ผู้ถือหุ้น UAC ไฟเขียว อนุมัติเสนอขายหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผู้ถือหุ้น UAC ไฟเขียว อนุมัติเสนอขายหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท


ที่ประชุมผู้ถือหุ้น บมจ. ยูเอซี โกลบอล (UAC) ผ่านฉลุย อนุมัติการเสนอขายหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปชำระคืนเงินกู้สถานบันการเงิน เป็นเงินทุนหมุนเวียน และใช้ในการขยายและต่อยอดธุรกิจในอนาคต พร้อมมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ในอัตราหุ้นละ 0.135 บาทต่อหุ้น ขณะที่ภาพรวมธุรกิจในปีนี้ ยังคงเน้นรักษาระดับของกำไร (bottom line) ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  

นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี         โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ UAC เปิดเผยว่า ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติการเสนอขายหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท โดยหุ้นกู้มีอายุไม่เกิน 10  ปี นับตั้งแต่วันออกหุ้นกู้ ทั้งนี้เพื่อใช้ในการชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน เป็นเงินทุนหมุนเวียน รวมถึงนำไปขยายการลงทุนในธุรกิจด้านพลังงาน และแผนการลงทุนอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นสมควร โดยการลงทุนแต่ละโครงการในอนาคตที่เกิดขึ้นนั้น บริษัทฯจะคำนึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
สำหรับการเสนอขาย บริษัทฯ จะเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไป หรือ นักลงทุนสถาบันในประเทศและต่างประเทศ , นักลงทุนรายใหญ่, ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง และบุคคลใดๆ โดยอาจจะเสนอขายหุ้นกู้ทั้งจำนวน หรือบางส่วนในคราวเดียวกันหรือหลายครั้ง รวมทั้งอาจจะเสนอขายในลักษณะหมุนเวียน (Revolving Basis)  
นอกจากนี้ ในการประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ประจำงวดปี 2562ในอัตราหุ้นละ 0.135 บาทต่อหุ้น คิดเป็นจำนวนเงิน 90.12 ล้านบาท โดยได้กำหนดจ่ายปันผลไปเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา ตามมติของคณะกรรมการบริษัทเดิมที่แจ้งไว้
 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ UAC ยังได้ประเมินภาพรวมของธุรกิจว่า ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทฯยังคงต้องประเมินสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังคงเป็นตัวแปรหลักที่สำคัญต่อภาคการลงทุน และระบบเศรษฐกิจทั่วโลก แม้ว่าในขณะนี้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้นก็ตาม
สำหรับในส่วนของ UAC นั้น บริษัทฯพยายามรักษาระดับของกำไร (bottom line) ให้ได้ตามเป้าหมาย ขณะเดียวกันในส่วนของกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA) เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากสินค้าของบริษัทฯ มีมาร์จิ้นในระดับสูง  
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad