มองไปทางไหน ก็มีแต่ภาษี เตรียมพร้อมทำความรู้จัก ‘ภาษี’ ที่เราอาจต้องจ่ายเพิ่มขึ้นในปีนี้ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

มองไปทางไหน ก็มีแต่ภาษี เตรียมพร้อมทำความรู้จัก ‘ภาษี’ ที่เราอาจต้องจ่ายเพิ่มขึ้นในปีนี้


เข้าสู่ฤดูกาล การเตรียมตัว เตรียมเอกสารใบเสร็จ สลิปเงินเดือน สำหรับการจ่ายภาษีกันแล้ว นอกจากภาษีที่เราต้องจ่ายกันเป็นประจำทุกปีแล้ว ในช่วงนี้ยังมีภาษีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น หรือปรับเปลี่ยนให้เราได้เตรียมตัวเสียกันมากขึ้น ทั้งภาษีเกี่ยวกับที่ดิน การโอนเงิน ไปถึงอาหาร เครื่องดื่มต่างๆ

ในขณะที่สภาฯ​ กำลังถกเถียง และพิจารณาร่างงบประมาณปีนี้กันอยู่ ว่าเงินที่ถูกจัดสรรแต่ละส่วนควรใช้อะไร เหมาะสมไหม The MATTER   ขอพาพวกเราในฐานะผู้เสียภาษี ไปดูกันว่า ในช่วงนี้ มีภาษีตัวไหนเป็นภาษีใหม่เพิ่มขึ้นมา และเพิ่งเริ่มเก็บ ตัวไหนมีการเปลี่ยนแปลง ปรับเงื่อนไข ไปทำความรู้จัก เพื่อเตรียมตัวเสียภาษีกันให้พร้อมได้เลย


ภาษีที่ดิน – มีผล มกราคม แต่ชำระภายในเดือนสิงหาคม
ผู้เสีย – เจ้าของที่ดินตามเงื่อนไข
ภาษี่ที่ดิน อยู่ในพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มีผล 1 ม.ค.63 ตาม แต่จะเริ่มจัดเก็บจริงในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งเงื่อนไขในการชำระภาษีนี้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
  • ที่ดินทำการเกษตรกรรม เงื่อนไขผู้เสียคือ ผู้ที่มีที่ดินทำเกษตรมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท
  •  ที่อยู่อาศัย เงื่อนไขผู้เสียคือ ผู้ที่มีที่อยู่อาศัยหลังแรก มูลค่าเกิน 50 ล้านบาท, ผู้เป็นเจ้าของบ้าน แต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท และผู้มีที่อยู่อาศัยหลังที่ 2
  • ที่ดินสำหรับเชิงพาณิชย์ ต้องเสียตั้งแต่บาทแรก
  • ที่ดินรกร้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์เกิน 2 ปี ต้องเสียภาษีตามขั้นบันได

ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ – กำลังพิจารณา
ผู้เสีย ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ
พรีออเดอร์ สั่งสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ มีค่าส่ง ค่าชิ้ปปิ้งแล้ว ต่อจากนี้ก็อาจจะต้องเสียภาษีเพิ่มด้วย เมื่อกระทรวงการคลังกำลังหารือเรื่องการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% จากกสั่งสินค้าออนไลน์ และไปรษณีย์มาจากต่างประเทศทุกชนิดราคา รวมถึงก่อนหน้านี้ ที่มีการยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้าที่ไม่เกิน  1,500 บาท ก็จะมีการหารือเพื่อยกเลิกข้อยกเว้นนี้ด้วย แปลว่า ไม่ว่าจะซื้อของมูลค่าเท่าไหร่ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหมดเลยด้วย

ภาษีผู้ค้าออนไลน์ – เริ่มใช้กับการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ตั้งแต่ปีนี้
ผู้เสีย : ผู้ทำธุรกิจใดๆ ที่มีการโอนเงินเข้า-ออกบ่อยๆ
ภาษีนี้เน้นกับ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งบัญชีที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ บัญชีที่มียอดฝากหรือโอนเข้าทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป หรือมียอดฝากหรือโอนเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป
โดยล่าสุดสรรพากรได้ประกาศว่า จะเตรียมติดตามผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ที่ขายของผ่านทางออนไลน์ และยังไม่ได้เสียภาษีอย่างถูกต้องอีกประมาณ 1.7 แสนราย ให้เข้าสู่ระบบเสียภาษีอย่างถูกต้อง ในการเสียภาษีปีนี้ด้วย

ภาษีรถจักรยานยนต์ – เริ่มเก็บเมื่อ มกราคม 2563
ผู้เสีย : ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
มีที่ดิน มีบัญชีโอนเงินถี่แล้ว การมีรถจักรยานยนต์เองก็ต้องเสียภาษีด้วย โดยภาษีรถจักรยานยนต์ จะเป็นภาษีที่เก็บตามการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะเริ่มเก็บกับรถที่นำออกจากโรงงานหรือนำเข้ามาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งอัตราในการเก็บนี้ จะทำให้ 90% ของ รถจักรยานยนต์ในประเทศต้องเสียภาษีเพิ่มอีกประมาณคันละ 100 บาท ในขณะที่รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ หรือ บิ๊กไบค์ ที่มีเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1,000 ซีซี ขึ้นไปจะต้องเสียภาษีเพิ่มคันละประมาณ 100,000 บาท
โดยเงื่อนไขการเสียภาษีเป็นดังนี้
  • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 10 กรัมต่อกิโลเมตร (ก.ม.) คิดภาษี 1%
  • ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 10 กรัมต่อก.ม. แต่ไม่เกิน 50 กรัมต่อก.ม. คิดภาษี 3%
  • ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 50 กรัมต่อก.ม. แต่ไม่เกิน 90 กรัมต่อก.ม. คิดภาษี 5%
  • ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 90 กรัมต่อก.ม. แต่ไม่เกิน 130 กรัมต่อก.ม. คิดภาษี 9%
  • ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 130 กรัมต่อก.ม. คิดภาษี 18%

ภาษีบุหรี่ – จะขึ้น 40% ในเดือนตุลาคม 2563
ผู้เสีย ผู้ซื้อบุหรี่
ภาษีบุหรี่ ไม่ใช่ภาษีใหม่ แต่เป็นภาษีที่นักสูบต้องเตรียมเสียเพิ่ม เพราะในวันที่ 1 ตุลาคมของปีนี้ ภาษีบุหรี่จะเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็นอัตราเดียวที่ 40% หลังจากเลื่อนการขึ้นภาษีมาแล้ว 1 ปี โดยล่าสุด พชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิตยืนยันว่า ปีนี้จะขึ้นภาษีแน่นอน ไม่ขยายระยะเวลาแล้ว ทั้งเมื่อเทียบราคาบุหรี่ของประเทศไทย กับประเทศอื่นก็ไม่ได้สูง ต่อให้มีการขึ้นภาษีบุหรี่เป็น 40% ราคาบุหรี่ไทยก็ยังอยู่ในราคาที่เหมาะสมด้วย

ภาษีเบียร์แอลกอฮอล์ 0% – รอเสนอกระทรวงการคลัง และคณะรัฐมนตรีให้เห็นชอบก่อนประกาศเป็นกฎกระทรวง
ผู้เสีย ผู้บริโภคสินค้าเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ 0%
มาถึงเครื่องดื่ม เราก็ต้องเสียภาษีกันด้วย กับภาษีเบียร์แอลกอฮอล์ 0% หรือเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ โดยกรมสรรพสามิตรเปิดเผยว่า ขั้นตอนต่อจากนี้ คือการเสนอกระทรวงการคลัง และคณะรัฐมนตรี ให้เห็นชอบก่อนประกาศเป็นกฎกระทรวง หลังจากที่มีการทำพิกัดภาษี และอัตราภาษีไว้แล้ว โดยจะเก็บภาษีสูงกว่าภาษีเครื่องดื่มปัจจุบันที่ 17% แต่จะไม่สูงเท่ากับภาษีเบียร์ที่เก็บอยู่ 22%
แม้ว่าเบียร์ชนิดนี้ จะเป็นเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ แต่ทางกรมก็มองว่า ในมุมมองของผู้บริโภคมักเห็นว่า เบียร์ไร้แอลกอฮอล์จัดอยู่ในหมวดแอลกอฮอล์ และเพื่อไม่ต้องการให้มีผู้บริโภคแอลกอฮอล์เพิ่ม จึงต้องเข้ามาจัดระเบียบภาษีในส่วนนี้ และมีแนวโน้มว่าในอนาคต จะขยายฐานการเก็บภาษีไปยังผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดอื่นๆ เช่น เบียร์อัดเม็ดด้วยเช่นกัน

ภาษีความหวาน – เริ่มเก็บรอบที่ 2 ตั้งแต่ .. 62 
ผู้เสีย ผู้บริโภคสินค้าที่มีความหวาน
แม้ชีวิตจะขาดหวานไม่ได้ ความหวานก็ขาดภาษีไม่ได้เช่นเดียวกัน ภาษีความหวาน ไม่ใช่ภาษีใหม่ แต่มีการจัดเก็บรอบแรกมาแล้วตั้งแต่ช่วงกลางปี 2561 ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นรอบ 2 ตามขั้นบันได เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562  ถึง 30 กันยายน 2564  ในอัตราภาษี ค่าความหวาน 10-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร, ค่าความหวาน 14-18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร และค่าความหวาน 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ขึ้นไป เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นเต็มเพดานภาษีอีกครั้งในปี 2566 หรือในปี 3 ปีที่จะถึงนี้

ภาษีความเค็ม – กำลังหารือ
ผู้เสีย ผู้บริโภคสินค้าที่มีความเค็ม
หวานก็โดนเก็บภาษีแล้วความเค็มก็มีแนวโน้มว่าจะโดนเก็บภาษีอีกเช่นกัน โดยในตอนนี้ภาษีความเค็มอยู่ระหว่างการหารือและศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ว่าควรพิจารณาค่าโซเดียมบนฉลากที่มีมาตรฐานเท่าใดแต่คาดว่าจะควบคุมไม่ให้ประชาชนบริโภคเกิน 2,000 – 3,000 มิลลิกรรมต่อวัน
ซึ่งสรรพสามิตรระบุว่าภาษีความเค็มนี้มีเพื่อผลักดันผู้ประกอบการไทยปรับลดโซเดียมในสินค้า 20-30% รวมถึงยังเป็นห่วงประชาชนโดยหวังว่าจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไต-ความดันถึง 40% เลยด้วย

เช็กกันแล้วใครเข้าเกณฑ์เสียภาษีตัวไหนก็กำเงินกันให้พร้อมเตรียมจ่ายภาษีใหม่ภาษีเก่าที่ปรับเพิ่มกันได้ในปีนี้กัน

ที่มา - The MATTER

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad