ปภังกร เอรียา โมรียา และจัสมิน ร่วมล่าแชมป์ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น แบบจำกัดแฟนเข้าชม - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564

ปภังกร เอรียา โมรียา และจัสมิน ร่วมล่าแชมป์ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น แบบจำกัดแฟนเข้าชม

 ปภังกร เอรียา โมรียา และจัสมิน ร่วมล่าแชมป์ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น แบบจำกัดแฟนเข้าชม

"โปรเหมียว" ปภังกร ธวัชธนกิจ แชมป์เมเจอร์คนล่าสุดของไทย พร้อมด้วย "โปรโม" โมรียา และ "โปรเม" เอรียา จุฑานุกาล สองโปรพี่น้อง และโปรจัสมิน สุวัณณะปุระ 4 สาวไทยที่คว้าแชมป์อาชีพในแอลพีจีเอ ทัวร์ ร่วมประชันวงสวิงไล่ล่าแชมป์รายการยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น เมเจอร์กอล์ฟหญิงที่เก่าแก่ที่สุด ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ระหว่างวันที่ 3-6 มิถุนายน นี้ ประชันกับยอดโปรระดับโลกอีกมากมาย และปีนี้อนุญาตให้แฟนกอล์ฟเข้าชมในสนามได้แต่ในรูปแบบจำกัดจำนวน

สมาคมกอล์ฟแห่งสหรัฐอเมริกา หรือยูเอสจีเอ จัดการแข่งขันกอล์ฟยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น ครั้งที่ 76 ขึ้นที่โอลิมปิก คลับ ชานนครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 3-6 มิถุนายน 2564 ชิงเงินรางวัลรวม 5.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 170.5 ล้านบาท เป็นรายการที่มีเงินรางวัลรวมมากที่สุดของกอล์ฟหญิง โดยปีนี้ทางยูเอสจีเอได้อนุญาตให้แฟนกอล์ฟเข้าไปชมในสนามเนื่องจากการทำงานกับทางหน่วยงานด้านสาธารณะสุขท้องถิ่น และของรัฐแล้วจึงให้แฟนๆเข้าไปชมได้ในจำนวนจำกัด หลังจากที่ปีที่แล้วไม่อนุญาตให้แฟนกอล์ฟเข้าชม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด นักกอล์ฟสาวไทยได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันทางการแล้ว 4 คน ได้แก่ "โปรเหมียว" ปภังกร ธวัชธนกิจ, ”โปรเม" เอรียา จุฑานุกาล สองนักกอล์ฟแชมป์เมเจอร์ของไทย พร้อมด้วย "โปรโม" โมรียา จุฑานุกาล และ โปรจัสมิน (ธิฎาภา) สุวัณณะปุระ




"โปรเหมียว" ปภังกร ธวัชธนกิจ ในฐานะนักกอล์ฟรุกกี้ของแอลพีจีเอ ทัวร์  จะร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกัน เมื่อปี 2017 ในฐานะนักกอล์ฟสมัครเล่น ผ่านตัดตัว 2 ครั้ง จบลงอันดับ 5 ร่วม เมื่อปี 2018 คว้ารางวัลนักกอล์ฟสมัครเล่นอันดับดีที่สุด (Low Amateur) และอันดับ 29 ร่วมเมื่อปี 2019ส่วนปี 2020 ที่ผ่านมาไม่ผ่านตัดตัว

ปภังกร ลงเล่นครั้งนี้เป็นหนึ่งในนักกอล์ฟที่ได้รับการจับตามองมากอย่างมาก เนื่องจากลงเล่นในฐานะแชมป์เมเจอร์ และเธอได้สิทธิ์ร่วมแข่งขันในครั้งนี้จากสิทธิ์ของแชมป์เมเจอร์ โดยเธอจะได้เล่นรายการนี้ 5 ปี

สำหรับผลงานของ ปภังกร ในการเล่นแอพีจีเอ ทัวร์ ปีนี้ ลงแข่งขัน 4 รายการ จบลงอันดับ 5 ร่วม รายการแรกของเธอ ในเกนบริดจ์ แอลพีจีเอ ที่รัฐฟลอริด้า เมื่อเดือนมกราคม ตามมาด้วยอันดับ 14 ร่วม ในการแข่งขันไดรฟ์ออน แชมเปี้ยนชิพ ที่ฟลอริด้า ในสัปดาห์ถัดมา แม้ว่าจะไม่ผ่านตัดตัวในรายการเกีย คลาสสิก แต่ก็มาผงาดคว้าแชมป์เอเอ็นเอ อินสปิเรชั่น เมเจอร์แรกแห่งปี ที่มิสชั่น ฮิลส์ คันทรี่ คลับ รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นแชมป์แรกในแอลพีจีเอ ทัวร์ และแชมป์เมเจอร์แรกของเธอ



เอรียา จุฑานุกาล โปรสาววัย 25 ปี เจ้าของแชมป์ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น เมื่อปี 2018 แชมป์วีเมนส์ โอเพ่น ปี 2018 และแชมป์อาชีพแอลพีจีเอ ทัวร์ 10 รายการ จะร่วมแข่งขันเป็นครั้งที่ 9 โดยสถิตินอกจากจะเคยเป็นแชมป์แล้วยังจบลงอันดับ 9 ร่วม เมื่อปีที่ผ่านมา

ส่วนผลงานของเอรียา ในแอลพีจีเอ ทัวร์ ปีนี้ ลงแข่งขัน 3 รายการ ผ่านตัดตัว 2 รายการ อันดับ 21 ร่วม ในเกีย คลาสสิก และอันดับ 60 ร่วมในเอเอ็นเอ อินสปิเรชั่น เมเจอร์แรกแห่งปี แต่ไม่ผ่านตัดตัวในลอตเต้ แชมเปี้ยนชิพ ที่รัฐฮาวาย



โมรียา จุฑานุกาล แชมป์อาชีพในแอลพีจีเอ ทัวร์ 1 รายการ จะร่วมแข่งขันครั้งที่ 10 หลังจาก 9 ครั้งแรกนั้น เธอผ่านการตัดตัวแค่ 2 ครั้ง ปี 2012 และ 2015 ส่วนสถิติดีที่สุดจบลงอันดับ 6 ร่วมเมื่อปีที่แล้ว และเคยจบลงอันดับ 32 ร่วมในครั้งแรกที่เธอร่วมแข่งขันเมื่อปี 2011 ซึ่งคว้ารางวัลนักกอล์ฟสมัครเล่นอันดับดีที่สุด (Low Amateur) โดยปีนั้น ยู โซ-ยอน โปรสาวจากเกาหลีใต้คว้าแชมป์ไปครอง

ผลงานของ โมรียา ในแอลพีจีเอ ทัวร์ ปีนี้ ลงแข่งขันไป 3 รายการผ่านการตัดตัวเพียงรายการเดียวจบลงอันดับ 10 ร่วม ในรายการเอเอ็นเอ อินสปิเรชั่น เมเจอร์แรกแห่งปี แต่ไม่ผ่านการตัดตัวรายการเกีย คลาสสิก และลอตเต้ แชมเปี้ยนชิพ



โปรจัสมิน (ธิฎาภา) สุวัณณะปุระ วัย 28 ปี แชมป์อาชีพในแอลพีจีเอ ทัวร์ 2 รายการ จะร่วมแข่งขันเป็นครั้งที่ 6 สถิติที่ผ่านมานั้นผ่านการตัดตัว 2 ครั้ง จบที่อันดับ 36 ร่วม ในปี 2013 และ อันดับ 70 ในปี 2019

ผลงานในแอลพีเอ ทัวร์ ปีนี้ของโปรจัสมิน ลงแข่งขัน 6 รายการผ่านการตัดตัว 3 รายการ และไม่ผ่าน 3 รายการ สถิติดีที่สุด จบที่อันดับ 17 ร่วมรายการไดมอนด์ รีสอร์ท ทัวร์นาเมนท์ ออฟ แชมเปี้ยนส์ รายการเปิดฤดูกาล ที่รัฐฟลอริด้า เมื่อเดือนมกราคม

ในขณะที่แชมป์เก่านอกจาก เอรียา แล้วยังมี คิม อา-ริม โปรสาวจากเกาหลีใต้ แชมป์ปี 2020อี ชอง-อึน6 โปรสาวจากเกาหลีใต้ แชมป์ปี 2019พัค ซอง-ฮยอน จากเกาหลีใต้ แชมป์ปี 2017บริททานี่ แลง จากสหรัฐอเมริกา แชมป์ปี 2016ชอน อิน-จี จากเกาหลีใต้ แชมป์ปี 2015มิเชลล์ วี เวสท์ จากสหรัฐอเมริกา แชมป์ปี 2014พัค อินบี จากเกาหลีใต้ แชมป์ 2 สมัย ปี 2013 และ 2008แชว์ นา-ยอน จากเกาหลีใต้ แชมป์ปี 2012ยู โซ-ยอน จากเกาหลีใต้ แชมป์ปี 2011 และ จี อึน-ฮี จากเกาหลีใต้ แชมป์ปี 2009

นอกจากนี้แล้วยังมีแชมป์เมเจอร์อย่าง อี มีริม จากเกาหลีใต้แพร์นิลลา ลินด์แบร์จ จากสวีเดนฝง ซานซาน จากจีนอันนา นอร์ดควิสต์ จากสสวีเดนฮันนาห์ กรีน จากออสเตรเลียจอร์เจีย ฮอลล์ จากอังกฤษบรู๊ค เฮนเดอร์สัน จากแคนาดาเดเนียล คัง จากสหรัฐอเมริกาฮินาโกะ ชิบุโนะ จากญี่ปุ่นคิม ฮโย-จู จากเกาหลีใต้แองเจล่า สแตนฟอร์ด จากสหรัฐอเมริกาลีเดีย โค จากนิวซีแลนด์เล็กซี่ ธอมพ์สัน จากสหรัฐอเมริกาโค จิน-ยอง มือ 1 ของโลกจากเกาหลีใต้

และยังมีกลุ่มนักกอล์ฟชื่อดังอย่าง เจสซิก้า และเนลลี่ คอร์ด้า สองพี่น้องจากสหรัฐอเมริกาต่างก็คว้าแชมป์ในปีนี้มาแล้ว หรือแม้แต่นักกอล์ฟสมัครเล่นอย่าง สึบาสะ คาจิทานิ นักกอล์ฟสาวชาวญี่ปุ่นแชมป์ออกัสต้า เนชั่นแนล วีเมนส์ อเมเจอร์ ปีนี้โรส จาง นักกอล์ฟสาวชาวอเมริกันเชื้อสายจีน มือ 1 ของโลกกอล์ฟสมัครเล่นหญิงคนล่าสุดแชมป์ยูเอส วีเมนส์ อเมเจอร์

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.usga.org

 

เครดิตภาพ: Gettyimages/Gabriel Roux

 

เกี่ยวกับสมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริกา(ยูเอสจีเอ) 

สมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริกา(ยูเอจีเอ) ดำเนินการจัดการแข่งขันกอล์ฟรายการยูเอส โอเพ่น (เมเจอร์ชาย) ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น (เมเจอร์หญิง) ยูเอส ซีเนียร์ โอเพ่น(เมเจอร์ซีเนียร์ชาย) และ ยูเอส ซีเนียร์ วีเมนส์ โอเพ่น (เมเจอร์ซีเนียร์หญิง) แล้วยังมีรายการชิงแชมป์สมัครเล่น และ แม็ตช์ระดับนานาชาติอีก  10รายการทำให้นักกอล์ฟ และแฟนจาฟทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

ยูเอสจีเอร่วมกับเดอะ รอยัล แอนด์ แอนเชียนท์ หรืออาร์แอนด์เอ เป็นองค์กรผู้ดูแลเกมกอล์ฟทั่วโลกร่วมกันตั้งกฏกอล์ฟ และ กฎข้อบังคับสถานะนักกอล์ฟสมัครเล่น มาตรฐานอุปกรณ์ที่ใช้แข่งขัน และ อันดับคะแนนสะสมโลกของนักกอล์ฟสมัครเล่นพร้อมกับมีอำนาจการทำงานในสหรัฐอเมริกา ดินแดนในความปกครอง และ เม็กซิโก

ยูเอสจีเอ เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีการวิจัย พัฒนา และ สนับสนุนการจัดการสนามกอล์ฟอย่างยั่งยืนมากที่สุด ทำหน้าที่ผู้ดูแลเบื้องต้นเกียวกับประวัติศาสตร์เกมกอล์ฟ และ การพัฒนาด้านการลงทุนเกมกอล์ฟผ่านการบริหาร และทำงานของมูลนิธิสมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริการวมทั้งการจัดเรตติ้งสนามกอล์ฟ และระบบการจัดแฮนดิแคปที่ใช้กันใน 6 ทวีป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad