เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี คสช. ดร.โสภณ ฟังธงรายได้ของประชาชน กทม.ลดลง 10% ถ้าเป็นทั่วไปคงลดลงมากกว่านี้ ทำไมเป็นอย่างนั้น มาช่วยกันคิดแก้ไข - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี คสช. ดร.โสภณ ฟังธงรายได้ของประชาชน กทม.ลดลง 10% ถ้าเป็นทั่วไปคงลดลงมากกว่านี้ ทำไมเป็นอย่างนั้น มาช่วยกันคิดแก้ไข

  


เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี คสช. ดร.โสภณ ฟังธงรายได้ของประชาชน กทม.ลดลง 10% ถ้าเป็นทั่วไปคงลดลงมากกว่านี้ ทำไมเป็นอย่างนั้น มาช่วยกันคิดแก้ไข


            จากข้อมูลรายได้ต่อครัวเรือนต่อเดือนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตั้งแต่ปี 2545-2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ว่า รายได้ลดลงในช่วงปี 2556-2560 คือรายได้ปี 2556 รายได้เป็นเงินเดือนละ 49,191 บาท แต่จากการสำรวจใหม่ในปี 2558 รายได้กลับลดลงเหลือ 45,572 บาท และมาในปี 2560 ซึ่งเป็นการสำรวจล่าสุด รายได้เพิ่มขึ้นน้อยมาก คือ เป็นเงินเดือนละ 45,707 บาท เท่านั้น  การสำรวจรายได้ของครัวเรือนที่ดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาตินี้ กระทำทุก 2 ปี แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างจะไม่ใช่บุคคลเดิม แต่อนุมานได้ว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างที่แทนครัวเรือนในกรุงเทพมหานครได้ จึงชี้ชัดว่ารายได้ของครัวเรือนลดลงอย่างชัดเจน
            จากรายได้ต่อครัวเรือนต่อเดือนในกรุงเทพมหานครในปี 2556 ที่ 49,191 บาท เทียบกับรายได้ในปี 2561 ที่ 45,779 บาทนั้น ลดลงประมาณ 7% ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจที่รายได้ของครัวเรือนแทนที่จะเพิ่มขึ้น แต่กลับลดต่ำลงไปกว่าเดิมอีก  และยิ่งเมื่อนำตัวเลขเงินเฟ้อของกรุงเทพมหานครมาปรับค่าเงิน จะพบว่า รายได้ต่อครัวเรือนต่อเดือนในปี 2561 ลดลงเป็นเงิน 33,060 บาท ในขณะที่รายได้ปี 2556 เป็นเงิน 36,549 บาท ตามราคาคงที่ปี 2545 ซึ่งเท่ากับรายได้สุทธิลดลงถึง 10% (เมื่อหักเงินเฟ้อแล้ว)
            โดยนัยนี้แล้ว แสดงว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจนยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร  เศรษฐกิจของครัวเรือนในกรุงเทพมหานครกลับตกต่ำลงเพราะรายได้ของประชาชนลดลง เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจ 50 อันดับแรกในประเทศไทย กลับพบว่า รายได้ของพวกเขาเพิ่มขึ้นมากโดยเพิ่มจาก 876,585 ล้านบาทเมื่อ 10 ปีก่อน หรือรวยเพิ่มขึ้น 6 เท่าโดยเฉลี่ย ปีหนึ่งรวยขึ้นประมาณ 19%  ในขณะที่รายได้ของประชากรในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เฉพาะกรุงเทพมหานคร ครัวเรือนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น 17% หรือเพียง 1.6% ต่อปีเท่านั้น (https://bit.ly/2BSCtuu)
            รัฐบาลจึงควรหาทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ  ลำพังการใช้นโยบาย “อัฐยายซื้อขนมยาย” หรือ การให้ “ปลา” แทนการให้ “เบ็ด” โดยวิธีการ “แจกเงิน” นั้น อาจไม่ได้ผล ซ้ำยังเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ๆ ได้ประโยชน์มากกว่าประชาชนทั่วไปในการขายสินค้าในร้านธงฟ้า และประชาชนยังไม่สามารถนำเงินไปซื้อสินค้าทั่วไปได้  รัฐบาลจึงควรดำเนินการด้วยการ นำเงินตราเข้าประเทศมากขึ้น ด้วยการมีกองทุนไปลงทุนต่างประเทศ ส่งสินค้าได้มากขึ้น หาตลาดใหม่ให้มากขึ้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ถูกทาง หางาน-รายได้เพิ่มขึ้นแก่ประชาชน เช่น ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ฯลฯ
            5 ปีที่ผ่านมายังไม่ได้ผล ใน 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร คงต้องติดตามกันต่อไป

ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad