แถลงการณ์ของยูนิเซฟต่อเหตุ การณ์ข่มขืนนักเรียนหญิงในจ.มุ กดาหาร
เหตุการณ์นี้คือสัญญาณว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องปรับปรุ งการคุ้มครองเด็กในโรงเรียน
กรุงเทพฯ 13 พฤษภาคม 2563 – ยูนิเซฟขอประณามเหตุการณ์ที่เด็ กนักเรียนหญิงอายุ 14 ปี และ 16 ปี ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวั ดมุกดาหาร ถูกครูและศิษย์เก่าผู้ต้องสงสั ยข่มขืนอย่างต่อเนื่องเป็ นระยะเวลานาน เหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นชี้ ให้เห็นถึงความล้มเหลวในการปกป้ องคุ้มครองเด็ก และควรเป็นจุดเปลี่ยนให้ทุกฝ่ ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนิ นการเพื่อปรับปรุงการคุ้ มครองเด็กในโรงเรียนโดยด่วน
ไม่ควรมีเด็กคนใดควรต้องเผชิญกั บความรุนแรง ไม่ว่าในรูปแบบใด หรือสถานที่ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียน ซึ่งควรเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรั บเด็กทุกคน โรงเรียนต้องเป็นที่ ๆ เด็กรู้สึกปลอดภัยและมั่นคง และเป็นที่ ๆ พวกเขาจะสามารถเรียนรู้ เติบโต ตลอดจนพัฒนาทักษะและความมั่ นใจในการเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ที่สมบูรณ์ต่อไปในอนาคต
หนึ่งในหน้าที่และจริยธรรมพื้ นฐานที่สำคัญของสถาบันการศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คือการปกป้องคุ้มครองเด็กนักเรี ยนทุกคน โดยครูและบุคลากรทางการศึ กษาจะต้องเป็นผู้นำในการติดตาม เฝ้าระวัง และสังเกตสัญญาณที่บ่งชี้เหตุรุ นแรง การล่วงละเมิด หรือการถูกละเลยทอดทิ้ง ตลอดจนรายงานเหตุการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ครูยังมีหน้าที่ปกป้ องนักเรียนจากอันตรายใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงอันตรายที่ กระทำโดยเพื่อนครูและบุ คลากรทางการศึกษาด้วยกันเอง
ยูนิเซฟชื่นชมกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการติดตามกรณีนี้อย่างจริงจัง และเชื่อมั่นว่าการดำเนิ นการตามกระบวนการจะนำไปสู่การจั ดการที่เหมาะสมกับกรณีการละเมิ ดเด็กอย่างรุนแรงเช่นนี้ โดยยูนิเซฟจะคอยติดตามความคื บหน้าของกรณีนี้อย่างต่อเนื่อง
การป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลั กษณะนี้เกิดขึ้นถือเป็ นบทบาทสำคัญของภาคการศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ งของระบบและกลไกการคุ้มครองเด็ กระดับชาติ กระทรวงศึกษาธิการควรพิ จารณาทบทวนถึงประสิทธิ ภาพของมาตรการคุ้มครองเด็ก กลไกการเฝ้าระวัง และแนวทางการดูแลช่วยเหลือเมื่ อเกิดเหตุรุนแรงในโรงเรียน การดำเนินการทบทวนร่วมกับองค์ กรทางวิชาชีพเช่นคุรุสภา จะนำไปสู่การพั ฒนาจรรยาบรรณและข้อกำหนดเชิ งพฤติกรรม (code of conduct) ของวิชาชีพครูและบุ คลากรทางการศึกษา และสร้างความเชื่อมั่นว่าจะมี การปฏิบัติตามข้อกำหนดเชิงพฤติ กรรมนั้น โดยมีบทลงโทษที่เหมาะสมเมื่อไม่ ปฏิบัติตามข้อกำหนด อีกทั้งต้องจัดให้มีช่ องทางการแจ้งเหตุอย่างเป็ นความลับสำหรับนักเรียนและเจ้ าหน้าที่ ซึ่งทุกคนควรรับทราบวิธีแจ้ งเหตุตามกลไกนี้ โดยโรงเรียนควรกำหนดวิธีการส่ งต่อให้กับหน่วยงานด้านสวัสดิ การสังคมอย่างชัดเจน รวมทั้งอาจทำงานร่วมกับทีมสหวิ ชาชีพเพื่อจัดให้มีการให้คำปรึ กษาและช่วยเหลือผู้เสี ยหายจากการถูกกระทำรุ นแรงและการล่วงละเมิด
กระทรวงศึกษาธิการ องค์กรครู โรงเรียน สถาบันฝึกหัดครู ต้องร่วมกันเร่งดำเนินการเพื่ อป้องกันเหตุรุนแรงในโรงเรียน และต้องมุ่งมั่นในการสร้ างโรงเรียนให้เป็นสถานที่แห่ งความหวังและโอกาส ที่ซึ่งเด็ก ๆ จะสามารถเรียนรู้ได้อย่างปลอดภั ย หลักสูตรการอบรมครูและการพั ฒนาทางวิชาชีพควรต้องกำหนดให้ ครูได้รับการอบรมอย่างเคร่งครั ดและต่อเนื่อง เกี่ยวกับสาเหตุของการใช้ความรุ นแรงและการล่วงละเมิดในโรงเรียน แนวทางการป้องกัน แนวทางการส่งต่อและการให้ความช่ วยเหลือเด็กที่ตกเป็นผู้เสียหาย และหลักจริยธรรมของวิชาชีพครู
