เกษตรกรช้ำ!! พ่อค้าทุบราคาหมูหน้าฟาร์ม อ้างคนกินลด-ตลาดเงียบ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565

เกษตรกรช้ำ!! พ่อค้าทุบราคาหมูหน้าฟาร์ม อ้างคนกินลด-ตลาดเงียบ

 .com/img/a/

เกษตรกรช้ำ!! พ่อค้าทุบราคาหมูหน้าฟาร์ม อ้างคนกินลด-ตลาดเงียบ

แจงห้องเย็นสต๊อกพื้นฐานป้อนลูกค้าปกติ-เก็บหมูช่วงล้นตลาด ลดเสี่ยงขาดทุน

 

นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตสุกรในขณะนี้ว่า เกษตรกรกำลังได้รับผลกระทบจากภาวะราคาสุกรปรับตัวในช่วงสั้นๆที่ผ่านมา โดยเฉพาะผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) เสนอราคาซื้อสุกรต่ำกว่าราคาประกาศ โดยให้เหตุผลว่าประชาชนเริ่มลดการบริโภคเนื้อหมู เนื่องจากราคาหมูที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยลบต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ ปริมาณผลผลิตสุกรอาจเกิดล้นตลาด การกล่าวอ้างของพ่อค้าคนกลางดังกล่าว กลายเป็นผลกระทบเชิงจิตวิทยา ทำให้ผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจขายหมูในราคาต่ำกว่าต้นทุน บางฟาร์มขายหมูไม่ออก เพราะผู้ซื้อขอเลื่อนจับหมู บอกว่าการซื้อขายหดตัวอย่างหนัก ส่งผลให้เกษตรกรจำต้องเลี้ยงหมูต่อ ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่ข้อมูลของพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ระบุว่า ภาวะโรคระบาดส่งผลกระทบให้ปริมาณเนื้อหมูในภาคเหนือลดลงร้อยละ 50 จากปริมาณความต้องการวันละ 6,000-7,000ตัว จนต้องนำเข้ามาจากภาคอื่น ทำให้มีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่ม

.com/img/a/

“ปัจจุบันเกษตรกรทั่วประเทศต่างร่วมกันรักษาระดับราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มไว้ไม่เกิน 110 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อไม่ให้เป็นจำเลยของสังคมว่า คนเลี้ยงหมูคือต้นเหตุทำให้ราคาหมูแพง แม้ต้องแบกภาระต้นทุนสูง โดยบางฟาร์มต้นทุนพุ่งไป 120 บาทต่อกิโลกรัมแล้วก็ตาม เพราะเราต้องการให้สังคมเข้าใจและผ่อนคลายสถานการณ์ให้ดีขึ้น การที่ผู้ซื้อกดราคาหน้าฟาร์มจึงเป็นการซ้ำเติมความทุกข์ของเกษตรกร อาจมีผลต่อการตัดสินใจของผู้เลี้ยงที่กำลังจะกลับเข้าสู่ระบบ ทั้งๆที่แนวทางแก้ปัญหาที่หลายฝ่ายดำเนินการอยู่ กำลังขับเคลื่อนไปในทางที่ดีแล้ว” นายสุนทราภรณ์ กล่าว

สำหรับประเด็นที่มีการกล่าวถึงผู้ประกอบการห้องเย็นอาจเก็บสต๊อกไว้เพื่อเก็งกำไร นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ ให้ข้อมูลและตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วง 5 เดือนก่อนหน้านี้ เกษตรกรประสบปัญหาภาวะราคาตกต่ำอย่างหนัก จากปริมาณสุกรล้นตลาด ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเก็บเนื้อสุกรเข้าไว้ในสต๊อก แม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และตามปกติแล้วห้องเย็นจะมีการเก็บสต๊อกสินค้าพื้นฐาน เพื่อรอส่งมอบแก่ลูกค้าประจำ หรือนำไปแปรรูปเป็นสินค้าของตนเอง อย่างไรก็ตาม เนื้อสุกรเป็นสินค้าที่ไม่สามารถแช่เย็นได้นาน เนื่องจากจะส่งผลต่อคุณภาพและเกิดการเน่าเสีย เพราะฉะนั้นการกล่าวอ้างว่ามีผู้เก็บเนื้อสุกรเพื่อเก็งกำไรนั้นไม่เป็นความจริง./

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad