ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างช้าๆ คาดจีดีพีปี 64 โต 3% - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างช้าๆ คาดจีดีพีปี 64 โต 3%

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างช้าๆ คาดจีดีพีปี 64 โต 3%

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างช้าๆ คาดจีดีพีปี 64 โต 3%

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดจีดีพีไทยปี 2564 จะเติบโตร้อยละ 3 โดยมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ตลอดทั้งปีนี้ โดยการฟื้นตัวน่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยมีปัจจัยการเมืองภายในประเทศและความไม่ชัดเจนของการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่ต้องจับตา

“เรามองเศรษฐกิจไทยอย่างระมัดระวัง แต่เราไม่ได้มีภาพลบ โดยเราหวังว่าการเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะเป็นผลบวกต่อภาพรวม รัฐบาลไทยจะเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนฟรีในเดือนหน้า โดยคาดว่าจะฉีดวัคซีนให้กับประชากรครึ่งหนึ่งของประเทศ หรือราว 30 ล้านคนภายในปีนี้ ทั้งนี้จำนวนผู้ได้รับวัคซีนอาจจะมากกว่านั้นเนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนสามารถรองรับความต้องการของผู้ที่มีกำลังซื้อและไม่ต้องการรอวัคซีนจากรัฐบาล” ดร.ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าว

กำลังซื้อในประเทศอ่อนตัว ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและประเทศไทยยังอยู่ในสถานะเงินบัญชีดุลสะพัดเกินดุล

การส่งออกปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเราคาดว่าการค้าการลงทุนทั่วโลกจะปรับตัวดีขึ้นในปีนี้ แต่ภาพรวมการส่งออกของไทยยังไม่ชัดเจนเนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง และการนำเข้าสินค้าเพื่อผลิตยังอยู่ในระดับต่ำ โดยการนำเข้ารวมน่าจะลดลงต่อเนื่องในปี 2564 ท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างช้าๆ และบรรยากาศการลงทุนที่ยังไม่คึกคัก 

“เราเชื่อว่าประเทศไทยน่าจะใช้เวลาประมาณ 5 ปีกว่าที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวจะกลับมาสู่ระดับก่อนโควิด เนื่องจากสถานการณ์โควิดทั่วโลกยังมีความไม่ชัดเจน ประกอบกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มุ่งไปที่ตลาดการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงขึ้น (กระจายกลุ่มมากขึ้น) จากเดิมที่มุ่งไปที่จำนวนนักท่องเที่ยวเป็นหลัก นอกจากนี้แรงงานในภาคท่องเที่ยวที่มีทักษะสูงขึ้นและการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มเป็นประเด็นที่จะมีการพูดถึงมากขึ้น” ดร.ทิม กล่าว

ภาพรวมการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวยังมีความไม่ชัดเจน ในขณะที่ต้องจับตาดูสถานการณ์ทางการเมืองในปีนี้ นอกจากนี้ หนี้สาธารณะของประเทศไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเข้าใกล้เพดานข้อจำกัดในการกู้ ซึ่งจะทำให้การกู้เงินมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทำได้ลำบากขึ้นในปีนี้และปีหน้า

“เงินบาทยังคงแข็งค่าสอดคล้องกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค แต่ไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอของประเทศ โดยปัจจุบันแกว่งตัวอยู่ในระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยเรามีมุมมองว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นไปอีก เราคาดว่าเงินบาทจะอยู่ที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงกลางปีนี้ และอยู่ที่ 29 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นปี” ดร.ทิม กล่าว

“ธปท. น่าจะยังคงกังวลเรื่องค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งขยับจาก 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 มาอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน ในขณะที่ธปท. พยายามดูแลค่าเงินบาทมาตลอดระยะเวลาหลายปี”

เศรษฐกิจไทยจะฟื้นได้ การเมืองต้องมีความต่อเนื่อง

ในระยะกลาง เราเชื่อว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการลงทุนจากต่างประเทศและการเคลื่อนย้ายการลงทุนมายังประเทศไทยในภาคต่างๆ อาทิเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และอุตสาหกรรมทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมืองในประเทศเป็นตัวแปรสำคัญ 

การสานต่อโครงการการลงทุนเมกะโปรเจ็คซึ่งมีความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อยในปี 2563 อาทิเช่น โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศ อีกทั้งยังช่วยดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศและแรงงานทักษะสูงจากต่างชาติมาในประเทศ ทั้งนี้การลงทุนทางตรงจากต่างชาติยังไม่ได้ฟื้นตัวชัดเจนตั้งแต่ปี 2558 และยังไม่เห็นว่าประเทศไทยได้ประโยชน์ใดชัดเจนจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน 

เกี่ยวกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

เราเป็นกลุ่มธนาคารสากลชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจใน 60 ตลาดที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และให้บริการลูกค้าในอีก 85 ตลาด โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการค้า การลงทุนและการสร้างความมั่งคั่ง หลักการที่สืบทอดมาและค่านิยมองค์กรของเราสะท้อนอยู่ในพันธกิจของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดที่ว่า Here for good  

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจำกัด มหาชน ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนและฮ่องกง นอกจากนี้ยังได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติในประเทศอินเดียอีกด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการอ่านบทความจากทีมนักเศรษฐศาสตร์ โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.sc.com และติดตามสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้ทาง Twitter, LinkedIn และ Facebook

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad