เสด็จมาพระราชทานด้วยพระองค์เอง เริ่มต้นธรรมเนียมการให้เกียรติอย่างสูงต่อบัณฑิตในประเทศไทย ที่พระมหากษัตริย์ พระราชินี และเจ้านายชั้นสูง ทรงพระกรุณา เสด็จมาพระราชทานหรือประทานให้ด้วยพระหัตถ์
เป็นอันว่าการอุดมศึกษาไทยได้ถือกำเนิดมา โดยสมบูรณ์ เมื่อปี 2473 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ราวสองปี โดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 เป็นหลัก แต่กระบวนพระบรมราโชบายเรื่องนี้เริ่มต้นด้วยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 และจบสมบูรณ์คือพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรก จากพระหัตถ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น