การดูแลเด็กที่ตกเป็นผู้เสียหาย
สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การปฏิ รูประบบคือ การช่วยให้เด็กที่ตกเป็นผู้เสี ยหายสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ ตามปกติท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ เอื้อหนุนให้พวกเขาสามารถพั ฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ การเผชิญความรุนแรงในวัยเด็ กอาจส่งผลกระทบเชิงลบไปตลอดชีวิ ต ทั้งในด้านการศึกษา สุขภาพ และความเป็นอยู่ ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของเด็กด้ านการเรียนรู้ อารมณ์ และสังคม และยังนำไปสู่ปัญหาการไม่ ประสบความสำเร็จในการเรียน แต่หากได้รับการช่วยเหลือที่ เหมาะสม เด็ก ๆ ที่เผชิญกับความรุ นแรงจะสามารถฟื้นตัวและกลั บมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และบุคลากรทางการแพทย์ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้ นฟูชีวิตของเด็กที่ตกเป็นผู้เสี ยหาย ประเทศไทยควรเพิ่มการลงทุ นในการขยายฐานของผู้ให้บริ การทางสังคมกลุ่มนี้ รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านการคุ้ มครองเด็ก เพื่อให้ผู้ที่ตกเป็นผู้เสี ยหายจากความรุนแรง การถูกแสวงประโยชน์ การถูกทำร้าย หรือการถูกทอดทิ้ง ได้รับความช่วยเหลือที่ เหมาะสมและทันท่วงที รวมถึงช่วยให้ค้นเจอเหตุความรุ นแรงตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยไม่ทิ้งไว้ให้ลุกลามอย่ างกรณีของจังหวัดมุกดาหาร
ยูนิเซฟขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องร่วมกันปกป้องคุ้ มครองเด็กที่ถูกกระทำความรุ นแรงทุกรูปแบบ โดยที่คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุ ดของเด็กเป็นหลัก
บทบาทของสื่อมวลชนในการปกป้องสิ ทธิเด็ก
สื่อมวลชนต้องร่วมกันปกป้องสิ ทธิ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเป็นส่วนตัวของเด็ก กระบวนการทำข่าวและการรายงานข่ าวต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุ ดของเด็กและต้องไม่ทำร้ายหรือซ้ำ เติมเด็ก ยูนิเซฟขอให้สื่อมวลชนปกป้องอั ตลักษณ์ของเด็กและหยุดการขุดคุ้ ยข้อมูลส่วนตัวของเด็ก ตลอดจนป้องกันการแบ่งฝักฝ่ ายในสังคมจากกรณีที่เกิดขึ้น ความสนใจของมวลชนอาจส่ งผลกระทบเชิงลบต่ อความพยายามในการดำเนินชีวิตต่ อไปของเด็ก ซึ่งผลพวงดังกล่าวอยู่ภายใต้ ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน ยูนิเซฟขอเรียกร้องให้ สาธารณชนปฏิบัติเช่นเดียวกันเพื่ อร่วมกันปกป้องคุ้มครองเด็กที่ ตกเป็นผู้เสียหาย
ยูนิเซฟเชื่อมั่นว่ากระบวนการยุ ติธรรมจะทำหน้าที่ในการปกป้ องเด็กเหล่านี้จากผลกระทบเชิ งลบที่อาจตามมาจากการดำเนินคดี ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็ นประเทศที่มีมาตรการที่เข้มแข็ งในการปกป้องคุ้มครองเด็กที่ ตกเป็นผู้เสียหายและพยาน
เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ ย้ำเตือนให้ทุกฝ่ายต้องเร่งสร้ างระบบคุ้มครองเด็กที่มีประสิ ทธิภาพ ทั้งในโรงเรียน ระบบสวัสดิการสังคม ระบบงานยุติธรรม และในชุมชนเอง
ยูนิเซฟยังคงเดินหน้าสนับสนุ นกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างระบบคุ้มครองเด็กที่ เข้มแข็ง ทั้งด้านการเฝ้าระวังและการให้ ความช่วยเหลือเด็กในทุกระดับ เพื่อที่จะไม่ต้องมีเด็ กคนใดตกเป็นผู้เสียหายจากความรุ นแรงหรือต้องพบเจอกับเหตุการณ์ เลวร้ายเช่นนี้อีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น