วางแผนก่อนใช้ ไม่อดตายแน่นอน เปิด 5 วิธีบริหารเรื่องเงินยังไง ภายใต้วิกฤตโควิด-19 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563

วางแผนก่อนใช้ ไม่อดตายแน่นอน เปิด 5 วิธีบริหารเรื่องเงินยังไง ภายใต้วิกฤตโควิด-19

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดูเหมือนจะไม่จบลงง่ายๆ ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลต่อเศรษฐกิจ และการจ้างงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Bangkok Face Masks COVID-19
สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ภาพจาก Shutterstock

วางแผนก่อนใช้ ไม่อดตายแน่นอน เปิด 5 วิธีบริหารเรื่องเงินยังไง ภายใต้วิกฤตโควิด-19

ตอนนี้หลายๆ บริษัทเริ่มให้พนักงานหยุดงานชั่วคราว งดจ่ายเงินเดือน หรือบางบริษัทจ่ายเงินเดือนไม่เต็มจำนวน เพราะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 หรือได้รับคำสั่งจากภาครัฐ เพื่อปิดสถานที่ที่เป็นแหล่งรวมคนจำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร และโรงภาพยนต์ สิ่งที่น่ากังวลคือ หากคุณต้องหยุกงานโดยได้รับเงินเดือนน้อยลง หรืออาจไม่ได้เงินเดือนเลย คุณจะวางแผนใช้เงินอย่างไรในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ เพราะรายได้ลดลง แต่รายจ่ายไม่ได้ลดลงตามไปด้วย

เก็บเงินให้เก่ง อย่าเพิ่งคิดจะทำอย่างอื่นเพิ่ม

ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้การลงทุนในหุ้นคงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเท่าไหร่ เพราะความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอาจทำให้คุณได้ผลตอบแทนไม่คุ้ม หรือขาดทุนได้ง่าย ดังนั้นในช่วงเวลานี้คุณควรปรับแผนการเงินเสียใหม่ เน้นไปที่การเก็บเงินเป็นหลัก โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้มีสวัสดิการของบริษัท หรือประกันที่ให้เงินชดเชยในกรณีที่เจ็บป่วย
ในสถานการณ์แบบนี้สิ่งที่ควรทำมากที่สุด คือ การเก็บออมเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
ส่วนใครที่กังวลว่ามาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) จะส่งผลกระทบต่อการทำงาน จนทำให้ไม่ได้รับค่าตอบแทนเท่าเดิม คุณควรวางแผนลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นที่สามารถตัดออกไปได้ ลองตัดค่าใช้จ่ายพวกนี้ทิ้งไป แล้วนำเงินไปเก็บไว้ในบัญชีเงินฝาก และยิ่งฝากเงินในบัญชีที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าปกติจะดีที่สุด
ซึ่งทางธนาคารออมสิน แนะนำว่าคนที่ทำงานประจำควรมีเงินที่เก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพื่อใช้ชีวิตในยามฉุกเฉิน ส่วนคนที่ทำงานฟรีแลนซ์ มีค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่ไม่แน่นอน ควรมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉินมากกว่าคนที่ทำงานประจำอีก 1 เท่าตัว

คิดเผื่อไว้ก่อน เจอสถานการณ์เลวร้าย จะได้รับมือได้

สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในขณะนี้ แม้ว่าผู้ป่วยบางคนจะสามารถใช้การรักษาตามอาการ ไม่นานก็หายได้ แต่ผู้ป่วยบางคนก็มีอาการ เชื้อไวรัสแพร่กระจายเข้าสู่ปอด ปอดเสียหายจนเสียชีวิต ดังนั้นในสถานการณ์แบบนี้คุณควรคิดเผื่อไว้ก่อน ว่าหากคุณป่วยหนัก คุณจะทำอย่างไรกับภาระทางการเงินที่เหลืออยู่
การศึกษาเงื่อนไขการคุ้มครองประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ภาพจาก Shutterstock
ทางออกง่ายๆ คือ คุณควรเตรียมตัวซื้อประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพที่ให้ผลตอบแทนในกรณีที่คุณเสียชีวิต เพื่อให้คนที่อยู่ข้างหลังคุณไม่ลำบาก หากคุณเสียชีวิตไป หรืออย่างน้อยที่สุดหากคุณเจ็บป่วย ก็มีผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเอาเงินเก็บมาจ่ายด้วยตัวเอง

ศึกษาเงื่อนไขประกันต่างๆ ที่ทำให้ดี

ประกันส่วนใหญ่ไม่ว่าจะประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ ล้วนมีเงื่อนไขที่น่าสับสน มีรายละเอียดมาก ซึ่งบางคนอาจไม่เคยรทำความเข้าใจเงื่อนไข หรือรายละเอียดต่างๆ อย่างจริงจัง ทำให้คุณอาจเสียผลประโยชน์ไปโดยไม่รู้ตัว เช่นประกันบางชนิดสามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ คุณจึงอาจไม่ต้องสำรองเงินเพื่อจ่ายภาษีในแต่ละปี และนำเงินจำนวนนั้นไปเก็บแทนก็ได้
หรือเงื่อนไขการรักษาพยาบาล โรคบางชนิดประกันที่ทำไว้อาจไม่ได้ครอบคลุม คุณอาจต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลด้วยตัวเอง เพราะประกันที่ทำไว้ไม่ได้คุ้มครอง
ภาพจาก pixabay.com

ใช้มาตรการของรัฐให้เกิดประโยชน์

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ คุณควรใช้มาตรการที่ออกมาดังกล่าวให้เกิดประโยชน์กับคุณมากที่สุด เช่น มาตรการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน การพักชำระหนี้ เพื่อให้คุณสามารถนำเงินที่มีอยู่ไปใช้เพื่อดำรงชีวิต ซื้อของใช้ที่จำเป็นในยามฉุกเฉินแทน
แต่อย่างไรก็ตามคุณควรระมัดระวัง และพึงระลึกไว้เสมอว่ามาตรการที่ออกมาเป็นมาตรการช่วยเหลือในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นคุณก็จำเป็นที่จะต้องชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่าเดิม

หลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาร้านค้า หรือหน่วยงานต่างๆ อาจปิดทำการ ดังนั้นหากคุณจำเป็นต้องทำธุรกรรม จ่ายบิล ชำระหนี้สินกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คุณควรวางแผนให้ดีก่อน เช็คให้แน่ใจว่าคุณต้องจ่ายเงินภายในวันที่เท่าไหร่ของเดือน หากไม่สามารถเดินทางไปจ่ายตัวเองได้ จะมีช่องทางอื่นอีกไหม เช่น การจ่ายผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร เพื่อป้องกันการจ่ายบิลเกินกำหนดเวลา ซึ่งจะทำให้คุณต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มโดยที่ไม่จำเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad