งานวิจัยเดลล์ เทคโนโลยีส์ เผย การโจมตีทางไซเบอร์ และเหตุฉุกเฉินที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่สำรวจถึง 84 เปอร์เซ็นต์ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

งานวิจัยเดลล์ เทคโนโลยีส์ เผย การโจมตีทางไซเบอร์ และเหตุฉุกเฉินที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่สำรวจถึง 84 เปอร์เซ็นต์

Dell Technologies Global Data Protection Index 2020 Snapshot ชี้ให้เห็นความท้าทายหลักที่ส่งผลต่อความพร้อม)ในการปกป้องข้อมูล
ประเด็นข่าวโดยสรุป
  • องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นจัดการข้อมูลโดยเฉลี่ยเป็นจำนวน 13.31 เพตาไบท์ ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ 693 เปอร์เซ็นต์จากปี 2016  
  • ค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยประมาณของการสูญเสียข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากกว่า 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อหนึ่งองค์กรในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาโดยเฉลี่ย
  • มากกว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรทั้งหมดต่างพยายามที่จะค้นหาโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลที่เพียงพอสำหรับเทคโนโลยีเกิดใหม่ต่างๆ อาทิ 5G และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเอดจ์ (75 เปอร์เซ็นต์) และ AI กับ ML แพลตฟอร์ม (72 เปอร์เซ็นต์)    
ผลวิจัยดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก 2020 ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ หรือ Global Data Protection Index 2020 Snapshot เผยให้เห็นว่าองค์กรในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นโดยเฉลี่ยกำลังจัดการข้อมูลที่มากกว่าที่เคยเป็นในช่วงปีที่ผ่านมา 64 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการเพิ่มสูงขึ้นของข้อมูลทำให้เกิดความท้าทายอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (77 เปอร์เซ็นต์) รายงานว่าโซลูชันการปกป้องคุ้มครองข้อมูลในปัจจุบันจะไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการในทางธุรกิจในอนาคตได้ทั้งหมด รายงานสรุปดังกล่าวซึ่งเป็นดัชนีการป้องกันข้อมูลทั่วโลกที่จัดทำขึ้นในทุกสองปี ได้ทำการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 1,000 คนใน 15 ประเทศที่อยู่ในองค์กรภาครัฐ และองค์กรเอกชนที่มีพนักงานกว่า 250 คน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของความท้าทายต่างๆ และเทคโนโลยีชั้นสูงมีต่อความพร้อมในด้านการปกป้องข้อมูล จากจำนวนผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีทั้งหมด 1,000 คน หนึ่งในสี่มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น การค้นพบในระดับภูมิภาคยังแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในเชิงบวกจากจำนวน 75 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในภูมิภาคในปี 2019 สูงขึ้นจากจำนวน 74 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018 – ที่มองข้อมูลในฐานะสินทรัพย์ที่มีค่า และกำลังวางแผนที่จะดึงมูลค่าของข้อมูลออกกมาหรือกำลังวางแผนที่จะทำเช่นนั้นในอนาคต    

“ข้อมูลคือสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจและเป็นกุญแจที่จะไขไปสู่การปฏิรูปทางดิจิทัลขององค์กร” เบธ ฟาเลน ประธาน ด้านการปกป้องข้อมูลของ เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “เมื่อเราเข้าสู่ทศวรรษหน้าของข้อมูล (next data decade) กลยุทธ์การปกป้องข้อมูลที่ยืดหยุ่น เชื่อถือได้และทันสมัย คือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถตัปดสินใจได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น รวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งจัดการกับผลกระทบจากการดิสรัปชั่นที่มีราคาแพง”    
“การเติบโตอย่างมหาศาลของข้อมูลผสานเข้ากับมูลค่าของข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นกำลังสร้างให้เกิดโอกาสต่างๆ ขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังสร้างความเสี่ยงใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นจากการที่องค์กรต้องรับมือกับการที่ว่าจะปกป้องข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือและยั่งยืนได้อย่างไร อเล็กซ์ เล่ย รองประธาน โซลูชันด้านการปกป้องข้อมูล เดลล์ เทคโนโลยีส์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าว “จากการที่มูลค่าข้อมูลขององค์ กรระดับเอนเทอร์ไพรส์เพิ่มสูงขึ้น มูลค่าของการสูญเสียข้อมูลก็เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2020 และปีถัดไปๆ องค์กรที่ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการจัดการข้อมูลและการป้องกันที่ครอบคลุมในสภาพแวดล้อมแบบมัลติ-แพลตฟอร์ม และมัลติ-คลาวด์ จะได้รับการเตรียมพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น กระตุ้นการพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับผลลัพธ์ในการดำเนินธุรกิจ
เหตุฉุกเฉินและภัยภิบัติที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ
จากการศึกษาพบว่าองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กำลังจัดการข้อมูลจำนวนถึง 13.31 เพตาไบต์ (PB)ซึ่งเพิ่มขึ้น 64 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนเฉลี่ย 8.13 เพตาไบต์ (PB) ในปี 2018 และเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น 693 เปอร์เซ็นต์จากการจัดการข้อมูลจำนวน 1.6 เพตาไบต์ขององค์กรในปี 2016 ภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อข้อมูลทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะเป็นการเพิ่มจำนวนสูงขึ้นของเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติ (disruptive events) ต่างๆ ทั้งจากการโจมตีทางไซเบอร์ไปจนถึงการสูญหายของข้อมูล และการเกิดการหยุดการทำงานของระบบ (system downtime) องค์กรส่วนใหญ่ (84 เปอร์เซ็นต์ในปี 2019 เมื่อเทียบกับ 80 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018) ได้รับความเสียหายจากเหตุฉุกเฉินเหล่านี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ จำนวนอีก 70 เปอร์เซ็นต์หวาดกลัวว่าองค์กรของพวกเขาจะประสบเหตุการฉุกเฉินนี้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ยิ่งไปกว่านั้นคือการค้นพบว่าองค์กรที่ใช้ผู้ให้บริการปกป้องข้อมูลมากกว่าหนึ่งรายนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าเกือบสี่เท่าด้านความปลอดภัยบนไซเบอร์ที่ป้องกันการเข้าถึงข้อมูล (42 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่ใช้ผู้ให้บริการสองรายหรือมากกว่ากับ 11 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ผู้ให้บริการเพียงรายเดียว) แต่การใช้ผู้ให้บริการด้านการปกป้องข้อมูลจำนวนหลายหลายกำลังเพิ่มขึ้น 83 เปอร์เซ็นต์จากการที่องค์กรเลือกที่จะใช้โซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลจากผู้ให้บริการมากกว่าสองราย คิดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์จากปี 2016    
ค่าใช้จ่ายของดิสรัปชั่นยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ ต้นทุนโดยเฉลี่ยของการหยุดทำงานหรือ downtime ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาพุ่งสูงขึ้นขึ้น 61% จากปี 2018 ถึง 2019 ส่งผลต่อการประมาณมูลค่าต้นทุนรวมอยู่ที่ 794,308 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 เพิ่มขึ้นจาก 494,869 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 ขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของการสูญเสียข้อมูลเพิ่มขึ้นจาก 939,703 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 เป็น 1,301,524 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 โดยเฉลี่ย โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญสำหรับองค์กรที่ใช้ผู้ให้บริการปกป้องข้อมูลมากกว่าหนึ่งราย โดยมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการหยุดทำงานของระบบสูงขึ้นเกือบสี่เท่า และเกือบ 12 เท่าสำหรับค่าใช้จ่ายในการสูบเสียของข้อมูลโดยเฉลี่ย
เทคโนโลยีเกิดใหม่ ความท้าทายสำหรับโซลูชันการปกป้องข้อมูล
จากการที่เทคโนโลยีเกิดใหม่ หรือ emerging technologies ยังคงก้าวหน้าและเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ดิจิทัล องค์กรต่างกำลังเรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น การศึกษาระบุว่าองค์กรผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกือบทั้งหมดกำลังลงในเทคโนโลยีใหม่หรือเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นในห้าอันดับแรก (top 5) ดังนี้ 1) แอปพลิเคชันคลาวด์ หรือ cloud-native applications (64 เปอร์เซ็นต์) 2) ซอฟต์แวร์ในรูปแบบการบริการ (software-as-a-service: SaaS) (58 เปอร์เซ็นต์) 3) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแชชีน เลิร์นนิ่ง (ML) (50 เปอร์เซ็นต์) 4) 5G และโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เอดจ์ (49 เปอร์เซ็นต์) และ 5) อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์/เอ็นด์ พ้อยต์ (end point) (45 เปอร์เซ็นต์)
ถึงกระนั้นสามในสี่ (75 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าเทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านี้สร้างความซับซ้อนในการป้องกันข้อมูลให้มากขึ้นในขณะที่ 72 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าเทคโนโลยีเกิดใหม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการปกป้องข้อมูล นอกจากนี้ มากกว่าครึ่งของผู้ที่ใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่ต่างพยายามค้นหาโซลูชันการปกป้องข้อมูลที่เพียงพอสำหรับเทคโนโลยีทั้งหลายเหล่านี้ อันได้แก่
  • 5G และโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เอดจ์ (75 เปอร์เซ็นต์)
  • แพลตฟอร์ม AI และ ML (72 เปอร์เซ็นต์)
  • คลาวด์-เนทิฟ แอปพลิเคชัน (64 เปอร์เซ็นต์)
  • อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์/เอ็นด์ พ้อยต์ (59 เปอร์เซ็นต์)
  • กระบวนการอัตโนมัติในหุ่นยนต์ (56 เปอร์เซ็นต์)
การศึกษายังพบว่า 77 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าโซลูชันการปกป้องข้อมูลที่มีอยู่เดิมขององค์กรของพวกเขาจะไม่สามารถตอบสนองความท้าทายทางธุรกิจในอนาคตได้ทั้งหมด โดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุความไม่มั่นใจในส่วนต่างๆ ดังนี้:
  • การ กู้คืนข้อมูลจากการโจมตีบนไซเบอร์ (70 เปอร์เซ็นต์)
  • การกู้คืนข้อมูลจากเหตุการณ์การสูญหายของข้อมูล (66 เปอร์เซ็นต์)
  • การทำตามกฏระเบียบของการกำกับดูแลข้อมูลในระดับภูมิภาค (65 เปอร์เซ็นต์)
  • การทำตามวัตถุประสงค์ตามระดับการให้บริการสำรองและกู้คืนข้อมูล (60 เปอร์เซ็นต์)
การปกป้องข้อมูลผนึกกำลังเข้ากับคลาวด์
องค์กรธุรกิจตอบรับรูปแบบการผสมผสานการใช้งานคลาวด์รูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกันเมื่อมีการใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจใหม่ๆ และเพื่อปกป้องเวิร์กโหลดต่างๆ อาทิ คอนเทนเนอร์ แอปพลิเคชันคลาวด์-เนทิฟและแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ในรูปแบบการบริการ (SaaS) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าองค์กรผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคชื่นชอบการใช้งานพับบลิคคลาวด์/SaaS (46 เปอร์เซ็นต์), ไฮบริดคลาวด์ (38 เปอร์เซ็นต์) และไพรเวทคลาวด์ (36 เปอร์เซ็นต์) เนื่องจากสภาพแวดล้อมการใช้งานแอปพลิเคชันที่ใหม่กว่าเช่นนี้ ขณะเดียวกัน 76 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่สำรวจระบุว่าเป็นข้อบังคับหรือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้บริการการปกป้องข้อมูลที่จะให้การปกป้องแอปพลิเคชันคลาวด์-เนทิฟ
จากการที่มีการเคลื่อนย้ายของข้อมูล ทั้งที่ผ่านไปจากหรืออยู่โดยรอบสภาพแวดล้อมของเอจด์ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกล่าวว่าต้องการการสำรองข้อมูลบนระบบคลาวด์มากกว่า โดย 60 เปอร์เซ็นต์ระบุเป็นไพรเวทคลาวด์ และ59 ต้องการพับบลิคคลาวด์เนื่องจากแนวทางในการจัดการและปกป้องข้อมูลของพวกเขาสร้างขึ้นในพื้นที่ของเอจด์ (edge locations)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad