คณะกรรมการแข่งขันฯ จัดทำแนวปฏิบัติการรับซื้อผลไม้ ป้องกันล้งเอาเปรียบเกษตรกร - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

คณะกรรมการแข่งขันฯ จัดทำแนวปฏิบัติการรับซื้อผลไม้ ป้องกันล้งเอาเปรียบเกษตรกร

img

คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เห็นชอบออกประกาศแนวปฏิบัติทางการค้าในธุรกิจรับซื้อผลไม้ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับเกษตรกรจากผู้รับซื้อผลไม้ (ล้ง) เผยสาระสำคัญ มีทั้งห้ามกำหนดเงื่อนไขไม่เป็นธรรม ปรับลดราคารับซื้อหลังทำสัญญา การไม่ปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และห้ามกำหนดราคาซื้อ ระบุจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 6 มิ.ย. ก่อนปรับปรุงและประกาศบังคับใช้

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และโฆษกคณะกรรมการ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดทำร่างประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือลดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ เพื่อคุ้มครองเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้รับซื้อผลไม้ (ล้ง) เสร็จแล้ว และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้เห็นชอบให้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้องก่อนประกาศบังคับใช้ต่อไป

“การออกประกาศดังกล่าว มีเป้าหมาย เพื่อคุ้มครองเกษตรกรให้ได้รับความเป็นธรรมในการจำหน่ายผลผลิต โดยจะเริ่มจากธุรกิจการรับซื้อผลไม้ก่อน เนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ได้ร้องเรียนว่าถูกเอารัดเอาเปรียบจากล้งเป็นประจำ ซึ่งผู้ที่มีส่วนได้เสียโดยตรง ทั้งเกษตรกร และล้ง สามารถแสดงความคิดเห็นได้ โดยเปิดให้แสดงความคิดเห็นที่ เว็บไซต์ www.otcc.or.th เป็นเวลา 30 วัน ตั้งแต่ 8 พ.ค.-6 มิ.ย.2563 จากนั้นจะนำความคิดเห็นมาปรับปรุงก่อนประกาศบังคับใช้ ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานทางกาค้าระหว่างเกษตรกรและล้งได้ดีขึ้น”
        
สำหรับร่างแนวปฏิบัติทางการค้าในธุรกิจรับซื้อผลไม้ ที่เปิดรับฟังความคิดเห็นฉบับนี้ มีประเด็นและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

1.การกำหนดเงื่อนไข หรือละเว้นการกำหนดเงื่อนไขในสัญญาอย่างไม่เป็นธรรม เช่น การไม่ระบุวัน หรือช่วงเวลาในการเข้าเก็บผลไม้ รวมทั้งไม่ระบุวันสิ้นสุดของสัญญา ทำให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลไม้
ให้ผู้ซื้อรายอื่นได้ เป็นต้น

2.การปรับลดราคารับซื้อ หรือกำหนดเงื่อนไขอื่นใด ทั้งทางตรงและทางอ้อมภายหลังการทำสัญญา ซึ่งส่งผลต่อการปรับลดราคารับซื้ออย่างไม่เป็นธรรม
        
3.การปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เช่น การชะลอการเข้าเก็บผลไม้ การเก็บผลไม้ครบตามจำนวนที่ตกลงไว้ในสัญญา เป็นต้น

4.การปฏิบัติทางการค้าเพื่อผูกขาดหรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาดเดียวกัน เช่น การร่วมกันกำหนดราคาซื้อ หรือจำกัดปริมาณซื้อการร่วมกันแบ่งท้องที่ในการรับซื้อ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad