เชฟรอนเผยโฉมอนาคตแห่งทศวรรษใหม่ในงาน “Maker Faire Bangkok 2020” - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563

เชฟรอนเผยโฉมอนาคตแห่งทศวรรษใหม่ในงาน “Maker Faire Bangkok 2020”


เชฟรอนเผยโฉมอนาคตแห่งทศวรรษใหม่ในงาน “Maker Faire Bangkok 2020” มหกรรมแสดงผลงานของเมกเกอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เชฟรอนเผยโฉมอนาคตแห่งทศวรรษใหม่ในงาน “Maker Faire Bangkok 2020”
มหกรรมแสดงผลงานของเมกเกอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรุงเทพฯ – 18 มกราคม 2563 – นายไพโรจน์ กวียานันท์ (ที่ จากซ้าย) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และ มร.เจฟฟ์ เลอร์แมน(ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เชฟรอนเอเชียเซ้าท์ จำกัด ร่วมกับ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล (ที่ จากขวา) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และ ดร.ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ (ที่ จากขวา) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ให้การต้อนรับ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ (ที่ จากซ้าย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในโอกาสเปิดงาน “Maker Faire Bangkok 2020: THE FUTURE WE MAKE” มหกรรมแสดงสิ่งประดิษฐ์ของเมกเกอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอผลงานที่คิดค้นและสร้างสรรค์ขึ้นโดยเมกเกอร์ชาวไทยและต่างประเทศกว่า 60 บูธ พร้อมด้วยกิจกรรมเวิร์กช็อปหลายรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้สนุกสนานกับการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่ โดยในพิธีเปิดงานได้มี นางสุวรรณี  คำมั่น (ซ้ายสุด) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล (ขวาสุด) เจ้าหน้าที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมงานด้วย เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์การค้า เดอะสตรีท รัชดา
# # #

เกี่ยวกับโครงการ ”Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต”
      
   https://www.enjoy-science.org/


โครงการระยะยาว ปี ด้วยงบประมาณรวมกว่า 1,000 ล้านบาท ที่บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ริเริ่มขึ้นในปี 2558 เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับประเทศไทย ผ่านการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็ม (STEM) รวมถึงการศึกษาสายอาชีพหรืออาชีวศึกษาครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ การศึกษา สังคม และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีสถาบันคีนันแห่งเอเซียเป็นผู้ดูแลโครงการ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad