เน็ตไอดอลสาวขายรูปนู้ดช่วยโคอาล่า ทั่วโลกเร่งส่งเงินดับไฟป่า - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563

เน็ตไอดอลสาวขายรูปนู้ดช่วยโคอาล่า ทั่วโลกเร่งส่งเงินดับไฟป่า

เน็ตไอดอลสาวขายรูปนู้ดช่วยโคอาล่า ทั่วโลกเร่งส่งเงินดับไฟป่า


โพสต์ระดมเงินบริจาคบน Twitter ของ Kaylen Ward / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ณิชา เวชพานิช
Disaster 06 Jan 2020
เน็ตไอดอลสาวชาวอเมริกันส่งรูปนู้ดเรียกยอดบริจาคดับไฟป่าออสเตรเลีย ระดมทุนได้ 21 ล้านบาท ผู้คนทั่วโลกแห่ระดมทุน กู้ภัยออสเตรเลียติงรัฐไม่รับมือปัญหาโลกร้อน ด้านทางการไทยระบุ ยังไม่มีการส่งความช่วยเหลือดับไฟป่าออสเตรเลีย ชี้ต้องเตรียมตัวป้องกันไฟป่าในประเทศก่อน
ไฟไหม้ขนาด 12 ล้านเอเคอร์ ผู้เสียชีวิต 24 ราย สัตว์ตาย 480 ล้านตัว คนอพยพและเผชิญอากาศพิษนับไม่ถ้วน เหตุไฟป่าที่ออสเตรเลียทวีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา และกลายเป็นที่จับตามองของทั้งโลก 3 ม.ค. 63 Kaylen Ward เน็ตไอดอลสาวชาวอเมริกันโพสต์รูปนู้ดของตนพร้อมกับรายชื่อองค์กรรับเงินบริจาค เชิญชวนให้ทุกคนส่งเงินช่วย โดยหลังจากบริจาค 10 เหรียญสหรัฐแล้วส่งข้อความมาหาเธอ เธอจะส่งรูปนู้ดของตนตอบแทน
“ฉันไม่ได้คาดหวังว่าทุกอย่างจะระเบิดออกมาเป็นแบบนี้ แล้วก็ไม่ได้เตรียมตัวตอบข้อความมากกว่า 20,000 ข้อความ ขอบคุณทุกคนมากที่ร่วมบริจาค!”
Ward  พิมพ์ในทวิตเตอร์เธอ 50 ชั่วโมงให้หลัง เผยว่าปกติตนขายภาพนู้ดบนออนไลน์อยู่แล้ว จนกระทั่งเห็นภาพน่าสลดของเหตุไฟไหม้ออสเตรเลียจึงตัดสินใจโพสต์ระดมเงินบริจาค เธอคาดหวังเงินเพียงไม่กี่หมื่นและร่วมบริจาคด้วยเองจำนวนหนึ่ง ทว่ากลับมีคนบริจาคและส่งหลักฐานมาให้เธอจำนวนมากจนแอคเคาท์เธอถูกทวิตเตอร์บล็อกและต้องสร้างขึ้นใหม่ในชื่อ  The Naked Philanthropist (นักระดุมทันโป๊) Ward ระบุว่าปัจจุบัน (6 ม.ค. 63) ได้ยอดเงินบริจาค 700,000 เหรียญสหรัฐหรือคิดเป็น 21 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเธอเป็นแรงบันดาลใจให้เน็ตไอดอลคนอื่นๆ บนโลกออนไลน์เริ่มระดมทุนด้วยวิธีการเดียวกัน
Anna Felton ตัวแทนจากองค์กร WIRES องค์กรช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย ยืนยันว่าองค์กรต่างๆ ต้องการความช่วยเหลือในรูปแบบเงินมากที่สุด เพราะทำให้จัดการง่ายกว่าสิ่งของบริจาค นอกจากนั้นชาวออสเตรเลียควรระวังเวลาขับรถเพราะอาจมีสัตว์ป่าที่หนีภัยไฟป่าทยอยหนีออกมาบนถนน 
ขณะเดียวกัน ดาราชาวออสเตรเลีย Magda Szubanski  และ Will Connolly โพสต์คลิประดมเงินบริจาคเพื่อเยียวยาด้านจิตเวชให้ผู้ประสบภัยไฟป่า โดยร่วมมือกับองค์กรด้านสุขภาพจิต ส่วนประเทศแคนาดาได้ส่งผู้เชี่ยวชาญการดับเพลิงกว่า 60 คนมาออสเตรเลีย โดยทั้งสองประเทศได้เป็นพันธมิตรคอยช่วยเหลือวิกฤตไฟป่ามาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 นักดับเพลิงชาวแคนดาตั้งข้อสังเกตว่าที่แคนาดามีแม่น้ำและทะเลสาบจำนวนมากกว่าทำให้ง่ายต่อการควบคุมเพลิงต่างกับกรณีของออสเตรเลีย
ผู้เชี่ยวชาญการดับเพลิงชาวสหรัฐและแคนาดาเดินทางถึงสนามบินเมลเบิร์น ออสเตรเลีย 2 ม.ค. 62 // ขอบคุณภาพจาก : The Globe and Mail
GREG MULLINS อดีตผู้บัญชาการหน่วยดับเพลิงและกู้ภัยประจำรัฐนิวเซาท์เวลลส์กล่าวว่าเหตุการณ์ไฟป่าครั้งนี้ได้กระตุ้นความโกรธของชาวออสเตรเลียต่อรัฐบาล รัฐบาลออสเตรเลียภายใต้ความดูแลของนายก Scott Morrison ได้ละเลยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมานาน ออสเตรเลียจัดเป็นประเทศอันดับที่ 15 ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกประจำปี 2562  และเป็นประเทศส่งออกถ่านหินอันดับที่ 5 ของโลก
ทางด้านรัฐบาลไทย จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การส่งความช่วยเหลือภัยไฟป่าที่ประเทศออสเตรเลียโดยรัฐบาลไทยนั้น ต้องให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานงาน อย่างไรก็ดีทางประเทศไทยเองก็เข้าสู่ฤดูแล้งแล้ว ดังนั้นทางการไทยจึงจำเป็นที่จะเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่าในไทยเช่นกัน
เราจำเป็นที่จะต้องเตรียมพร้อมทีมนักผจญเพลิงของเราไว้ เพราะสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้สาหัสมากจนอาจก่อความเสี่ยงให้เกิดไฟป่ารุนแรงได้ โดยในขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำชับไปยังท้องที่ต่างๆให้เฝ้าระวังการเผาในที่โล่งแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างปัญหาหมอกควัน PM2.5 ในอีกทางหนึ่งด้วย” จตุพร กล่าว
“สำหรับการเตรียมพร้อมของภาครัฐในการรับมือกับปัญหาไฟป่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วราวุธ ศิลปอาชา ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังการเกิดไฟป่านับตั้งแต่เหตุการณ์ไฟป่าที่อเมซอนตั้งแต่กลางปีที่แล้ว โดยในปีนี้ได้มีการเฝ้าระวังไม่ให้มีการจุดไฟเผาป่าตั้งแต่ในระดับหมู่บ้าน จึงเชื่อมั่นได้ว่ามาตรการเหล่านี้จะสามารถป้องกันเหตุไฟป่าในไทยได้”
สำหรับการบังคับใช้กฎหมาย ห้ามการเผาในที่โล่งในพื้นที่ภาคเหนือ ช่วง 60 วันห้ามเผาในปีนี้นั้น จตุพรระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดวันห้ามเผาที่ชัดเจนในแต่ละจังหวัด หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละท้องที่จะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนี้ และการกำหนดช่วงเวลาห้ามเผาในแต่ละจังหวัดต้องประกาศเหลื่อมกันไป ไม่ให้ตรงกันทั้งหมด เพื่อป้องกันผลกระทบจากการชิงเผาช่วงก่อนกำหนดห้ามเผา
อนึ่ง ข้อมูลฮอตสปอตจากภาพถ่ายดาวเทียม โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ระบุว่า เมื่อวันที่ มกราคม พบจำนวนฮอตสปอตในประเทศไทยกว่า 294 จุด โดยพื้นที่เกิดฮอตสปอตส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่การเกษตรกว่า 135 จุด กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสาน เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ดังกล่าว
รายชื่อองค์กรรับบริจาคกรณีไฟไหม้ออสเตรเลีย // ขอบคุณภาพจาก : Kaylen Ward
ที่มา:GreenNews

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad